พัฒนาการตรวจวินิจฉัย α-thalassemia1 ด้วยเทคนิค Multiplex gap PCR

Main Article Content

วิจิตร เสาวรัจ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางเรื้อรังที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและเป็นโรคที่มีความชุกสูง ที่จังหวัดสุรินทร์ ดังนั้น กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ ได้พัฒนาศักยภาพบริการตรวจ วิเคราะห์ทางอณูโมเลกุล เพื่อให้บริการตรวจวิเคราะห์ยืนยันโรคธาลัสซีเมียในผู้ป่วยโรง พยาบาลสุรินทร์และรับตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ต่อจากเครือข่ายห้องปฏิบัติการ
วัตถุประสงค์: ประเมินการตรวจวิเคราะห์ gif.latex?\alpha-thalassemia1 (SEA-deletion, THAI-deletion) ด้วย วิธี Multiplex gap-PCR ที่พัฒนาขึ้น เพื่อความน่าเชื่อถือของผลตรวจวิเคราะห์ในการให้บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
วิธีการศึกษา: ตัวอย่างโลหิตที่ได้รับการตรวจหาชนิดฮีโมโกลบิน จำนวน 103 ราย น่ามาตรวจหา gif.latex?\alpha-thalassemia1 (SEA-deletion, THAI-deletion) ด้วยวิธี Multiplex gap-PCR ที่พัฒนาขึ้น
ผลการศึกษา: ผลตรวจตัวอย่างโลหิต จำนวน 103 ราย พบว่า กลุ่มผู้ป่วยโรค gif.latex?\alpha-thalassemia1 8 ราย กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มียืน gif.latex?\alpha-thalassemia ร่วมอยู่ 13 ราย และกลุ่มผู้ป่วยที่อาจจะมียีน gif.latex?\alpha-thalassemia ร่วมอยู่ 82 ราย ให้ผลบวก 8, 0, 6 ราย ตามลำดับ
สรุปผลการศึกษา: วิธีตรวจวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้น ให้ผลประเมินความไวและความจำเพาะของการทดสอบ ร้อยละ 100, ร้อยละ 100 ตามลำดับ และตรวจพบยืนในกลุ่มที่อาจจะมียืน gif.latex?\alpha-thalassemia ร่วมอยู่ ร้อยละ 7.3 ดังนั้นผลการตรวจวิเคราะห์นี้ มีความน่าเชื่อถือสามารถให้บริการตรวจวิเคราะห์ได้ และเพิ่มบริการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียทางห้อง ปฏิบัติการทางอณูโมเลกุลของโรงพยาบาลสุรินทร์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. คณะกรรมการจัดทำคู่มือการตรวจวิเคราะห์ชนิด และปริมาณฮีโมโกลบิน. คู่มือการตรวจวิเคราะห์ ชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน. นนทบุรี:ศูนย์วิจัยทางคลินิก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2553.

2. คณะกรรมการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานการตรวจ วินิจฉัยโรคธาลัสชีเมีย และฮีโมโกลบินผิดปกติ ทางห้องปฏิบัติการ.คู่มือทางห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยธาสัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ. นนทบุรี : ศูนย์วิจัยทางคลินิก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2552.

3. Sae-ung N, Fucharoen G, Sanchaisuriya K, Fucharoen S. α°-Thalassemia and Related Disorders in Northeast Thailand : Molecular and Hematological Characterization Acta Haematol 2007;117:78-82.

4. กิตติ ต่อจรัส. Molecular Basis of Thalassemia and Hemoglobin Disorder. เวชแพทย์ทหารบก 2556 ; 1: 35-40.
5. Harteveld CF, Higgs DR. α-thalassaemia. OJRD 2010;5:13.

6. จริยา ชมวารินทร์. Theories and Principles of PCR .ใน : PCR Technology and Applica¬tions. ขอนแก่น : ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2540; หน้า 3-15.