ผลลัพธ์หลังจากการเกิดกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษา

Main Article Content

เรืองเดช พิพัฒน์เยาว์กุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: กระดูกสะโพกหักเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การเจ็บป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดกระดูกสะโพกหัก ลักษณะของประชากร วิธี การรักษาอัตราการเสียชีวิตและความสามารถในการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง ภายใน 1 ปี หลังกระดูกสะโพกหักและติดตามไปเป็นเวลา 5 ปี
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง
ประชากรที่ศึกษา: ผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีกระดูกสะโพกหัก (Femoral neck fracture, Intertrochanter fracture of femur) จากอุบัติเหตุไม่รุนแรงระหว่าง ตุลาคม พ.ศ. 2548 ถึง กันยายน พ.ศ. 2553 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2553)
วิธีการศึกษา: เก็บรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย และข้อมูลจากสำนักงานทะเบียน ราษฎร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษแบบผู้ป่วยใน เนื่องจากกระดูกสะโพกหักในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2553 จำนวน 728 ราย คิดเป็นอัตราส่วน 10.4 ต่อประชากร 100,000 คน เพศชาย 203 คน เพศหญิง 525 คนอายุเฉลี่ย 69.8 ปี ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดจำนวน371 คน รักษาโดยไม่ผ่าตัดจำนวน 357 คน อัตราเสียชีวิตหลังจากกระดูกสะโพกหักภายใน 1 ปี ร้อยละ 31.3 พบอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาโดยการไม่ผ่าตัด โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโรคร่วม (ไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซีด สมองเสื่อม) ความสามารถในการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง หรือต้องใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงในกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาโดยการไม่ผ่าตัด ร้อยละ 37.6 ในกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาโดยการผ่าตัด ร้อยละ 72.0
สรุป: การเกิดกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุทำให้มีอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำมะโนประชากร และเคหะ ปี 2543. สำมะโน 2543 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2559]. เข้าถึงได้จาก https://service.nso. go.th/nso/nsopublish/cencus/cen_ poph43.html

2. สุชีลา จันทร์วิทยานุชิต. The Challenging treatment in Osteoporosis Patient. การประชุมวิชาการ สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ.2554. 19-21 มีนาคม พ.ศ. 2554. ณ โรงแรมแกรนด์- ไฮแอทรีเจนซี่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. กรุงเทพฯ : สมาคมรูมาติสซั่มแห่ง ประเทศไทย; 2554.

3. Davidson CW, Merrilees MJ, Wilkinson TJ. Hip fracture mortality and morbidity can we do better? NZ Med J 2001;114:329-32.

4. Myers AH, Robinson EG, Van Natta ML. Hip fracture among the elderly/; factors associated with in-hospital mortality. Am J Epidemiol 1991;134:1128-37.

5. Lyritis GP. Epidemiology of hip fracture: the MEDOS study. Mediterra¬nean osteoporosis study. Osteoporos Int 1995; 6 (suupl 3):11-5.

6. Cooper C, Campion G,Melton LJ III. Hip fractures in the elderly: a world-wide projection. Osteoporos Int 1992;2:285-9.

7. Gullberg B, Johnell O, Kanis JA. Worldwide projections for hip fracture. Osteoporos Int 1997;7:407-13.

8. Suriyawongpaisal P, Pimjai S, Wichien L. A multicenter study on hip fractures in Thailand. J Med Assoc Thai 1994;77:488-95.

9. Khunkitti N, Aswaboonyalert N, Song-paranasilp T, Pipithkul S. Fracture threshold in the Thai elderly and bone mineral density evaluation. J Bone Miner Metab 2000;18: 96-100.

10. Rojanasthien S, Luevitoonvechkij S. Epidemiology of hip fracture in Chiang Mai. J Med Assoc Thai 2005;88(Suppl5):S105-9.

11. Chariyalertsak S, Suriyawongpaisal P, Thakkinstain A. Mortality after hip fractures in Thailand. International Orthopaedics 2001;25:294-7.

12. Jipunkul S, Yuktanandana P. Consequences of hip fracture among Thai women aged 50 years and over: A prospective study. J Med Assoc Thai 2000; 83:1447-51.

13. Jongjit J, Komsopapong L, Songjak- kaew P, Kongsakon R. Health-related quality of life after hip fracture in the elderly community-dwelling. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2003;34:670-4.

14. Keene GS, Parker MJ, Pryor GA. Mortality and morbidity after hip fractures. BMJ 1993;307:1248-50.

15. Raaymaker EL. The Non-operative Treatment of impacted femoral neck fractures. Injury 2002;33:C8-14.

16. Center JR, Nguyen TV, Schneider D, Sambrook PN, Eisman JA. Mortality after all major types of osteoporotic fracture in men and women: an observational study. Lancet 1999 Mar;353:878-82.

17. Holmberg S, Conradi P, Kalen R, Thorngren KG. Mortality after cervical hip fracture: 3002 patients followed for 6 years. Acta Orthopaedica 1986;57:8-11.