แนวทางการนิเทศภายในของสถานศึกษาในอำเภอแม่เปิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2; Guidelines for the Procedure of Internal Quality Assurance of Schools Under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2

Main Article Content

ณัทญาทิพย์ สหัสสรังสี Nattayatip Sahassarangsi

Abstract

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและหาแนวทางการนิเทศภายในของสถานศึกษาในอำเภอแม่เปิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 มีการดำเนินการมี 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาปัญหาทางการนิเทศภายในของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นที่ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) หาแนวทางการนิเทศภายในของสถานศึกษา โดยการทำการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เพื่อประเมินแนวทางการนิเทศภายในของสถานศึกษา และวิเคราะห์เนื้อหา

              ผลการวิจัยพบว่า

              1) ปัญหาการนิเทศภายในของสถานศึกษาในอำเภอแม่เปิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ตามลำดับ คือ ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา และด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา และ 2) แนวการนิเทศภายในของสถานศึกษาในอำเภอแม่เปิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2  มีดังนี้ 2.1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ได้แก่ จัดให้มีการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน เพื่อให้เอกสารหลักสูตรสถานศึกษาและคู่มือการใช้หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรให้ครูศึกษาก่อนนำไปปฏิบัติและทำการสอน และควรจัดอบรมครูเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา 2.2) ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ได้แก่  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และชี้แจงเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการสอนแบบใหม่ โดยให้ผู้บริหารสถานศึกษาควรกระตุ้นให้ครูนำเทคนิคและวิธีการสอนแบบใหม่ ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2.3) ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ได้แก่ ส่งเสริมครูในการทำสื่อไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยจัดฝึกอบรมครูหรือส่งครูเข้ารับอบรม ในการผลิตสื่อและการใช้นวัตกรรมเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน และควรจัดหาสื่อและเทคโนโลยีให้เพียงพอเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2.4) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้แก่ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหรือส่งครูไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน และผู้บริหารต้องคอยกำกับติดตามให้ครูนำการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 2.5) ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ได้แก่ ประชุมชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการวัดผลและประเมินผลตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยให้ครูมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนาเครื่องมือวัดผลที่หลากหลายและได้มาตรฐาน และควรมีการกำกับติดตามให้ครูใช้วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน โดยเน้นการประเมินตามหลักสูตรสถานศึกษา

Abstract

This research aimed to study the problems and to find guidelines for internal supervision of schools in Mae Poen district under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Area 2. The research had two stages: 1) Studying the problems of internal supervision of schools from the sample group of 154 teachers. The research tool used was a questionnaire with a reliability coefficient of .89. The statistics used were percentage, mean and standard deviation. 2) Finding the guidelines for internal supervision for schools by way of focus group discussion of 7 experts and content analysis.

The research results are as follows:

1) Overall, the problems of internal supervision of schools in Mae Poen district under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Area 2 were at a moderate level. When considered aspect by aspect, the problems were in the aspects of measurement and evaluation and transfer of learning results, development and utilization of technological and educational media, research for educational quality development, curriculum development of school, and learning and instruction management respectively.

2) The guidelines for the internal supervision for schools in Mae Poen district under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Area 2 comprise the following aspects: 2.1) Curriculum development of school. Before the school opens, a meeting should be organized to inform teachers about school curriculum development so that the curriculum documents and handbooks concerned can be given to the teachers to study before putting into practice. 2.2) Learning and instruction management in school. Organize a meeting and workshop in making a learning plan for each group of subject content. Explain and encourage teachers to use new teaching techniques in managing learning activities. 2.3) Development and utilization of technological and educational media. Encourage teachers to produce and use media in learning activities by providing access to trainings in producing suitable media and innovation for learning and instruction as well as procuring enough media for using in learning activities. 2.4) Research for educational quality development. Provide a training workshop or a study tour on classroom research. Administrators must monitor to make sure that teachers make use of classroom research in learning quality development in each group of subject content. 2.5) Measurement, evaluation and transfer of learning results. Organize a meeting and explain about measurement and evaluation methods consistent with school curriculums by getting the teachers to participate in making a development plan for standard and various measurement tools. Monitor and follow up to see that teachers use measurement and evaluation methods in accordance with school curriculums.

Article Details

Section
Dissertations