ผลการใช้วิธีสอนแบบเปิดที่มีต่อความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5; The Effects of Using Open Approach on Mathematical Concept on Quadrilateral of the Fifth Grade Students

Main Article Content

สุวิชา ดวงฟู Suwicha Dungfull

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบเปิด
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสะเดาศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 21 คน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 พิษณุโลก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่   1) แบบทดสอบความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์แบบอัตนัยไม่จำกัดคำตอบ จำนวน 4 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 ค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.35 – 0.75 และค่าอำนาจจำแนก (D) อยู่ระหว่าง 0.20 – 0.80
2) แบบทดสอบความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 ค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.30 – 0.80 และค่าอำนาจจำแนก (D) อยู่ระหว่าง 0.25 – 0.80 และเครื่องมือ
ที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบเปิด ค่าความเที่ยงตรง (IOC) มีความเหมาะสมมาก (= 4.43, = 0.55)  ใช้เวลาดำเนินการทดลอง 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น  12 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) ทดสอบค่า (t-test)

                ผลการศึกษาพบว่า ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบเปิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

                The purposes of this research were to compare  the mathematical concept on quadrilateral of the fifth grade students before and after learning with open approach. The subjects were 21 fifth grade students of Ban Sadao School, during the second semester of 2015 school year unter the Primary Educational Service Area Region 2 of Phitsanulok. The data collection instruments were 1) mathematical concept subjective test with
30 items, 4 multiple choices, with reliability coefficient of 0.83, degree of difficulty from 0.35 to 0.75 and
the discrimination power from 0.20 to 80, 2) objective test with 4 items, extended response, with reliability coefficient of 0.84, degree of difficulty from 0.30 to 0.80 and the discrimination power from 0.25 to 80.
The experimental instruments were lesson plans using the open approach with high IOC (= 4.43, S.D. = 0.55). The duration of experiment was 2 weeks, six periods per week, a total of twelve periods. The collected data were analyzed by arithmetic means ( ), standard deviation (S), t-test.

                According to the study, the results found that the mathematical concept on quadrilateral of the fifth grade students after learning with open approach in the post-test was higher than that in the pre-test at the level of  .05.

Article Details

Section
Dissertations