การพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง กรด–เบส ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับเทคนิคการแข่งขันเกมแบบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5; The Development of Scientific Conceptual Understanding of Acid–Base by Using 5E Inquiry

Main Article Content

ศิริธร อ่างแก้ว Sirithorn Angkaew

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์เรื่อง กรด-เบส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับเทคนิคการแข่งขันเกมแบบกลุ่ม (TGT) โดยเป็นการวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 และ 5/2 จำนวน 62 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสกลนครพัฒนศึกษา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนมโนมติหลังเรียน (ค่าเฉลี่ย 63.68 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.51) สูงกว่าก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย 10.71 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.16) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับค่า p น้อยกว่า 0.05 โดยนักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนแบบปกติอยู่ในระดับปานกลาง

(<g> = 0.60) โดยก่อนเรียนร้อยละของนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มมโนมติผิด (52.97) และหลังเรียนร้อยละของนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มมโนมติถูกต้อง (64.41) จะเห็นได้ว่าร้อยละของนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มมโนมติถูกต้องมีค่าเพิ่มขึ้น (+50.04) ในขณะที่ผลรวมร้อยละของนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มมโนมติผิดและคลาดเคลื่อนมีค่าลดลง (-50.04) แสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับเทคนิคการแข่งขันเกมแบบกลุ่ม สามารถพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่อง กรด - เบส ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Abstract

The aim of this research was to develop the scientific conceptual understanding of acid- base by using 5E inquiry learning cycle incorporated with Teams Games Tournaments (TGT) approach. In this study we performed a pre-test and a post-test survey on a group of 62 Grade-11 students from Classroom 1 and 2 at Sakonnakhon Pattanasuksa School; this sampling was during the second semester of the academic year of 2015. The results revealed that the post-test conception score (mean 63.68, SD 7.51) was statistically higher than the pre-test score (mean 10.71, SD 3.16) at p < 0.05. The normalized learning gain was at the medium gain level (<g> = 0.60), moreover the highest percentages of students in pre- and post-conceptual test were in the misconception (52.97) and good conception (64.41) categories, respectively. Their percentages of the good conception category was increased (+50.04), while the total percentages of the misconception and alternative conception categories were decreased (-50.04). Consequently,

the 5E inquiry learning cycle incorporated with TGT was effective to improve students’ scientific conceptual understanding of acid- base.

Article Details

Section
Dissertations