แนวทางการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลผู้ป่วยแท้งติดเชื้อที่มีภาวะช็อก

ผู้แต่ง

  • จันทรทิรา เจียรณัย
  • ศรัญญา จุฬารี

คำสำคัญ:

การดูแล, แท้งติดเชื้อที่มีภาวะช็อก, หลักฐานเชิงประจักษ์, Caring, Evidence-based practice, Septic Abortion with Shock

บทคัดย่อ

    วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปแนวทางในการดูแลผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติด เชื้อที่เกิดจากการทำแท้งผิดกฎหมาย วัสดุและวิธีการ: ผู้ศึกษาทำการค้นคว้าเอกสารหลักฐานเชิงประจักษ์ อย่างเป็นระบบจากฐานข้อมูลต่างๆ ที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษในฐานข้อมูลสากล ในช่วงเวลา 10ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2546-2556)ไดแก่ ScienceDirect, PubMed, OVID, CINAHL, Blackwell, SpringerLink และฐานขอมูล แนวปฏิบัติจาก www.guidelines.gov วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำแนก ระดับความน่าเชื่อถือของหลักฐานโดยใช้เกณฑ์ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย4ระดับตั้งแต่ ระดับ A ถึง D ผลการศึกษา: ผลการสืบค้นเอกสารจำนวน 20 เรื่อง ประกอบด้วยระดับ A จำนวน 7 เรื่อง ระดับ B จำนวน 5 เรื่อง ระดับ C จำนวน 5 เรื่อง และระดับ D จำนวน 3 เรื่อง ผลการสังเคราะห์เอกสารพบ ว่า แนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่ทำแท้งผิดกฎหมายที่มีภาวะช็อกแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) การประเมินภาวะ ช็อกติดเชื้อและระดับความรุนแรง 2) แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยช็อกติดเชื้ออย่างเป็นองค์รวม และ 3) แนวทางการป้องลันการเกิดภาวะช็อกติดเชื้อจากการทำแท้งผิดกฎหมาย

    สรุป:ผลการศึกษาช่วยให่ได้แนวทางในการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ทางนรีเวชที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ข้อเสนอแนะคือควรมีการพัฒนารูปแบบการบริการโดยใช้การวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และควรพัฒนางานคุณภาพโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เป็นเครื่องมือในการ ขับเคลื่อน

Downloads