เรื่องเล่ากับการสร้างพื้นที่ผ่านเครือข่ายทางสังคมของคนไทยอีสานพลัดถิ่น; Tales and the Creation of a Social Network of the Isan Displaced Persons

Main Article Content

อัฐพล อินต๊ะเสนา Autthapon Intasena

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสร้างพื้นที่ทางสังคมผ่านเครือข่ายทางสังคมของคนไทยอีสานพลัดถิ่นโดยมีขอบเขตของการศึกษาชุมชนคนอีสานพลัดถิ่นในตำบลอ่างทอง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และชุมชนคนไทยอีสานพลัดถิ่นตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ในครั้งนี้ผู้วิจัยได้จัดข้อมูลประเภทของเรื่องเล่าทั้งหมด 5 ประเภท คือ นิทาน ตำนานหรือนิทานท้องถิ่น ผญาคำสอน บทสวดประกอบพิธีกรรม และเรื่องเล่าประสบการณ์จริง

                ผลการศึกษาพบว่าการสร้างพื้นที่ทางสังคมผ่านเครือข่ายทางสังคมของคนไทยอีสานพลัดถิ่นประกอบด้วย การสร้างพื้นที่ทางสังคมผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ การสร้างพื้นที่ทางสังคมผ่านชมรมชาวอีสานในล้านนาโดยการก่อตั้งชมรมคนอีสานในเชียงราย ซึ่งระยะแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้และต่อรองกับอำนาจทางการเมือง แต่ในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของชมรมเป็นองค์กรที่ทำงานด้านสาธารณประโยชน์แทน องค์กรสาธารณประโยชน์หรือ “องค์กรพัฒนาเอกชน” การสร้างพื้นที่ทางสังคมผ่านการสื่อสารมวลชน ผ่านนักจัดรายการวิทยุในพื้นที่ โดยนักจัดรายการวิทยุจะเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับผญาคำสอนและเป็นที่ยอมรับในสังคม มีความรอบรู้ในหลักการดำเนินชีวิตและมีความรู้ในวิถีของวัฒนธรรมอีสาน นอกจากนั้นยังได้มีการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือสารบันเทิง เช่น หนังสือประเพณีโบราณไทยอีสาน ฤกษ์ ยาม ฮีตสิบสอง พิธีกรรม และผญา เพื่อเผยแพร่แก่คนไทยอีสานในล้านนา และการสร้างพื้นที่ทางสังคมผ่านการท่องเที่ยวผ่านประเพณีบุญบั้งไฟ

Abstract

            The purpose of this research is to create the social space through a social network of the Isan displaced persons. The delimitation of the research is to study the community of the Isan displaced persons in Ang Thong Sub-district, Chiang Kham District, Payao Province and in Dong Maha Wan Sub-district, Chiang Rung District, Chiang Rai Province. The data used to analyze comprise 5 types of tales. They are the fables, mythologies, Phaya (Isan’s proverbs), prayers and tales from the real experiences.

                The results of the research found the creation of social through the social space network consists of the creation of social space through social media and the creation of social space through the Isan displaced person club in Lanna. The Isan displaced person club in Lanna was built by the Isan displaced persons in Chiang Rai. At first, the objective of the club was to be a tool for political bargaining but now the objective is changed to be Non-Governmental Organizations or the organization that works for the public. The creation of social space through mass communication; the local disc jockey who truly knows about Phaya (Isan’s proverb) and Isan’s lifestyle and culture. Furthermore, the organization makes many printing medias to publicize for Isan persons who live in Lanna such as Thai-Isan ancient tradition book; auspicious time, twelve customs, ceremonies, Phaya and creates the social space through tourism in the Rocket festival.

Article Details

Section
Dissertations
Author Biography

อัฐพล อินต๊ะเสนา Autthapon Intasena, MAHASARAKHAM UNIVERSITY

No.CI