ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านพฤติกรรมการดูแลตนเอง ปัจจัยด้านการสนับสนุนกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายเมืองย่า 5

ผู้แต่ง

  • ผุสดี ด่านกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • พชรพร สุวิชาเชิดชู พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • นิภาวรรณ ทองเป็นใหญ่ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, หน่วยบริการปฐมภูมิ, self care behavior, Typy-2 diabetic patients, primary care units

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

อันตรายจากโรคเบาหวานส่วนใหญ่เกิดจากภาวะแทรกซ้อน เช่น ตา หัวใจ ไต ล้วนแต่มีความสัมพันธ์ กับการที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ดังนั้นจึงทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านพฤติกรรมการดูแลตนเอง ปัจจัยด้านการสนับสนุน กับการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในหน่วยปฐมภูมิเครือข่ายเมืองย่า 5 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายเมืองย่า 5 จำนวน 279 คน ระหว่างเดือน สิงหาคมถึงกันยายน 2553 เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาเองจากการทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ระดับน้ำตาลในเลือด 2) ปัจจัยด้านพฤติกรรมการดูแลตนเอง 3) ปัจจัยด้านการสนับสนุน แบบสอบถามทั้ง ฉบับมีค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ แอลฟาของคอนบลาค เท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี%ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านพฤติกรรมการดูแล ตนเอง ปัจจัยด้านการสนับสนุน กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยใช้สถิติทดสอบ ไค-สแควร์ ผล การศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายเมืองย่า 5 มีพฤติกรรม การดูแลตนเองในระดับปานกลาง (\bar{X} = 3.15) ส่วนปัจจัยด้านการสนับสนุนอยู่ในระดับมาก (\bar{X}= 4.23) ปัจจัย ด้านบุคคลได้แก่ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านพฤติกรรมการดูแลตนเอง และปัจจัยด้านการสนับสนุน มีความสัมพันธ์กับการควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ : พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, หน่วยบริการปฐมภูมิ

 

Abstract

Morbidities and mortalities of diabetes mellitus are the results of its complications atherosclerosis and coronary artery disease, retinopathy, nephropathy, and neuropathy) caused by poor blood glucose control. A cross-sectional descriptive study was conducted to examine the relationships between personal, self-care behavioral, and supportive factors and blood glucose control of Type-2 diabetic patients at primary care units (PCUs) of “CUP Maung-Ya 5” network. The sample was composted of 279 patients with Type 2 diabetes Muang Ya 5 CPU recruited by stratified sampling technique. The research tool was the questionnaire designed by the researchers consisting of 3 categories: 1) personal factor 2) self-care behavioral factors and 3) supportive factors. Conbrach Alpha coefficient of .90 was obtained for its’ reliability. Study duration was from August to September 2010. The data were described and presented by frequencies, percentage, and standard deviation. Chi-Square test (X2 – test) was used to analyze the relationships between personal, selfcare behavioral and supportive factors and blood glucose control of Type-2 diabetic patients. The results revealed that the levels of self-care behaviors, and supports of Type-2 diabetic patients at Primary care units of “CUP Maung-Ya 5” network were rated as moderate (\bar{X} = 3.15) and high (\bar{X} = 4.23) respectively. There were statistically significant reletionships (p = .05) between personal factors (e.g. level of education) and blood glucose control while there was no such association between self-care behavioral, and supportive factors and blood glucose control.

Keywords : self care behavior, Typy-2 diabetic patients, primary care units

Downloads