ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากปลีกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า และกล้วยหอม

Main Article Content

จันทกานต์ นุชสุข

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมสารสกัดหยาบจากปลีกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าและกล้วยหอม ด้วยตัวทำละลาย 3 ชนิด ได้แก่ เอทานอล เมทานอล และน้ำกลั่น พบว่า การสกัดด้วยน้ำกลั่นให้ปริมาณผลผลิตร้อยละมากที่สุด จากนั้นนำสารสกัดหยาบดังกล่าวมาหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมและทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระโดยวิธีการดักจับอนุมูลอิสระดีพีพีเอช (DPPH assay) และการรีดิวส์เฟอร์ริก (FRAP assay) พบว่าสารสกัดหยาบจากปลีกล้วยน้ำว้าด้วยเอทานอลมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม   มากที่สุดเท่ากับ 187.82 ± 1.47 มิลลิกรัมกรดแกลลิกต่อ 100 กรัม น้ำหนักแห้ง สามารถดักจับอนุมูลอิสระดีพีพีเอชได้ดีที่สุด มีค่า IC50 เท่ากับ 367.67 ± 0.011 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และสามารถรีดิวส์เฟอร์ริกได้ดีที่สุด โดยมีค่า FRAP value เท่ากับ 64.93 ± 2.25 ไมโครโมลาร์ ต่อ 100 กรัม น้ำหนักแห้ง รองลงมาคือสารสกัดหยาบจากปลีกล้วยไข่และกล้วยหอมด้วยเอทานอล ตามลำดับ

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

Ferric Reducing Antioxidant Power (FRAP) Assay Protocol [ออนไลน์]

เข้าถึงได้จาก:

(http://www.researchgate.net/file.PostFileLoader.html?id=5712f1e9eeae39786d434922&assetKey=AS%3A351683839315968%401460859369562) [31 มีนาคม 2560]

กองโภชนาการ (2544) ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย กลุ่มงานวิเคราะห์อาหารและโภชนาการ กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี: 136 หน้า ISBN: 974-515-295-1

จันทิมา นามโชติ ศศมล ผาสุข และ ปัณณ์รภัส ถกลภักดี (2556) ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากกิ่งมะขวิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ ในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5: 251-260

บุหรัน พันธุ์สวรรค์ (2556) อนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระ และการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน

ปริยานุช อินทร์รอด (2551) ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมของส่วนสกัดจากต้นเร่วหอมและว่านสาวหลง รายงานการวิจัยระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา: 64 หน้า

สุวรรณี แสนทวีสุข ดวงใจ จงตามกลาง ทัศน์วรรณ สมจันทร์ และ ปิติพงษ์ โตบันลือภพ (2555) ปริมาณสารฟีนอลิคทั้งหมด ความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และ

ความสามารถในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของสมุนไพรบางชนิด แก่นเกษตร 40 ฉบับพิเศษ 2: 480-483

โอภา วัชระคุปต์ ปรีชา บุญจูง จันทนา บุณยะรัตน์ และ มาลีรักษ์ อัตต์สินทอง (2549) สารต้านอนุมูลอิสระ พี.เอส.พริ้นท์ นนทบุรี

Arya Krishnan S. and Dr. Signija V.R. (2016) Proximate composition and antioxidant activity of banana blossom of two cultivars in India. International Journal of Agricultural and Food Science Technology 7(1): 13-22

Bibechana Timsina and Varalakshmi Kilingar Nadumane (2014) Anti-cancer potential of banana flower extract: an in vitro study. Bangladesh Journal of Pharmacology 9: 628-635

Jini Joseph, David Paul, Kavitha M.P., B. Dineshkumar, Jalaja S. Menon, A.R. Bhat and K. Krishnakumar (2014) Preliminary phytochemical screening and in vitro antioxidant activity of banana flower (Musa paradisiaca AAB Nendran variety). Journal of Pharmacy Research 8(2): 144-147

Michele M. Schmidt, Rosa C. Prestes, Ernesto H. Kubota, Gabrielle Scapin and Marcio A. Mazutti (2015) Evaluation of antioxidant activity extracts of banana inflorescences (Musa cavendishii). Journal of Food 13(4): 498-505

Shashank Kumar and Abhay K. Pandey (2013) Chemistry and biological activities of flavonoids: an overview. The Scientific World Journal Article ID 162750: 1-16

Zhan-Wu Sheng, Wei-Hong Ma, Zhi-Qiang Jin, Yang Bi, Zhi-Gao Sun, Hua-Ting Dou, Jin-He Gao, Jing-Yang Li and Li-Na Han (2010) Investigation of dietary fiber, protein, vitamin E and other nutritional compounds of banana flower of two cultivars grown in China. African Journal of Biotechnology 9(25): 3888-3895

Zhan-Wu Sheng, Wei-Hong Ma, Jin-He Gao, Yang Bi, Wei-Min Zhang, Hua-Ting Dou and Zhi-Qiang Jin (2011) Antioxidant properties of banana flower of two cultivars in China using 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH), reducing power 2,2-azinobis-(3-ethylbenzthiazoline-6-sulphonate (ABTS) and inhibition of lipid peroxidation assays. African Journal of Biotechnology 10(21): 4470-4477