ภาระการดูแลผู้ป่วยจิตเภทและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

Main Article Content

สิรินรัตน์ แสงศิริรักษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาระการดูแลผู้ป่วยจิตเภทและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มศึกษา: ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยที่ผู้ดูแลต้องไม่ได้รับค่าจ้างในการดูแล และต้องอยู่กับผู้ป่วย อย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อวัน ในระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน
ระยะเวลาที่ศึกษา: 10 เมษายน พ.ศ. 2559 ถึง 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบสำรวจภาคตัดขวาง (descriptive cross-sectional study)ใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลและผู้ป่วย แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยฉบับภาษาไทย (Zarit Burden Interview Thai version) แบบประเมิน Global
assessment of Functioning (GAF)
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท 44 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 84.1 ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นบิดามารดาของผู้ป่วย ร้อยละ 65.9 รองลงมา คือ คู่สมรส ร้อยละ 11.4 ระยะเวลาการดูแลผู้ป่วยเฉลี่ยคือ 10ปี ผู้ดูแลรู้สึกเป็นภาระการร้อยละ 54.5 แบ่งเป็นภาระการดูแลมากร้อยละ 11.4 ภาระการดูแลปานกลางร้อยละ22.7ภาระการดูแลน้อยร้อยละ20.5 กลุ่มศึกษาเพศหญิงมีภาระการดูแล ร้อยละ 48.6 มากกว่ากลุ่มศึกษาเพศชาย ร้อยละ 28.5 (p=0.737) ผู้ดูแลที่มีรายได้น้อยจะเกิดภาระการดูแลมาก (p=0.049) การที่ผู้ป่วยจิตเภทดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดภาระการดูแล ร้อยละ 80 ซึ่งมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ดื่มเลย (ภาระการดูแลร้อยละ 38.5) (p=0.001) ผู้ป่วยจิตเภทที่มีคะแนน GAF น้อยกว่า 20 ทำให้เกิดภาระการดูแลร้อยละ 100 ซึ่งมากกว่ากลุ่ม GAF 21-40 (ภาระ การดูแล ร้อยละ 52.1 และGAF มากกว่า 40 (ภาระการดูแล ร้อยละ 52.6) ผู้ป่วย จิตเภทที่มีอาการรุนแรง ก้าวร้าว การทำหน้าที่บกพร่อง เป็นภาระการดูแลมากกว่า ผู้ป่วยที่อาการสงบ หรือทำหน้าที่ไม่บกพร่องมาก (p=0.004)
สรุป: ผู้ดูแลส่วนใหญ่ร้อยละ 54.5 รู้สึกเป็นภาระการดูแล โดยแบ่งเป็นภาระการดูแลมาก ร้อยละ 11.4 ภาระการดูแลปานกลางร้อยละ 22.7 ภาระการดูแลน้อยร้อยละ 20.5 ผู้ป่วยจิตเภทที่มี GAF น้อยกว่า 20 คะแนนเป็นภาระการดูแลมากกว่าผู้ป่วยที่ GAF มากกว่า 20 (p=0.004) การดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ป่วยทำให้มีภาระการดูแลมากกว่า (p=0.001) ว่าผู้ดูแลที่มีรายได้น้อยจะเกิดภาระการดูแลที่มาก (p=0.049)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Rossler W, Salize HJ, Van Os J, Riecher Rossler A. Size of burden of schizophrenia and psychotic disorders. Eur Neuropsy- chopharmacol 2005; 15:4:399-409.

2. สุพัฒนา เดชาชาติวงศ์ ณ อยุธยา. จิตเภท. [ออนไลน์]. 2549 [สืบค้น 18 พฤศจิกายน 2559] ; เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.dmh.go.th/report/dmh/service/report.asp.

3. Yip KS. Have psychiatric services in Hong Kong been impacted by the deinstitution­alization and community care movements. Adm Policy Ment Health 2000;27:443-9.

4. Boye B, Bentsen H, Ulstein I, Notland TH, Lersbryggen A, Lingjaerde O, et al. Relatives’ distress and patients’ symptoms and behaviours: a prospective study of patients with schizophrenia and their relatives. Acta Psychiatr Scand 2001;104:42-50.

5. Wai-chi Chan S. Global perspective of burden of family caregivers for personswith schizophrenia. Arch Psychiatr Nurs 2011; 25:339-49.

6. Weisman, A. Integrating culturally based approaches with existing interventions for hispanic/latino families coping with schizophrenia. Psychotherapy: Theory, Research, Practice, Training 2005:42:2:178-97.

7. Caqueo-Urizar A, Miranda Castillo C, Lemos Giraldez S, Lee Maturana SL, Ramirez Perez M, Mascayano Tapia F. An updated review on burden on caregivers of schizophrenia patients. Psicothema 2014;26:235-43

8. ชนัญชิดาดุษฎี ทูลคิริ, รัชนี สรรเสริญ, วรรณรัตน์ ลาวัง. การพัฒนาแบบวัดภาระในการดูแลของ ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง, การพยาบาลและการศึกษา 2554;4:62-75.

9. Shamsaei S, Cheraghi F, Bashirian S, Burden on Family Caregivers Caring for Patients with Schizophrenia, Iran J Psychiatry 2015;10:4:239-45

10. DiSha Geriani et al. Journal of Clinical and Diagnostic Research. 2015 Mar, Vol-9(3): VC01-VC04)

11. Grandon P, Jenaro C, Lemos S. Primary caregivers of schizophrenia outpatients: Burden and predictor variables. Psychiatry Res. 2008;158:3:335-43.

12. Gutierrez-Maldonado J, Caqueo-Urizar A, Kavanagh DJ. Burden of care and general health in families of patients with schizo­phrenia. Soc Psychiatry Psychiatr Epide­miol. 2005;40:11:899-904.