ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยที่มีกรดยูริกในเลือดปกติขณะเกิดโรคเกาต์กำเริบ

Main Article Content

ปิ่นหยก ศรีศันสนีย์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบเฉียบพลันจากเกาต์โดยแพทย์ทั่วไปในเวชปฏิบัติจริง ส่วนใหญ่ อาศัยอาการปวดข้อร่วมกับการตรวจพบภาวะกรดยูริกในเลือดสูง เป็นหลัก แต่มีผู้ป่วยโรคเกาต์ส่วนหนึ่งที่ตรวจพบระดับกรดยูริกในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติขณะเกิดอาการข้ออักเสบเฉียบพลันจากเกาต์กำเริบ ทำให้แพทย์ ผู้ดูแลเกิดความไม่แน่ใจในการวินิจฉัยโรคเกาต์
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยที่มีกรดยูริกในเลือดปกติขณะเกิดโรค เกาต์กำเริบ และปัจจัยที่มีผลต่อระดับกรดยูริกในเลือดขณะเกิดการกำเริบ ของโรค
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา: ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคเกาต์ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 ธันวาคมพ.ศ. 2558 และปรึกษาอายุรแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่มด้วยปัญหาสงสัย ข้ออักเสบเฉียบพลันจากโรคเกาต์ วินิจฉัยโรคเกาต์กำเริบโดยใช้การตรวจพบ ผลึกเกลือในน้ำเจาะข้อหรืออาการทางคลินิกเข้าได้กับเกณฑ์ และได้รับการตรวจวัดระดับกรดยูริกในเลือดขณะเกิดข้ออักเสบ
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยด้วยข้ออักเสบเฉียบพลันจากโรคเกาต์รวมทั้งสิ้น 147 ราย อายุเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 65.3 (13.7) ปี มีระยะเวลาเป็นโรคเกาต์เฉลี่ย 5.5 (4.4) ปี เป็นเพศขาย ร้อยละ 80.3 พบผู้ป่วยมีระดับยูริกในเลือดอยู่ในเกณฑ์ ปกติขณะเกิดโรคเกาต์กำเริบ ร้อยละ 27.9 โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคไตเรื้อรังน้อยกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีกรดยูริกในเลือดสูงขณะเกิด เกาต์กำเริบ (p=0.049, p = 0.027 ตามลำดับ) อีกทั้งยังมีระดับกรดยูริกในเลือดก่อนเกิดเกาต์กำเริบต่ำกว่าอีกกลุ่มด้วย (p = 0.012) แต่มีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยาลดกรดยูริกมาก่อนมากกว่า (p = 0.031) ภาวะทางคลินิกที่เป็นตัว กระตุ้นให้เกิดเกาต์กำเริบของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น การกำเริบภายหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและหรือภาวะ หัวใจล้มเหลว ซึ่งพบในกลุ่มผู้ป่วยที่มีกรดยูริกในเลือดปกติขณะเกิดเกาต์ กำเริบมากกว่ากลุ่มที่มีกรดยูริกในเลือดสูง (p = 0.039) กลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับ กรดยูริกในเลือดปกติ มีค่าการทำงานของไตขณะเกิดเกาต์กำเริบ ดีกว่ากลุ่ม ผู้ป่วยที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูง (p = 0.001) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และมี ผลให้ระดับกรดยูริกในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติขณะเกิดเกาต์กำเริบ ได้แก่ การ มีโรคไตเรื้อรังระดับ 3 ขึ้นไปตั้งแต่ก่อนเกิดเกาต์กำเริบ (OR 0.858; 95%CI0.766 = 0.972) ระดับกรดยูริกในเลือดครั้งส่าสุดก่อนเกิดเกาต์กำเริบ (OR 0.997; 95%CI 0.996=0.998)โดยเฉพาะหากมีค่าสูงไม่เกิน 7 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร (OR 1.821; 95%CI 1.109-2.646) และค่าการทำงานของไต ขณะเกิดเกาต์กำเริบ (OR 0.993; 95%CI 0.984-0.999)โดยเฉพะหากมีค่า ตั้งแต่ 1.3 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป (OR 0.320; 95%CI 0.211-0.657)
สรุป: ความชุกของผู้ป่วยที่มีกรดยูริกในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติขณะเกิดเกาต์กำเริบในโรงพยาบาลสุรินทร์ เท่ากับร้อยละ 27.9 การได้รับยาลดกรดยูริกอยู่ก่อน ระดับกรดยูริกในเลือดก่อนเกิดเกาต์กำเริบ และค่าการทำงานของไตทั้งก่อน และขณะเกิดเกาต์กำเริบล้วนส่งผลต่อระดับกรดยูริกในขณะนั้น การใช้ระดับ กรดยูริกเพื่อช่วยในการวินิจฉัยข้ออักเสบจากโรคเกาต์จึงมีข้อจำกัด ควรแปลผลด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรังหรือได้รับยาลด กรดยูริกอยู่ก่อน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Rosenthal AK, Isenberg DA, Maddison PJ, Woo p, Glass D, Breedveld FC, eds. Crystal arthropathies: Gout. In: Oxford Textbook of Rheumatology. 3rd ed. London: Oxford University Press; p.1118-33.

2. Burns CM, Wortmann RL. Chapter 95: Clinical feature and Treatment of Gout. In: Kelly’s textbook of Rheuma­tology. 9th ed. Philadelphia; p.1554-75.

3. Mikuls TR, Saag KG. New insights into gout epidemiology. Curr Opin Rheu­matol. 2006 Mar;18(2):199-203.

4. Chaiamnuay p, Darmawan J, Muirden KD, Assawatanabodee p. Epidemiolo­gy of rheumatic disease in rural Thai­land: a WHO-ILAR COPCORD study. Community Oriented Programme for the Control of Rheumatic Disease. J Rheumatol. 1998 JuL;25(7):1382-7.

5. Wallace SL, Robinson H, Masi AT, Decker JL, McCarty DJ, Yu TF. Prelim­inary criteria for the classification of the acute arthritis of primary gout. Arthritis Rheum. 1977 Apr;20(3):895- 900.

6. Logan JA, Morrison E, McGill PE. Serum uric acid in acute gout. Ann Rheum Dis. 1997 Nov;56(11):696-7.

7. Schlesinger N, Norquist JM, Watson DJ. Serum urate during acute gout. J Rheumatol. 2009 Jun;36(6):1287-9.

8. Park Y-B, Park Y-S, Lee S-C, Yoon S-J, Lee S-K. Clinical analysis of gouty patients with normouricaemia at diagnosis. Ann Rheum Dis. 2003 Jan;62(1):90-2.

9. Urano พ, Yamanaka H, Tsutani H, Nakajima H, Matsuda Y, Taniguchi A, et al. The inflammatory process in the mechanism of decreased serum uric acid concentrations during acute gouty arthritis. J Rheumatol. 2002 Sep;29(9):1950-3.

10. Roch-Ramel F, Guisan B. Renal Transport of Urate in Humans. News Physiol Sci Int J Physiol Prod Jointly Int Union Physiol Sci Am Physiol Soc. 1999 Apr;14:80-4.

11. So A, Thorens B. Uric acid transport and disease. J Clin Invest. 2010 Jun;120(6):1791-9.

12. Fang J, Alderman MH. Serum uric acid and cardiovascular mortality the NHANES I epidemiologic follow-up study, 1971-1992. National Health and Nutrition Examination Survey. JAMA. 2000 May 10;283(18):2404-10.

13. Wang H, Jacobs DR, Gaffo AL, Gross MD, Goff DC, Carr JJ. Serum Urate and Incident Cardiovascular Disease: The Coronary Artery Risk Development in Young Adults (CARDIA) study. PloS One. 2015;10(9):e0138067.

14. Wu AH, Gladden JD, Ahmed M, Ahmed A, Filippatos G. Relation of serum uric acid to cardiovascular disease. Int J Cardiol. 2016 Jun 15;213:4-7.

15. Ochiai ME, Barretto ACP, Oliveira MT, Munhoz RT, Morgado PC, Ramires JAF. Uric acid renal excretion and renal insufficiency in decompensated se­vere heart failure. Eur J Heart Fail. 2005 Jun;7(4):468-74.

16. Doehner W, Jankowska EA, Springer J, Lainscak M, Anker SD. Uric acid and xanthine oxidase in heart failure - Emerging data and therapeutic impli­cations. Int J Cardiol. 2016 Jun 15;213:15-9.

17. Doehner W, Anker SD. Uric acid in chronic heart failure. Semin Nephrol. 2005 Jan;25(l):61-6.

18. N. Lawrence Edwards. Gout A. Clinical features. In: John H. Klippel, John H. Stone, Leslie J. Crofford, Patience H. White, editor. Primer on the Rheumatic disease. 13th ed. New York, USA: Springer Science + Business Media; 2008.

19. Tsutani H, Yoshio N, Ueda T. Interleu­kin 6 reduces serum urate concentra­tions. J Rheumatol. 2000 Feb;27(2):554.

20. Neogi T, Jansen TLTA, Dalbeth N, Fransen J, Schumacher HR, Berendsen D, et al. 2015 Gout classification criteria: an American College of Rheumatology/European League Against Rheumatism collaborative initiative. Ann Rheum Dis. 2015 0ct;74(10): 1789-98.