คุณสมบัติผนังดินมูลกระบือ บ้านหนองโนใต้ ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

อภิเชษฐ์ ตีคลี

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องคุณสมบัติผนังดินมูลกระบือ บ้านหนองโนใต้ ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดหาสารคาม มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาคุณสมบัติดินมูลกระบือ และส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง แล้วนำผลที่ได้ไปบูรณาการกับนิสิตชั้นปีที่ 3 สาขานฤมิตศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยผู้วิจัยได้กำหนดเครื่องมือในการวิจัยอันประกอบไปด้วย แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบประเมินวัสดุต้นแบบ และแบบประเมินความพึงพอใจ จากการศึกษาวิจัยพบว่า ดินมูลกระบือมีความเหนียวไม่พอที่จะสามารถขึ้นรูปด้วยตัววัสดุเอง แต่ดินมูลกระบือมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการขึ้นรูปลักษณะเป็นวัสดุฉาบอุด มีวัสดุอื่นเป็นโครงสร้างภายใน เช่น ไม้ไผ่ หรือไม้จริง   ซึ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างรับน้ำหนักของวัสดุ 


              วัสดุสามารถนำไปขึ้นรูปกับวัสดุโครงสร้างได้ดี มีส่วนผสมประกอบไปด้วย น้ำ 1 ส่วน ดินจอมปลวก 1 ส่วน มูลกระบือหรือมูลโค 1 ส่วน และทิศทางของการอัดมีผลต่อการขึ้นรูปจากการทดลอง จาการศึกษาพบว่า การอัดต้องอัดตามแนวขวางกับวัสดุโครงสร้าง ส่วนการขึ้นรูปโดยไม่มีโครงสร้างนั้นใช้เวลานาน ต้องรอให้ดินชั้นแรกคงรูปจึงจะขึ้นชั้นถัดไปได้ และต้องผสมดินมูลกระบือให้มีลักษณะเข้ม ใช้น้ำน้อยจึงจะสามารถขึ้นรูปไม่เหมาะสมในการใช้งานเป็นวัสดุก่อผนัง ดินมูลกระบือที่ทดสอบจะมีการแห้งตัวหลังเวลา 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่การเริ่มอัด  และดินมูลกระบือมีการหดตัวเฉลี่ยที่ 3-5 % การหดตัวนั้นขึ้นอยู่กับการนำวัสดุไปใช้งาน หากนำดินมูลกระบือไปใช้ในบริเวณน้อยหรือนำไปใช้เป็นวัสดุอุดรูเนื้อดินที่ใช้จะไม่มีการหดตัว แต่หากนำเนื้อดินไปใช้เป็นวัสดุปิดผิวหรือฉาบปิดผนัง หรือนำไปก่อขึ้นรูปโดยตรงเนื้อดินจะมีการหดตัว


              กิจกรรมการบูรณาการ มีนิสิตเข้าร่วมโครงการชาย 2 คน หญิง 3 คน ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เกี่ยวกับดินมูลกระบืออยู่ในระดับ น้อย 2 คน คิดเป็น 40 % น้อยมาก 3 คน คิดเป็น 60 % ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเคยสัมผัสหรือใช้งานดินมูลกระบืออยู่ในระดับ ปานกลาง 2 คน คิดเป็น 40 % น้อยมาก 3 คน คิดเป็น 60 % หลังการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจหลังการเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับ มากที่สุด 4 คน คิดเป็น 80 % มาก 1 คน คิดเป็น 20 % ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้ไปบูรณาการใช้งานอยู่ในระดับ มากที่สุด 5 คน คิดเป็น 100 % และผู้เข้าร่วมโครงการคิดว่าวัสดุชนิดนี้สามารถนำไปสู่การพัฒนาต่อไปอยู่ในระดับ มากที่สุด 5 คน คิดเป็น 100 %

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา บุญญานุวัตร และคณะ. (ม.ป.ป.). ถ่านชีวภาพมูลโคเพื่อ : ลดก๊าซเรือนกระจกและกำจัดความยากจน. กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กระบือโรงงานปุ๋ยเคลื่อนที่. (ม.ป.ป). ปุ๋ยคอก. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://pirun.ku.ac.th/ [สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2561].

ชาติ ชายแดนใต้. (ม.ป.ป.). เรื่องของขี้วัว. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://tulyakul.blogspot.com/2014/05/blog-post_20.html [สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2561].

เซลลูโลส. (ม.ป.ป.). องค์ประกอบต้นไม้. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.digitalschool.club/digitalschool/science1_2_2/science2_1/more/cellulose_1.php [สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2651].

ธายุกร พระบำรุง และคณะ. (2559). สมบัติทางกายภาพและเคมีของดินจอมปลวกบางประการที่เป็นประโยชน์ต่อการปลูกผักที่บ้านดอนจำปา ตำบลโพนงาม อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. ในการประชุมวิชาการ “มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย”ครั้งที่ 12. (น. 619-629). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธิดารัตน์ ศรีผดุง และทองคำ ขู่คำราม. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์จาก โค ไก่ และสุกร ในการพัฒนาการปลูกบวบเหลี่ยมสายพันธุ์การค้า. วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

บ้านหนึ่งกัน. (ม.ป.ป.). คุณสมบัติของ เฮมิเซลลูโลส. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.ban1gun.com [สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2561].

ภาวดี เมธะคานนท์. (ม.ป.ป.). การสกัดแยกและวิเคราะห์เฮมิเซลลูโลสจากหญ้าแฝก. [ออนไลน์]. http://www2.mtec.or.th/th/searchsys/search_proj/detail.asp?proj_id=MT-S-45-POL-07-190-I&lang=1[สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2561].

โสภนา ศรีจำปา. (ม.ป.ป). สรรพคุณครอบจักรวาลของมูลวัวที่อินเดีย. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/180319 [สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2561].

อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ และคณะ. (ม.ป.ป.). สมบัติของดินจอมปลวกที่จำกัดความเจริญเติบโตของพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยาคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.