ภาษากับอุดมการณ์เกียรติภูมิในวาทกรรมเพลงมาร์ชโรงเรียน

Main Article Content

ทินวัฒน์ สร้อยกุดเรือ

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุดมการณ์เกียรติยศในวาทกรรมเพลงมาร์ชโรงเรียนประจำจังหวัดโดยเก็บข้อมูลเพลงมาร์ชโรงเรียนประจำจังหวัด จังหวัดละ 1 เพลง รวมเป็น 77 เพลง โดยใช้แนวทางวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ผลการศึกษาพบกลวิธี การใช้คำศัพท์ ซึ่งเปิดเผยให้เห็นถึงอุดมการณ์เกียรติภูมิของโรงเรียนโดยมีชุดความคิดที่สนับสนุนอุดมการณ์นี้ได้แก่ 1) ความชื่อเสียงของโรงเรียนที่มีประวัติอันยาวนานมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญ 2) ความเป็นเลิศทางวิชาการและการกีฬา 3) ชื่อเสียงของโรงเรียน ชุดความคิดดังกล่าวประกอบสร้างให้นักเรียนมีรักและเทิดทูน มีความภาคภูมิใจในโรงเรียนของตนจนกลายเป็นค่านิยมของสังคม วิถีปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการผลิตตัวบทได้แก่ ประวัติศาสตร์ของโรงเรียน บทบาทหน้าที่ของสถาบันการศึกษา ค่านิยมทางการศึกษา ระบบการศึกษาไทย ความกตัญญู และความต้องการยอมรับของสังคม

Article Details

Section
Research articles

References

ดำรงค์ ฐานดี (มปป). ความรู้เรื่องสังคมและวัฒนธรรม. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เทพ บุญตานนท์ (2559). เพลงมารช์ ทหารกับการสร้างภาพลักษณ์กองทัพผู้ปกป้องชาติ
และสถาบันพระมหากษัตริย์. วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 17 ฉบับที่ 2. หน้า 129-171.

ปณิธาน บรรณาธรรม (2558). การสื่อความหมายในเพลงประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.เอกสารประกอบการประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2. 26-27 พ.ย. 2558.

พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ (2554). วาทกรรมชาตินิยมของรัฐบาลไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2475 ถึง พ.ศ. 2550. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เมศิณี ภัทรมุทธา และ พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์ (2554). เพลงประจำจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนล่าง: วัฒนธรรมและความเชื่อ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วราวัฑฒิ์ ชูโต และ กิตติ กันภัย (2551). ประสิทธิภาพของเพลงชาติไทยและผลกระทบที่มีต่อชนชั้นทางสังคม. วารสารนิเทศศาสตร์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 2551. หน้า27-47.

อัจฉราพร ใครบุตร และ วิไลศักดิ์ กิ่งคำ (2559). วัจนกรรมในบทเพลงปลุกใจให้รักชาติระหว่าง พ.ศ. 2510-2550. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2559. หน้า 61-69.

Fairclough, N. 1992. Discourse and Social Change. Cambridge: Polity Press.

__________, N. (1995). Media Discourse.London: Edward Arnold.

Jorgenson, M. and L. Phillips. 2002. Discourse Analysis as Theory and Method. London: SAGE.

Hymes. Dell. (1972). Editorial Introduction to Language in Society, Language in Society, 1(1):1-14.

Machin, D. and A. Mayr. 2012.How to Do Critical Discourse Analysis.London, California. Singapore, New Delhi: SAGE. Publishing Service.

Maslow, Abraham. (1970). Motivative and Personnality. New York: Harper and row publisher.

Simpson, P. (1993). Language, Ideology and Point of View. London:Routledge.

Thomson, J.B. (1984). Studies in the Theory of Ideology. London: Polity Press.

van Dijk, T., ed. (1997). Discourse Studies: A Multidisciplinary Introduction. Vol.2, Discourse as Social Interaction. London: Sage.

van Dijk, T.A. 1995. "Discourse semantics and ideology."Discourse & Society. SAGE: 6(2): 243-289.

Wennerstrom, A. (2006). Discourse Analysis in the Language Classroom. Volume 2, Genres of Writing. Ann Arbor: The University of Michigan Press.

ราชบัณฑิตยสถาน (2554). พจนานุกรมออนไลน์ เข้าถึงจาก https://www.royin.go.th/dictionary/ เข้าถึงเมื่อ 19 ธันวาคม 2560

ประวัติโรงเรียนพิริยาลัย เข้าถึงจาก https://sites.google.com/a/piriyalai.ac.th/piriyalai/prawati-rongreiyn เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2560