การเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยจิตเภทชายที่มีคุณค่าในตนเองต่ำ

ผู้แต่ง

  • ภาวิณี สถาพรธีระ
  • กฤตยา แสวงเจริญ

คำสำคัญ:

โรคจิตเภท, พลังอำนาจ, คุณค่าในตนเองต่ำ

บทคัดย่อ

        โรคจิตเภทเป็นความเจ็บป่วยทางจิตที่มีความรุนแรงเรื้อรังและทําให้ผู้ป่วยไร้ความสามารถมากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยจิตเภทจะมีภาวะทุพพลภาพของการทําหน้าที่ด้านต่างๆ (functional disability) และเรื้อรังจากอาการของโรค การฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติพบได้น้อยมาก ผู้ป่วยเกือบทุกรายต้องรักษาแบบโรคเรื้อรัง (chronic treatment) หรือต้องรักษาอย่างต่อเนื่องแลส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ดูแลหรือบุคคลในครอบครัว เกิดความเครียดมีทัศนคติที่ไม่ดีกับผู้ป่วยและรู้ว่าการดูแลผู้ป่วยเป็นภาระ ในบางครอบครัวถึงกับทิ้งผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลตลอดชีวิต ไม่ยอมรับผู้ป่วยกลับไปดูแล ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกทุกข์ทรมานทางจิตใจ ตำหนิตนเอง ที่ไม่มีใครต้องการ หรือคิดว่าถูกลงโทษ  ส่งผลต่ออัตมโนทัศน์ของผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเภทชาย เนื่องจากเพศชายมีระดับความมีคุณค่าในตนเองสูงกว่าเพศหญิง โดยส่วนใหญ่ สังคมและวัฒนธรรม มักยกย่องให้เพศชายอยู่ในภาวะผู้นำหารายได้เลี้ยงครอบครัว ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง ไร้พลังอำนาจ ความรู้สึกคุณค่าในตนเองลดลง การบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเภทในปัจจุบัน พบว่าการรักษาโรคจิตเภทด้วยยาร่วมกับการบำบัดทางจิตสังคมได้ผลลัพธ์ดีกว่าการรักษาด้วยยาอย่างเดียว จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่ามีการนำแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจมาใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตและจิตเวชได้ แต่มีจำนวนจำกัด และมีเฉพาะในกลุ่มของคนป่วยทางกาย และบุคคลทั่วไป ทำให้ผู้เขียนมีความสนใจอย่างยิ่งในการเขียนบทความดังกล่าว เพื่อส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตน         เพิ่มศักยภาพ ความสามารถในการจัดการกับความเจ็บป่วยของผู้ป่วยจิตเภทชายช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28