การพัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต บูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 Development of Quality Assesment Model of Education Curriculum Integrated with 21st Century Skills

Main Article Content

วิรุธน์ บัวงาม และคณะ Wirut Buangam and Others

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตบูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 2) ประเมินประสิทธิผลรูปแบบการประเมินคุณภาพหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตบูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สร้างและพัฒนารูปแบบการประเมิน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติมัธยฐานและพิสัยควอไทล์ ระยะที่ 2 ทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลรูปแบบการประเมิน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย คณะผู้ประเมิน ผู้บริหารหน่วยงาน อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร จำนวน 13 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัย สรุปได้ว่า   1) รูปแบบการประเมินคุณภาพหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตบูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ดังนี้  1.1) รูปแบบการประเมิน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่  1) วัตถุประสงค์ของการประเมิน 2) สิ่งที่มุ่งประเมิน 3) วิธีการประเมิน และ 4) วิธีการตัดสินผล  1.2) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพ ประกอบด้วย  3 องค์ประกอบ 17 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 3 ทักษะชีวิตและการทำงานจำนวน 8 ตัวบ่งชี้   2) ประสิทธิผลของรูปแบบการประเมินคุณภาพหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตบูรณาการกรอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมาตรฐานด้านการมีประโยชน์มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านความเป็นไปได้  ด้านความสมเหตุสมผลและด้านความถูกต้อง ตามลำดับ  


          The objectives of this research were to: 1) Develop a model for assessment the quality of education curriculum integrated with 21st century skills. 2) Evaluate the effectiveness of the model. This research is divided 2 phases: Phase 1 creating and developing an assessment model. The sample was 17 experts. Collected data with questionnaires. Data were analyzed by median and quartile range. Phase 2 Trial and evaluation the effectiveness of the assessment model. The sample consisted of the evaluation team, curriculum manager, teacher responsible for the curriculum, curriculum instructors of 13 people. Collected data with questionnaires. Data analyzed by descriptive statistics and content analysis.  The findings were as follows:  1) The quality assessment model of education curriculum integrated with 21st century developed as follows:  1.1) The quality asessment model includes 4 elements : 1) Objectives of the assessment2) Assessment  issues  3) Assessment  method  4) Judement of assessment  results.  1.2) Components and Indicator in the assesment model consists 3 components : Component 1 were learning and innovation skills has 17 indicators, Components 2 were Information technology skills has 5 indicators. and Components 3 were Life skills and work has 8 indicators.  2) The results of the evaluation effectiveness quality assessment model of  education curriculum integrated with 21st century skills were found to be at a high level in all aspects. The utility standard is highest, followed by feasibility standard, Propriety standard and Accuracy standard, respectively.

Article Details

Section
Dissertations

References

กิตติชัย วัฒนานิกร. (2550). การประกันคุณภาพอุดมศึกษาระบบปัจจุบันและความท้าทายในอนาคต.วารสารการประกันคุณภาพ, 8(2), 8-26.

เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม. (2554). การศึกษาแนวโน้มคุณลักษณะของครูไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2562). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

ทิวารักษ์ เสรีภาพ. (2548). การพัฒนารูปแบบการประเมินภายในของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน.วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต (วิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และ สุวิมล ว่องวานิช. (2541). รายงานการวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์จัดอันดับมหาวิทยาลัยประเทศในเอเชีย. กรุงเทพฯ: บริษัท เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2533). การพัฒนาการวิจัยโดยใช้รูปแบบ.วารสารการวิจัยทางการศึกษา. 20(2), 19-25.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี). (2554, 3 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 128, ตอนพิเศษ 62ง, น.12.

ผ่องศรี แก้วชูเสน. (2556). รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยใช้การประเมินแบบเสริมพลังสำหรับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี. วารสารวิชาการและการวิจัยสังคมศาสตร์, 8(22), 1-14.

รัตนะ บัวสนธ์. (2550). ทิศทางและอาณาบริเวณการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). การวิจัยและพัฒนารูปแบบ.วารสารมหาวิทยาลัยสกลนคร. 2(4). 2-15.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มัลนิธิ สยามกัมมาจล.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริดา บุราชาติ. (2554). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพบัณฑิตสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การวัดและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. (2559). รายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เรื่อง แผนปฏิรูปเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก. สืบค้นเมื่อ 18พฤศจิกายน พ.ศ. 2560, จาก https://library2.parliament.go.th/giventake/content_nrsa2558/d031459-02.pdf.

สายทิตย์ ยะฟู. (2556). การพัฒนารูปแบบการประเมินหน่วยประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารวิชาการและการวิจัยสังคมศาสตร์, 8(22), 15-30.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2557). สาระสังเขปประเด็นการปฏิรูปประเทศไทยด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักการพิมพ์สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Johnston, S. (1981). Indicators of education system. London: Unesco.

Kusek, J. Z., & Rist, R.C. (2004). Ten Steps to a Results-based Monitoring and Evaluation System. A handbook for development practitioners. Washington, D.C.: World Bank.

Stufflebeam, D. L. (1991). The Personnel Evaluation Standards: How To Assess Systems for Evaluating Educators. CA: Sage Publications.