การพัฒนาโมเดลการรักษาทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัยของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้แรงงานเป็นหลักในประเทศไทย: การวิจัยผสมผสาน; The Maintenance of Human Resource Contemporary Model of Labor-Intensive for Manufacturing Enterprises in Thailand: Mixed Method Research

Main Article Content

ภิราช รัตนันต์ Phirach Rattanunt

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคของการรักษาทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย ปัจจัยการรักษาทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัยสัมพันธ์กับผลลัพธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์  ค่าน้ำหนักความสำคัญมากที่สุดของปัจจัยการรักษาทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัยและนำเสนอโมเดลการรักษาทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัยของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้แรงงานเป็นหลักในประเทศไทย ใช้วิธีการวิจัยผสมผสาน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง พนักงาน จำนวน 1,107 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณด้วยวิธีสเตปไวซ์ จากนั้นนำผลการวิจัยจัดประชุมกลุ่มย่อยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 9 คน สรุปเป็นโมเดลการรักษาทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัยในอุตสาหกรรมนี้


                ผลการวิจัยพบว่าการรักษาทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัยของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้แรงงานเป็นหลักในประเทศไทย มีสภาพปัจจุบันดังนี้ มีการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้พนักงาน ส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์การ และให้บริการที่ดีเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในงานทรัพยากรมนุษย์ สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการรักษาทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัยส่วนใหญ่ เกิดจากปัญหาด้านการดูแลและการเอาใจใส่พนักงาน ด้านพื้นฐานการศึกษา ด้านอายุ ด้านการขาดแคลนแรงงาน  ด้านความพึงพอใจในค่าตอบแทนและสวัสดิการ ด้านการสื่อสารการทำงานในองค์การและด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน ส่วนปัจจัยการรักษาทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัยสัมพันธ์กับผลลัพธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ มี 4 ปัจจัย คือ ระบบรางวัลและค่าตอบแทนขององค์การ คุณภาพชีวิตในการทำงาน  ความสุขในการทำงานและการมีส่วนร่วมของพนักงาน โดยค่าน้ำหนักความสำคัญมากที่สุด คือ ระบบรางวัลและค่าตอบแทนขององค์การ จากนั้นนำผลการวิจัยดังกล่าวเข้าสู่การประชุมย่อยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นไปในทางเดียวกับผลการวิจัย โดยเพิ่มการสื่อสารการทำงานในองค์การ สรุปเป็นโมเดลการรักษาทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัยของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้แรงงานเป็นหลักในประเทศไทย คือ RQCHE Model


             This research aims to study the currently contemporary, the barriers to maintaining human resource, the factors related to human resource outcomes and the most important weight value of the maintenance of HRC to submit the maintenance of HRC model of labor-intensive for manufacturing enterprises in Thailand by using Mixed Method Research with qualitative research and quantitative research. For qualitative research, the key informants were 36 people, using in-depth interview. And for quantitative research was used to collect data from a sample of 1,107 people by questionnaire. Data was analyzed by statistics in stepwise multiple regression analysis. Then, this research results were declared in subgroup meeting with human resource specialists and summarized as a HRC model.


                  The result of this research is that the maintenance of HRC of the manufacturing enterprises in Thailand, is to enhance the well-being, to encourage more knowledge, to make good relationship in the organization and to provide good service to achieve good results in human resource part. For the obstacles of maintaining contemporary human resources caused the problems of employees’ caring, foundation of education, age, and labor shortage, satisfaction in compensation and welfare, Communication in the organization, and quality of work life. There are 4 factors that were related to human resource outcomes: compensation and welfare, quality of work life, pleasure in work and staff’s participation. By weight of the most important aspect Maintenance of HRC in the industry is the organizational reward and compensation system. Then put the results of the research into the subgroup of experts on human resource management is founded that the experts’ opinions are on the same way as research results and increase communication in the organization for the maintenance efficiency in human resource. In conclusion of the HRC model of labor-intensive for manufacturing enterprises in Thailand is RQCHE Model.

Article Details

Section
Research Articles