การพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลครบุรี จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ศรีมาลัย วิสุทธิศิริ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลครบุรี จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

เบาหวาน, วิจัยแบบมีส่วนร่วม, diabetes mellitus, participatory action research

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพ จำนวน 5 คน และผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลครบุรี จำนวน 226 คน ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่ เดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน 2551  การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่ การศึกษาบริบทการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน การพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน การทดลองใช้และการประเมินผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวทางสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ป่วยเบาหวาน และแบบประเมินเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ผลประเมินการใช้รูปแบบการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่พัฒนาขึ้นแสดงให้เห็นว่ารูปแบบการคัดกรองนี้ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าอย่างได้ผล โดยสามารถทำให้จำนวนผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เท้า ลดลงจากร้อยละ 4.90 เหลือ ร้อยละ 0.00 และผู้ป่วยเบาหวานทุกคนในกลุ่มนี้ไม่ต้องถูกตัดเท้า

คำสำคัญ : เบาหวาน, วิจัยแบบมีส่วนร่วม

 

ABSTRACT

This action research aimed at developing the model for foot ulcer screening. The participants included five persons in a multi-disciplinary care team and 226 diabetic patients at Diabetic Clinic in Khonburi Hospital. The research was conducted between June and November 2008.      The study was divided into 4 phases including situation analysis, foot screening model development, implementation, and evaluation of the designed foot screening model. The tools were focus group discussion guideline, diabetic patient interview form, and diabetic foot assessment form. The results showed that the designed foot screening model facilitated holistic and continuous care for diabetic patients.  This means it could decrease the risk for foot ulcer and foot amputation from the disease, particularly in the high risk group. The evidence was the reduction of diabetic patients with high risk for foot ulcer, from 4.9% to 0.00%. In addition, there was none in this group had foot amputation.

Keywords : diabetes mellitus, participatory action research

Downloads