วัฒนธรรมสุขภาพชุมชนลุ่มนํ้าลี้ จังหวัดลําพูน

ผู้แต่ง

  • สามารถ ใจเตี้ย

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมสุขภาพ, ชุมชน, ลุ่มน้ำลี้, Cultural health, Community, Li watershed

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสานวิธี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้วัฒนธรรมสุขภาพเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนในชุมชนลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชน จำนวน  321 ครัวเรือน  สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น    เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์หากระบวนทัศน์ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการใช้สถิติเชิงพรรณนา 

               ผลการศึกษา พบว่า ในพื้นที่ลุ่มน้ำลี้มีรูปแบบวัฒนธรรมสุขภาพ  คือ  จิตบำบัด  สมุนไพรบำบัด และอาหารพื้นบ้านบำบัด  ประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำลี้ส่วนใหญ่มีการใช้วัฒนธรรมสุขภาพในการเสริมสร้างสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.00, S.D.=0.63)  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านจิตบำบัดรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.28, S.D.=0.95)  ด้านสมุนไพรพื้นบ้านบำบัดอยู่ในระดับปานกลาง (M=1.87, S.D.=0.68)  ด้านอาหารพื้นบ้านบำบัดอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.04, S.D.=0.62)  ทั้งนี้การใช้ประโยชน์วัฒนธรรมสุขภาพต้องก่อเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน  และการวางแผนการสร้างเสริมกิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนภายใต้กฎเกณฑ์ชุมชนและแนวคิดวัฒนธรรมสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมสุขภาพ

 

คำสำคัญ: วัฒนธรรมสุขภาพ   ชุมชน   ลุ่มน้ำลี้

 

Cultural Health in Li Watershed Community at Lumphun Province

 

                                                            Samart Jaitae Dr.P.H. *

Abstract

              This research utilized mixed method. The objective was using cultural health promotion. The number of sample size was 321 household lived in Li watershed, Lumphun Province. Data were collected through used of documentary research, questionnaires, focus group discussion and in-depth interview. Thematic analysis, content analysis and descriptive statistics were utilized data analysis.

               The results showed that cultural health on psychotherapy, herbal treatment and local food treatment.  The practice cultural health for health care were modulate level  (M=2.00, S.D.=0.63).  The psychotherapy were moderate levels (M=2.28, S.D.=0.59).  The herbs therapy were moderate levels (M= 2.04, S.D.=0.62).  The local food therapy were moderate levels (M=2.04, S.D.=0.62). In concluding, the people had suggested that to cultural health utility were people should establish the participation process, applied to the health care planning and learning source promotion, and community rules on the concept of cultural health.

 

Keyword: Cultural health, Community,  Li watershed

Downloads