การสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นในเขต อ.เมือง จ.นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พิภพ จิตรนำทรัพย์ นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • นวลละออ วิวัฒน์วรพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

วัยรุ่น, พฤติกรรมเสี่ยง, adolescents, risk behaviors

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความชุกของพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นในเขตพื้นที่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน 1,933 คนจากโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งสิ้น 14 โรงเรียน  เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน พ.ศ. 2553  ผลการวิจัยมีดังนี้

1. พฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่อุบัติเหตุจราจรและความรุนแรง คือ ไม่สวมหมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อขี่จักรยานยนต์ร้อยละ 62  และนั่งรถหรือขี่รถจักรยานยนต์หลังจากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 58.20

อยู่ในเหตุการณ์ที่มีการต่อสู้ทำร้ายร่างกายร้อยละ 31 พกอาวุธร้อยละ 6.90 และถูกทำร้ายร่างกายโดยอาวุธ ร้อยละ 5.25

2. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ  คือมีเพศสัมพันธ์แล้วร้อยละ 14 ในกลุ่มนี้มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน ร้อยละ 13.20  ประมาณร้อยละ 70 มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งส่งผลให้ร้อยละ 6.70 เคยตั้งครรภ์หรือทำให้ผู้อื่นตั้งครรภ์  และถูกข่มขืนร้อยละ 0.30

3.พฤติกรรมการใช้สารเสพติด พบว่า  สูบบุหรี่ร้อยละ 18 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 42 ยาบ้าร้อยละ 1.20 กัญชา ร้อยละ 3

จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าควรสนับสนุนให้โรงเรียนมีการเสริมพลังในการให้ความรู้ด้านเพศศึกษา ความนับถือตนเองและทักษะชีวิตรวมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก โดยผ่านกิจกรรมการพัฒนาแกนนำเยาวชนให้สามารถเป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือรณรงค์สร้างเสริมสุขภาพแก่เพื่อนๆ เพราะจะสามารถสื่อสารกับวัยรุ่นได้ดีและด้วยธรรมชาติของวัยรุ่นจะเชื่อและคล้อยตามกลุ่มเพื่อน

คำสำคัญหรือคำหลัก : วัยรุ่น, พฤติกรรมเสี่ยง

 

Abstract

The aims of this survey study were to identify the prevalence of risk behaviors among  adolescents in Muang district,Nakhonratchasima. Youth risk behavior survey questionnaires were employed to collect data from 1933 adolescents in 14 secondary schools in Muang district, Nakhonratchasima, from July to September, 2010.

The study findings revealed three groups of risk behaviors.

1. The traffic accident risk behaviors included rarely or never worn a seat belt (51 %) or a helmet (62 %), being a passengers of drunk drivers (59 %), and drinking drivers (58.20%).  The subjects carried weapons in public (6.90%) and participated in violent events (31 %).  9.40% of the subjects were assaulted and 5.25% needed to be hospitalization.

2. The subjects have had sexual intercourse (14 %), had homosexual experiences (13.20%), used a condom irregularly (70 %), got involved in pregnancy experiences (6.70%), or were raped (0.30%).

3.  The prevalence of substance abuse included smoking (18 %), alcohol drinking (42 %), amphetamine using (1.20%), marijuana using (3 %) and other drugs (1.22%).

The prevalence of risk behaviors among adolescents in Muang district, Nakhonratchasima, was high. Providing knowledge about risk behaviors and social skills through the development of the youth leaders who have counseling competencies or launching health promotion campaigns is recommended to counteract peer pressure among the youth.

Keywords : adolescents, risk behaviors

Downloads