รูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม A Model of Informative Feedback on Improving Classroom Research Competencies of Internship Students in Teaching Profession, Rajabhat Maha Sarakham University

Main Article Content

อพันตรี พูลพุทธา Apantee Poonputta

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน  เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  หลังใช้รูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับกับเกณฑ์ร้อยละ 80  และเพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการรับคำปรึกษาการวิจัยของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่ออกฝึกประสบการณ์ในปีการศึกษา 2559  จำนวน  17 คน ได้มาโดยเลือกแบบอาสาสมัคร  และจะต้องได้รับความร่วมมือจากครูพี่เลี้ยง  และประธานสาขา  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  แบบประเมินสมรรถนะการทำวิจัย และแบบสอบถามความพึงพอใจ  การวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ  One  Sample t-test  ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 1.  รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ใช้การให้ข้อมูลย้อนกลับทางบวกเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน  ผ่านทางโซเชียล ได้แก่  Facebook  ผ่านทางโทรศัพท์  และการพบปะพูดคุยกันโดยตรง (Face to Face)  ซึ่งให้ผลสะท้อนกลับเกี่ยวกับผลงาน  กระบวนการ  การกำกับตนเอง  และการประเมินตนเอง ทั้งนี้นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูต้องกำกับและประเมินตนเอง  และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมในการพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วย  สำหรับกระบวนการดำเนินการให้ข้อมูลป้อนกลับ  มี  3  ขั้นตอน ได้แก่  ขั้นที่ 1 ร่วมกันกำหนดเป้าหมายและขอบข่ายการทำงานที่ชัดเจน  ขั้นที่ 2 นักศึกษาวางแผน  กำกับและประเมินตนเอง และอาจารย์วิเคราะห์นักศึกษา และขั้นที่ 3 อาจารย์ให้ข้อมูลย้อนกลับ และนักศึกษานำไปพัฒนาการทำวิจัยในชั้นเรียน 2. นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยรวม สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  3.  นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีความพึงพอใจต่อการรับคำปรึกษาการวิจัยของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  หลังใช้รูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด


 


The purposes of the research were to develop a model of informative feedback for improving classroom research competencies and to compare the competency of the internship students in teaching profession period after using the model based on the established criteria of 80% and to conduct a survey on the satisfaction the students with the advice service after using the model of informative feedback. The sample subjects were seventeen voluntary students in 2016 who were in professional experience training period in corporation with mentors and head of the educational research and evaluation program. The statistics used were the percentage, mean, standard deviation and one sample t-test.  Results of the research were as follows:  1. The study showed that the positive informative feedback of classroom action research was communicated between the teachers and students through social communication such as face book, telephone, mobile-phone  and face to face. The informative feedback consisted of outcomes, process, self-control and self-assessment of the students and stakeholders relating to all supporting activities of student development. The process of informative feedback consisted of three steps: 1) setting goals and framework, 2) planning for students, monitoring and self-assessment including student analysis, 3) feedback of teachers and practical application of the students for classroom action research development. 2. The findings indicated that the average competency of the students in classroom action research was higher than the established criteria of 80% at the  .05 level of the statistical significance. 3. Lastly, the findings showed that the overall satisfaction of the students with the advice service after using the model of informative feedback was at the highest level.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

อพันตรี พูลพุทธา Apantee Poonputta, Rajabhat Maha Sarakham University , Research and Evaluation Program

Maha Sarakham

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์(หลักสูตรห้าปี), เอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี). ประกาศวันที่ 14 มีนาคม 2554.

โชติมา หนูพริก. (2560). เทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้: การตั้งคำถามและการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาและส่งเสริมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ส านักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

พงศ์ทวี ทัศวา. (2555). การใช้การสอนเขียนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้เชิงสังคมและการให้ข้อมูลย้อนกลับทางเฟซบุ๊คเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษและแรงจูงใจของพระนิสิต. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พินดา วราสุนันท์. (2556). การพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้วยกระบวนการให้ข้อมูลย้อนกลับทางบวก. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 13(2), 133-137.

________. (2556). การพัฒนาความสามารถทางการวัดและประเมินผลและการทำวิจัยในชั้นเรียนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน.

ไพศาล วรคำ. (2558). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ฟาสีฮะห์ อาแว. (2555). การพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับโดยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเขียนภาษาไทยของผู้เรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง. [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.].

ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง. วันที่ 4 ตุลาคม 2556.

________. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. เล่มที่ 127 ตอนที่ 45 ก. วันที่ 22 กรกฎาคม.

วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า. (2552). การพัฒนาแนวทางการตรวจงานการให้ข้อมูลย้อนกลับของการให้ข้อมูลย้อนกลับงานเขียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 1. กรุงเทพฯ: สถาบันจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

อพันตรี พูลพุทธา. (2556). ความฉลาดทางอารมณ์และสมรรถนะการทำวิจัยของนักศึกษาปริญญาตรีที่เรียน รายวิชาการวิจัยทางการศึกษา โดยใช้กลุ่มการเรียนแบบร่วมมือ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

________. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 12(36), 69-82.

Hattle, J. and Timperley, H. 2007. The power of feedback. Review of Educational Research. 77, 1, 81-112.

Nicol, D. (2005). Formative assessment and self-regulated learning: A model and seven principles of good feedback practice. Graham Hills Building: University of Strathclyde.