รูปแบบการเกิดอาชญากรรมคดีลักทรัพย์ในพื้นที่สาธารณะ ย่านเยาวราช-สำเพ็ง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

บุษยา พุทธอินทร
ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ

บทคัดย่อ







บทความนี้สรุปจากงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบตําแหน่ง ความถี่ และ ช่วงเวลาการเกิดอาชญากรรมคดีลักทรัพย์บนพื้นที่สาธารณะย่านเยาวราช-สําเพ็ง ซึ่งเป็นย่านพาณิช ยกรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง อยู่ในพื้นที่เขตรับผิดชอบของสถานีตํารวจนครบาลจักวรรดิและ พลับพลาไชย 2 กรุงเทพมหานคร มีสถิติการเกิดอาชญากรรมคดลี ักทรัพย์ ในปีพ.ศ. 2550 - 2561 (ระยะเวลา 12 ปี) ทั้งหมด 1,101 คดี (สํานักงานตํารวจแห่งชาต,ิ 2562) โดยคดีลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นใน พื้นที่สาธารณะ เช่น การล้วงกระเป๋า การขโมยสินค้า ที่สามารถระบุตําแหน่งการเกิดคดีได้อย่าง ชัดเจนและอยู่ในขอบเขตพื้นที่ศึกษา มีมากถึง 188 คดี การวิเคราะห์รูปแบบการเกิดอาชญากรรม ร่วมกับตําแหน่งร้านค้าและแผงลอย มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายปรากฎการณ์และลักษณะการเกิด อาชญากรรมที่มีความสอดคล้องกับกิจกรรมการค้าในช่วงเวลาต่างๆ ภายในย่าน โดยมีผลการศึกษา ว่า ลักษณะการเกิดอาชญากรรมมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีกิจกรรมการค้า ใกล้บริเวณทางร่วมแยก ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการรวมตัวกลุ่มเป้าหมายหรือเหยื่อ ซึ่งเอื้อให้อาชญากรสามารถอําพรางตัวไปในหมู่ ผู้คนขณะก่อเหตไุ ด้ และใช้ทางร่วมแยกหลบหนีออกไป







Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไชยยุทธ ลียะวณิช. (2548) การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำหรับวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของอาชญากรรมกับสภาพกายภาพชุมชนเมือง: กรณีศึกษา พื้นที่บางรัก กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรยา ไทพาณิชย์. (2543). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการศึกษา การกระจายทางพื้นที่ของ

อาชญากรรม. (อักษรศาสตรมหาบัณฑิต),กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

วรยา ไทพาณิชย์. (2543). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการศึกษา การกระจายทางพื้นที่ของ

อาชญากรรม. (อักษรศาสตรมหาบัณฑิต),กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

เวสพล ตรีธาราทิพย์. (2559). โครงข่ายกิจกรรมของแผงลอยอาหารกรณีกรณีศึกษาย่านเยาวราช. (การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต), ,กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2562). สถิติคดีอาญา พ.ศ.2562. [ออนไลน์]. ได้จาก https://pitc.police.go.th/dirlist/dirlist.php?dir=/crimes/2562 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 5 พฤษภาคม 2562].

Baran, Smith and Toker. (2007). The Space Syntax and Crime: evidence from a

suburban community. International Space Syntax Symposium. Istanbul.

Fernando Miro. (2014). Routine Activity Theory. The Encyclopedia of Theoretical

Criminology, 1-7.

Hillier, B., & Hanson, J. (1984). The social logic of space. Cambridge: Cambridge University Press.

Hillier, B., Penn, A., Hanson, J., Grajewski, J., & Xu, J. (1993). Natural movement: Or configuration and attraction in urban pedestrian movement. Environment and Planning B: Planning and Design. 20: 29–66.

Hillier, B. (1996). Space is the machine: A configurational theory of architecture. Cambridge: Cambridge University Press.

Jacobs, J. (1961). The Death and Life of Great American Cities. England: Penguin Books.