ระบบสารสนเทศรวบรวมลายเครื่องจักสาน

Main Article Content

ไพฑูรย์ งิ้วทั่ง

Abstract

             หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญ ชาวบ้านมีการรวมกลุ่มผลิตและจําหน่ายเครื่องจักสานทั้งในระดับครัวเรือนและเพื่อการส่งออก วิธีการถ่ายทอดการสอนถักสานจะอาศัยผู้มีประสบการณ์ในชุมชน แต่มีข้อจำกัดในการสอน โดยคนรุ่นใหม่ไม่ทราบลักษณะและรูปแบบของลายเครื่องจักสานที่มีมาก่อนนี้  ใช้เวลานาน ผู้เชี่ยวชาญมีน้อย และเกิดการถ่ายทอดเฉพาะในชุมชนของตนเองเท่านั้น  เพื่อเป็นการอนุรักษ์ลายเครื่องจักสาน และเผยแพร่การสอนถักสานให้แพร่หลายมากขึ้น        ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาฐานข้อมูลระบบสารสนเทศเพื่อรวบรวมลายเครื่องจักสานเพื่อการอนุรักษ์และการสอนการถักสาน โดยใช้ชุดคำสั่งที่สามารถเรียกดูข้อมูลทั่วไปของเครื่องจักสาน แสดงรายละเอียดของการสาน และแสดงการยกตอกของลายเครื่องจักสาน ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดของลายและสามารถถักสานตามคำแนะนำของโปรแกรมได้ด้วยตนเอง  เมื่อนำระบบสารสนเทศลายเครื่องจักสานไปเผยแพร่ ให้กับผู้ทดลองใช้จำนวน 30 คน และประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมในด้านต่างๆ 4 ด้าน คือ (1) Function Requirement Test (2) Functions Test  (3) Usability Test  และ (4) Performance Test พบว่า ความพึงพอใจในภาพรวมของโปรแกรมเครื่องจักสานอยู่ในระดับดี งานวิจัยนี้จึงประสบความสำเร็จในการสร้างฐานข้อมูลจัดเก็บลายเครื่องจักสานเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรม และยังจะเป็นพื้นฐานความรู้ในการนำไปสอนถักสานสำหรับคนรุ่นใหม่ที่สนใจ


 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

Chimplee, K. (2012). Knowledge Management Models for Local Wisdom in Wickerwork Handicrafts: A Case Study of Local Community Enterprises in Nakhon Ratchasima Province. Doctor of Philosophy (Social Development and Environmental Management) of National Institute, Nakhon Ratchasima.

Dupandung, K. (2016). The Isan Basketry Database system for local product design. Art and Architecture Journal Naresuan University.7(1): 27-38.

Kang KW. (1999). Automatic recognition of fabric weave pattern by digital image analysis.Textile research journal. 62(2).77-83

Inkuer, A., Pijukana, P., Siripithakul, A. (2011). The study and development of the wickerwork handicraft making for building the product development guideline for the sustainability of Chanwat Ang Thong. Architecture and design of Rajamangla University of Technology PraNakron, Bangkok.

Patranont, J. (2010). The development on local basketry handicraft by participatory action research a case study of kapor leaf basketry in tung pho sub-district, chulaphorn district, Nakhon Si Thammarat Province. Presented in partial fulfillment of the requirements for the

master of education degree in art education at Srinakharinwirot University, Bangkok.

Thongkaew, S., Sodbhiban, P., and Saribut U. (2015). A Study of local wisdom to product development the community promote tourism of Chachoengsao province . Art and Architecture Journal Naresuan University. 6(2):134-147.

[online]. Source: http://www.manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9500000060297 [5 March2015]

[online].Source:http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000085941 [31 July 2014]

[online]. Source:http://thai.tourismthailand.org [24 April 2015 ]