การเสริมสร้างคุณลักษณะความพอเพียงของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตที่เรียนด้วยกระบวนการทำความกระจ่างในค่านิยม The Enhancing of Sufficiency Economy Character of Bachelor Degree of Education Students by Using Value Clarification

Main Article Content

ปราโมทย์ จันทร์เรือง Pramote Chanrueang

Abstract

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาคุณลักษณะความพอเพียงของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตที่เรียน ด้วยกระบวนการทำความกระจ่างในค่านิยม และ  2) เปรียบเทียบคุณลักษณะความพอเพียงของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตที่เรียนด้วยกระบวนการทำความกระจ่างในค่านิยมระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาดนตรีศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560  จำนวน  28  คน  ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)  แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  และ  2)  แบบประเมินคุณลักษณะความพอเพียงได้ค่าความเชื่อมั่น  0.85  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที   ผลการวิจัยพบว่า  1. คุณลักษณะความพอเพียงของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตที่เรียนด้วยกระบวนการทำความกระจ่างในค่านิยม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  2. คุณลักษณะความพอเพียงของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตที่เรียนด้วยกระบวนการทำความกระจ่างในค่านิยมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  


                The purposes of the study were to 1) study sufficiency economy character of bachelor degree of education students by using value clarification and 2) compare sufficiency economy character of bachelor degree of education students by using value clarification between before and after learning. The sample consisted of 24 the bachelor degree of education students, the musical program Using simple random sampling. The instrument were 1) lesson plan and  2) a sufficiency economy character test with a reliability of 0.85 Data were analyzed in terms of mean, standard deviation, and t-test.  The results were as follows:  1. The sufficiency economy character of the students after learning by using value clarification overall, was a good level  2. The sufficiency economy character of the students after learning by using value clarification higher than before learning at a significance level of .05

Article Details

Section
Research Articles

References

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. (2559). รายงานการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะครุศาสตร์. อัดสำเนา.

ชุตินาถ รัตนจรณะ. (2527). การศึกษาค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในวิทยาลัยครูภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, กรุงเทพฯ.

นาตยา ปิลันธนานนท์. (2528). เอกสารการสอนชุดวิชาจริยศึกษา หน่วยที่ 6-10 สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อกการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550 ก). การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2550). กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เล่ม 2. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

อเนกพงศ์ ธรรมาธิวัฒน์ และบุญช่วย สุทธิรักษ์. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการน้ำของจังหวัดเพชรบูรณ์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

อัมพรรัตน์ วัฒนะโชติ. (2536). ผลของการใช้โปรแกรมการสอนตามแนวคิดของราธส์ ฮาร์มิน และไซมอน ที่มีต่อขั้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนไทยรัฐวิทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Raths, L.E., Harmin, Merilland Simon Sidney B. (1996). Values and Teaching. Columbus ohio: Charles E. Merill Publishin.

Temple, A.K. (1980, November). The Effect of Values Clarification Process on Students View of Their own and Peer Values, Dissertation Abstracts International. 40: 5816-A.