กระบวนการสร้างความร่วมมือและบูรณาการการทํางานในพื้นที่ เพื่อพัฒนามาตรฐานการดําเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตําบลหมูสี อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปวีณา วังคาม
  • จตุพร เหลืองอุบล
  • บัณฑิต วรรณประพันธ์

คำสำคัญ:

การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ, กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น, ภาคีเครือข่าย, การมีส่วนร่วมในพื้นที่, Health decentralization, Local Health Security, Fund, Networks, community collaborative

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

        กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเป็นรูปแบบหนึ่งของการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ โดยมุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม และสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ การวิจัยเชิงปฏิบัติครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนากระบวนการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นกองทุนที่มีศักยภาพสูงขึ้น กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงาน คือ คณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหมูสี จำนวน 21 คน จัดกระบวนการพัฒนาตามขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บข้อมูลโดยเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น โดยประกอบด้วยแบบสอบถาม และสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ

        ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหมูสี มีขั้นตอนการพัฒนา 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาบริบท 2) วิเคราะห์สถานการณ์ 3) ประชุมเชิงปฏิบัติการในการวางแผน 4) อบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ 5) ดำเนินงานตามแผน 6) ติดตามและประเมินผล              7) เวทีถอดบทเรียน 8) สรุปผล ผลการพัฒนาทำให้กลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้ การดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุน เพิ่มขึ้นก่อนการพัฒนา และผลการประเมินกองทุนตามเกณฑ์การประเมินการบริหารการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้คะแนน 91 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับ A+ หมายถึงเป็นศูนย์เรียนรู้ และเป็นกองทุนที่มีศักยภาพสูง        โดยสรุป การพัฒนาการดำเนินงานกองทุนดังกล่าวมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ 1) การสร้างความรู้สึกผูกพันและร่วมกันรับผิดชอบ (Memorandum of Understanding - MOU)  2) ความร่วมมือร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Unity)  3) การสนับสนุนจากภาคส่วนในพื้นที่ (Support) และ 4) การบูรณาการการทำงาน (Integration) หรือว่าแนวทางการทำงานแบบ MUSI ซึ่งเป็นข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้

 

คำสำคัญ: การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ, กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น, ภาคีเครือข่าย,    การมีส่วนร่วมในพื้นที่

 

The Partnerships process and Local Integration for Implementation standard of Local Health Security Fund of Mu Si Sub-district municipality, Pakchong District,

Nakhonratchasima Province

 

Paweena Wangkam*

Jatuporn Luang-ubol, Ph.D.**

            Bundit Wannaprapan, Dr.PH.***

 

Abstract

            Local Health Security Fund is another form of decentralization in the health sector. It is focused the processes of a collaborative and learning involvement in the community. This action research aims to study an implementation of the Health Security Fund in Moosi municipality, Pak Chong district of Nakhonratchasima Province. The 21 target members of research are comprised of the Executive Committee and the Subcommittee on Health Security Fund. The 4 action research steps was applied in the development process. Data collection tools used in this study included questionnaire and interviews forms. Data analysis in this study were both quantitative (descriptive statistics include percentages, means, and standard deviations), and quantitative (content analysis technique).

            The results showed that the Moosi municipality Health Security Fund has a potential and readiness to develop. The 8 stages of development were used including: 1) the context analysis, 2) scenario analysis, 3) workshops for planning 4) capacity building of the Committee, 5) implementation of the plan 6) monitoring and evaluate 7) lesson learn forum 8) Conclusion. It was founded that the target group has increased changed in knowledge, implementation, participation as compound to pre-development. Furthermore, the results of the Fund evaluation on the basis of assessment criteria of the NHSO has scored 91 points, in the class A+  that represents as a learning center and a high potential.

                In summary, the key success factors included: 1) applying a Memorandum of understanding – (MOU) in creating a sense of commitment and shared responsibility  2) cooperation with a unity 3) support both resources and affordability in the area, and 4) integrating all activities in the work, which is simply called MUSI.

 

Keywords: Health decentralization, Local Health Security, Fund, Networks, community collaborative

Downloads