การพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของคนวัยแรงงานเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • นฤมล โชว์สูงเนิน
  • เกษราวัลณ์ นิลวรางกูล

คำสำคัญ:

Self-care, Working-age, Hypertension, การดูแลตนเอง, คนวัยแรงงาน, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลตนเองของคนวัยแรงงานเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง กลวิธีการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของคนวัยแรงงาน และศักยภาพการดูแลตนเองของคนวัยแรงงานในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงหลังการดำเนินการวิจัย พื้นที่ศึกษาคือหมู่บ้านหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา การดำเนินการวิจัยนี้มีผู้ร่วมดำเนินการวิจัยซึ่งใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย  คนวัยแรงงานอายุ 35-59 ปีจำนวน 14 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 6 คน การรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การบันทึกภาคสนาม สำหรับรวบรวมข้อมูลทั่วไป และนำข้อมูลทั่วไปมาวิเคราะห์โดยใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และข้อมูลปริมาณโซเดียมนำมาวิเคราะห์เป็นจำนวนปริมาณโซเดียมที่ได้รับประทานต่อวัน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไป เพศชาย  5 คน คิดเป็นร้อยละ 35.7 เพศหญิง 9 คน คิดเป็นร้อยละ 64.3 อายุสูงสุด 59 ปี อายุต่ำสุด 35 ปี อายุเฉลี่ย  44.40ปี (SD. = 9.40)  คนวัยแรงงานอาชีพรับจ้างมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.1 รายได้ของครัวเรือนส่วนใหญ่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อเดือน และพบว่าการดูแลตนเองของคนวัยแรงงานในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงไม่เหมาะสมได้แก่ การรับประทานอาหารรสเค็มจัด การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานผลไม้และธัญพืชในปริมาณน้อย  การออกกำลังกายไม่เหมาะสมและการใช้สารเสพติดจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเครื่องมือชูกำลัง และกาแฟ

กลวิธีในการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของคนวัยแรงงานเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของคนวัยแรงงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเริ่มตั้งแต่ค้นหาปัญหาร่วมกัน คืนข้อมูล จัดลำดับความสำคัญของปัญหา วางแผนร่วมกัน ดำเนินการตามแผน และประเมินผล ซึ่งแผนการดำเนินการประกอบด้วย การประชุมอบรมเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค การพัฒนาคู่มือสำหรับการดูแลตนเอง การนำเสนอตัวแบบของการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การเยี่ยมบ้านและให้ความรู้เรื่อง การป้องกันโรคความดันโลหิตผ่านหอกระจายข่าว

ภายหลังการดำเนินการวิจัยคนวัยแรงงานมีการดูแลตนเองที่เหมาะสม ลดการรับประทานอาหารรสเค็ม ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มการรับประทานผลไม้มากขึ้น มีการออกกำลังกายที่ถูกวิธี  และลดการใช้สารเสพติด

พยาบาลชุมชนและบุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้คือกลวิธีการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของคนวัยแรงงานเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้คนวัยแรงงานมีให้มีความสามารถในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างเหมาะสม

 

คำสำคัญ: การดูแลตนเอง, คนวัยแรงงาน, โรคความดันโลหิตสูง

 

Strengthening Working-Age People’s Self- Care to Prevent Hypertension

 

Abstract

This action research aimed to investigate working-aged peoples’ self-care to prevent hypertension, and to develop a strategy to enhance their self-care abilities. The setting of this study was a village in Nakhonratchasima province. Purposive sampling was used to recruit a sample of 14 working-aged people (35-59 years) and 6 health workers who were specific random sampled and responsible for caring for this workforce. Questionnaires were used to collect demographic data. Focus groups, in-depth interviews, participant observation and field notes were used to collect qualitative data. Descriptive statistics were namely percentage, mean, standard deviation, range, and sodium daily consumption level. Qualitative data were analyzed using content analysis.

Results showed that there were 5 males (35.7%) and 9 females (64.3%), the oldest was 59 years old and the youngest was 35 years old, mean age was 44.40 years (range 35–59 years). 57.1 percent were contractors. Their monthly income was less than 5,000 Baht. They had improper self-cares to prevent hypertension: high sodium and fat food consumption, low quantities of fruits and grains, inappropriate exercise, and use of addictive substances, e.g. alcohol, coffee and generic beverages.

The study developed a strategy to enhance self-care ability to prevent hypertension. Working-aged people health personnel responsible for their care worked together to identify and prioritize problems, plan for action, and implement and evaluate the action plan. The action plan included training on hypertension disease prevention using a development of self-care hand-book. It also included role modelling by appropriate self-care to prevent hypertension, home visits and providing knowledge related to hypertension prevention through village broadcasting tower.

After the project, participants had increased self-care behaviors, reduced salty and fatty food consumption and addictive substance use, while fruit consumption had increased.  They also had more appropriate exercise routines.

Community nurses and health personnel responsible could use these strategies to enhance working-aged peoples’ ability to prevent hypertension.

 

Keywords: Self-care, Working-age, Hypertension

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-18