ความสัมพันธ์ของการใช้ประโยชน์อาคารและความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่กับปริมาณผู้ใช้รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา รถไฟฟ้าสายสุขุมวิทและสายสีลม

Main Article Content

วัชรินทร์ ขวัญไฝ
ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะการใช้ประโยชน์อาคารและความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่กับปริมาณผู้ใช้รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาพื้นที่รอบสถานีที่มีรัศมี 500 เมตรของรถไฟฟ้าสายสุขุมวิทและสายสีลมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 33 สถานี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์และจัดกลุ่มแบ่งคุณลักษณะของพื้นที่รอบสถานีเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผลของการศึกษาโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation coefficient) พบว่าความหนาแน่นการใช้ประโยชน์อาคาร ลักษณะประโยชน์อาคารประเภทพาณิชยกรรมและประเภทสาธารณูปการ รวมถึงปัจจัยด้านความสามารถในการเข้าถึงประเภท สถานีร่วม   จำนวนสายรถเมล์  จำนวนที่จอดรถสาธารณะและจำนวนสายรถตู้โดยสารสาธารณะ ทั้งหมดมีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้โดยสารในแต่ละสถานี ผลของการจัดกลุ่มคุณลักษณะของสถานีโดยใช้วิธีการวิเคราะห์จัดกลุ่ม (Cluster analysis) ด้วยเทคนิค Hierarchical Cluster Analysis จากค่าปัจจัยลักษณะการใช้ประโยชน์อาคารและปัจจัยด้านความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ สามารถจำแนกแบ่งคุณลักษณะออกได้ 3  กลุ่ม โดยคุณลักษณะของประเภทสถานีที่แตกต่างกันส่งผลจำนวนผู้โดยสารแตกต่างกันด้วย ผลของการศึกษานำมาสู่ข้อเสนอการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีด้วยการพัฒนาการใช้ประโยชน์อาคารให้เป็นไปอย่างเหมาะสม รวมถึงพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรองเพื่อเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงพื้นที่รอบสถานีตามคุณลักษณะของสถานี เพื่อให้เกิดการใช้งานพื้นที่รอบสถานีไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรวัฒน์ เสรีอรุโณ. (2560). ผลกระทบของคุณลักษณะของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสต่อราคาคอนโดมิเนียมใน TOD Influence Zone. (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

ตยา ประพุทธนิติสาร. (2547). ภูมิศาสตร์การขนส่ง. ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่

สรัสไชย องค์ประเสริฐ. (2561). แนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ สถานีรถไฟในประเทศไทย. Retrieved from https://www.matichon.co.th/columnists/news_826240

สามารถ ราชพลสิทธิ์. (2559). รถไฟฟ้าสายสีม่วงกระอัก ! ขาดทุนวันละ 3 ล้าน แนะเร่งสร้างทางเชื่อมเตาปูน-บางซื่อ. Retrieved from https://hilight.kapook.com/view/141113

สุเมธ องกิตติกุล. (2562). ทีดีอาร์ไอชี้ "ค่ารถไฟฟ้าไทย" แพงกว่าสิงคโปร์20% ทำคนจนเข้าไม่ถึง. Retrieved from https://www.posttoday.com/economy/590438

Bertaud, A.&Richardson, H. W. (2004). Transit and density: Atlanta, the United States and western Europe. Urban Sprawl in Western Europe and the United States. London: Ashgate, 293-310.

Bertolini, L. (1999). Spatial development patterns and public transport: the application of an analytical model in the Netherlands. Planning Practice and Research, 14(2), 199-210.

Geurs, K. T.&Van Wee, B. (2004). Accessibility evaluation of land-use and transport strategies: review and research directions. Journal of Transport Geography, 12(2), 127-140.

Hinkle, D. E., Wiersma, W.&Jurs, S. G. (1998). Correlation: a measure of relationship. Applied statistics for the behavioral sciences, 4, 105-131.

Meyer, M.&Miller, E. (1984). Urban Transportation Planning: A Decision Oriented Approach. New York: McGraw-Hill Book Company.

Sarkar, P. P.&Mallikarjuna, C. (2013). Effect of land use on travel behaviour: a case study of Agartala city. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 104, 533-542.

Vale, D. S. (2015). Transit-oriented development,intergration of land use and transport,and predestrain accessibility: combrining node-place model with pedestrian shed ration to evaluate and classify station areas in Lisbon. Journal of Transport Geography, 45, 70-80.