ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตน ความเข้าใจและความพึงพอใจต่อระบบการให้คําปรึกษาทางวิชาการของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กชกร ฉายากุล

คำสำคัญ:

การปฏิบัติตน, ความเข้าใจ, ความพึงพอใจ, การให้คําปรึกษาทางวิชาการ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตนความเข้าใจและความพึงพอใจต่อระบบการให้คําปรึกษาวิชาการ ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 313 คน  อายุระหว่าง 18-29  ปี  ( M = 20.74 ,  S.D. = 1.48)  เป็นเพศหญิงร้อยละ 92 เพศชายร้อยละ 8 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 100  เกรดเฉลี่ยระหว่าง 2.07 – 3.87                          ( M = 2.81 ,  S.D. = .36)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม 1) การปฏิบัติตนตามข้อปฏิบัติของนักศึกษาเกี่ยวกับระบบการให้คําปรึกษา 2) ความเข้าใจของนักศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตร การลงทะเบียนเรียน และระเบียบข้อบังคับของวิทยาลัยและ3) ความพึงพอใจต่อระบบการให้คำปรึกษาวิชาการ ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาล  วิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา(Cronbach’salpha) ได้ค่าความเชื่อมั่น .75, .80 และ .95 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

                 ผลการวิจัยพบว่ามีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ของ การปฏิบัติตนตามข้อปฏิบัติของนักศึกษาเกี่ยวกับระบบการให้คําปรึกษากับ1) ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร การลงทะเบียนเรียน และระเบียบข้อบังคับของวิทยาลัย 2) ความพึงพอใจต่อระบบการให้คําปรึกษาวิชาการ (r = .31 และr = .43ตามลำดับ) และ 3) มีความสัมพันธ์ของความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร การลงทะเบียนเรียน และระเบียบข้อบังคับของวิทยาลัยกับความพึงพอใจต่อระบบการให้คําปรึกษาวิชาการ  (r =.53)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-20