การดูแลผู้ป่วยเบาหวานมีแผลที่เท้าโดยใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณี: ประสบการณ์ของ Entero–Stomal Therapist Nurse โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

ผู้แต่ง

  • ชลิดา อนุกูล
  • ดวงเนตร ธรรมกุล

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวานมีแผลที่เท้า, การจัดการผู้ป่วยรายกรณี, entero–stomal therapist nurse

บทคัดย่อ

แผลเท้าเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมระดับนาตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเหตุให้แผลติดเชื้อลุกลามอย่างรวดเร็ว
ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยจะมีโอกาสถูกตัดขาสูง แผลกลับเป็นซาแล้วซาอีก ต้องรักษาตัวใน
โรงพยาบาลนาน มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ทั้งด้านร่างกาย
จิตใจ คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อคุณภาพบริการพยาบาลในภาพรวมด้วยการใช้
การจัดการผู้ป่วยรายกรณี สามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษา โดยมีพยาบาลวิชาชีพเป็นผู้จัดการดูแลอย่าง
ต่อเนื่อง ทั้งในโรงพยาบาล และชุมชน พยาบาลจะมีปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายแหล่งบริการสุขภาพ ผู้ป่วย และ
ครอบครัว ตลอดจนแหล่งสนับสนุนในชุมชน เพื่อจุดมุ่งหมายความสำเร็จของคุณภาพบริการที่มีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล
การจัดการผู้ป่วยรายกรณี (case management)ในผู้ป่วยเบาหวานเป็นการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานตามระยะเวลาที่กำหนดซึ่งช่วยให้ง่ายต่อการคาดหมายผลลัพธ์ของผู้ป่วยเบาหวานตามมาตรฐานกำหนดอีกทั้งยังทำให้
ผู้ป่วยจำหน่ายเร็วขึ้น หรือจำหน่ายในระยะเวลาที่เหมาะสมประหยัดทรัพยากรเกิดการประสานการดูแลแบบต่อ
เนื่องสนับสนุนการร่วมมือร่วมใจของบุคลากรในทีมสหวิชาชีพเป็นการดูแลผู้ป่วยเบาหวานร่วมกันที่สมบูรณ์แบบ และสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ป่วย นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล เกิดอิสรภาพทางการพยาบาล
(nursing autonomy) เพื่อผลลัพธ์อันเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ

Downloads