ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอน วิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1

ผู้แต่ง

  • ศุภิสรา สุวรรณชาติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • นัฐชญา คุรุเจริญ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอน, นักศึกษาพยาบาล, teaching and learning course management, nursing student

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การประเมินการจัดการเรียนการสอน เป็นขั้นตอนหนึ่งที่ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติมีประสิทธิภาพมากขึ้น การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน คือนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2551 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า การจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1, ประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์, การบรรลุตามวัตถุประสงค์รายวิชา และภาพรวมของรายวิชา มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับดี (\bar{X} = 4.47,  S.D. = .36; \bar{X} = 4.32,  S.D. = .37; \bar{X} = 4.15,  S.D. = .41; \bar{X} = 4.38,  S.D. = .29 ตามลำดับ )  การศึกษาดูงานมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด (\bar{X} = 4.57,  S.D. = .42) ส่วนการวัดและประเมินผลมีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด  (\bar{X} = 4.37,  S.D. = .47) ข้อเสนอแนะ ควรปรับปรุงการวัดและประเมินผลให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นโดยจัดประชุมร่วมกันระหว่างอาจารย์ผู้สอนและพยาบาลในหอผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการฝึกภาคปฏิบัติ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอน, นักศึกษาพยาบาล

 

Abstract

Course evaluation is one on the teaching and learning processes for improving the efficiency of practical course. The purpose of this descriptive study was to investigate the opinion of nursing students on the teaching and learning course of the Nursing Care of Persons with Health Problems Practicum 1. Fifty samples were the second year of nursing students in the academic year of 2008. The opinion of nursing students on the teaching and learning course of the Nursing Care of Persons with Health Problems Practicum 1 Questionnaire was used. Content validity of questionnaire was approved by 3 professional nurses. Reliability of questionnaire by Cronbach’s Alpha coefficient was .96.   Descript statistics was used for data analysis. The results revealed that most of the opinion of samples on teaching and learning course management, teaching efficiency of instructors, course objectives,  and total course evaluation were in good level (\bar{X} = 4.47,  S.D. = .36; \bar{X} = 4.32,  S.D. = .37; \bar{X} = 4.15,  S.D. = .41; \bar{X} = 4.38,  S.D. = .29, respectively). The highest mean score was on learning in special clinical units (\bar{X} = 4.57, S.D. = .42) meanwhile the lowest mean score was on course measurement and evaluation (\bar{X} = 4.37, S.D. = .47). Based on the finding, measurement and evaluation of this course should be improved for increasing the efficacy teaching and learning course management. Brain storming between instructors of nursing school and nurses from practical units on course measurement and evaluation should be done for proper evaluation of this course.

Keyword : teaching and learning course management, nursing student

Downloads