ไข้เลือดออกที่ได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม (2556-2558)

Main Article Content

ปัจฉิมา หลอมประโคน

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก และเป็นสาเหตุสำคัญของการ ป่วยและการตายในเด็กหลายประเทศของทวีปเอเชีย และปัจจุบันยังพบว่าโรคนี้เป็น ปัญหาสำคัญของประเทศไทย สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตพบว่าเกิดจากภาวะ น้ำเกิน ร่วมกับมีภาวะช็อกนานหรือมีเลือดออก การวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็วและ เฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะช็อกมีส่วนสำคัญมากที่จะลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงตาม มาในภายหลังได้ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาเรื่องนี้ เพื่อจะได้น่าข้อมูลที่ได้มาใช้ ในการเฝ้าระวังและพัฒนาการดูแลผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการให้สารน้ำ ภาวะแทรกซ้อนที่พบ และผลลัพธ์ของการรักษา ในผู้ป่วยเด็ก ที่เป็นไข้เลือดออกและไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อกที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมาร เวชกรรม โรงพยาบาลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
รูปแบบการศึกษา: วิธีการศึกษาแบบพรรณนาย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วย ในผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่า 15 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกและไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อกที่รับไว้รักษาในหอ ผู้ป่วยกุมารเวชกรรมของโรงพยาบาลประโคนชัย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 โดยศึกษาอาการ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การให้สารน้ำ ผลลัพธ์ของการรักษา ภาวะแทรกซ้อนที่พบ และการรายงานควบคุมโรค
ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยในโรคไข้เลือดออกและไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อกในเด็กของอำเภอ
ประโคนชัย ปีพ.ศ. 2556-2558 มีจำนวน 215 ราย สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 1:1.3ในผู้ป่วยไข้เลือดออกกลุ่มอายุ 10-14ปีพบมากที่สุดถึงร้อยละ56.9รองลงมา คือกลุ่มอายุ 5-9 ปี ร้อยละ 27.9 ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกมีจำนวน 18 ราย คิดเป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.7 ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก คือ ภาวะน้ำเกิน จำนวน 12 ราย รองลงมาคือตับอักเสบ 8 รายการรายงานเพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออก ในขณะรับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน พบร้อยละ 46 และรายงานโรคเฉลี่ยภายใน 1.24+1.57 วันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
สรุปผลการศึกษา: แพทย์ควรวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกให้รวดเร็ว ให้สารน้ำอย่างเหมาะสมตามแนวทางการ ให้สารน้ำในผู้ป่วยไข้เลือดออก เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน เซ่น การเกิดภาวะ น้ำเกิน และลดอัตราการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลบุรีรัมย์ และเพื่อควบคุมการ แพร่กระจายของโรค ควรพัฒนาระบบการรายงานควบคุมโรคให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อมีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยหรือสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Pencharoen C, Kulwichit T, Tantavichien T, Thisyakorn U, Thisyakorn C. Dengue infection: A global concern. J Med Assoc Thai 2002; 85:S25-33.

2. Wilder-Smith A, Schwartz E. Dengue in travelers. N Engl J Med 2005;353:924-32.

3. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมวิชาชีพ. แนวทางการวินิจฉัยและการรักษาไข้เดงกีและไข้เลือดออกเดงกีในผู้ใหญ่ ปี พ.ศ. 2556. (ระบบออนไลน์). 2556 (ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2559),จาก https://www.rcpt.org/index.php/2012-10-03-16-53-39/category/6-2013-02-02-09-02-52. html?download=109%3Adengue-guide- line-rcpt-2013
4. กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2558). KPI ไข้เลือดออก. ค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2558, จาก https://www.bro.moph.go.th/html/downloads/.../kpi.../09.0.DHF-sso.docx

5. ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, สุจิตรา นิมมานนิตย์, บรรณาธิการ. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี่พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ส.พิจิตรการพิมพ์ ; 2551

6. คิรเพิณ กัลยาณรุจ. เคล็ด(ไม่)ลับไข้เลือดออก. กรุงเทพมหานคร : กรุงเทพเวชสาร; 2549

7. World Health Organization. Dengue hemorrhagic fever: Diagnosis, Treatment, Prevention and Control. (2009). ค้นเมื่อ วันที่ 22 ธันวาคม 2558, จาก https://www.who.int/tdr/publications/documents/ dengue-diagnosis.pdf 2009

8. Halliday MA, Segar WE. The Maintenance need for water in parenteral fluid therapy. Pediatrics 1957;19:5:823-32.

9. Virginia K. Assessment of Growth. Nelson Textbook of Pediatrics. Philadelphia. 18th ed, WB : Saunders ; 2007, p71.

10. Lee MS, Hwang KP, Chen TC, Lu PL, Chen TP. Clinical characteristics of dengue and dengue hemorrhagic fever in a Medical Center of Southern Taiwan during the 2002 epidemic. J Microbiollmmunol Infect 2006;39:2:121-9.

11. Me’ndez A, Gonza’lez G. Abnormal clinical manifestations of dengue hemorrhagic fever in children. Biomedica 2006;26:l:61-70.

12. Kamath SR, Ranjit S. Clinical features, complications and atypical manifestions of children with severe forms of dengue hemorrhagic fever in South India. Indian J Pediatr 2006;73:10:889-95.

13. วิชาญ กิตติประพันธ์. ผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกี ที่มีภาวะช็อกในโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก. พุทธชินราชเวชสาร 2553;27:1:67-75.

14. Siripen Kalayanarooj. Clinical manifestations and Management of Dengue/DHF/ DSS. Trap Med Health 2011;39:4: 83-7.

15. Souza LJ, Alves JG, Nogueira RM, GicovateNeto C, Bastos DA, Siqueira EW, et al. Aminotransferase changes and acute hepatitis in patients with dengue fever: analysis of 1,585 cases. Braz J infect Dis 2004;8:2:156-63.

16. Larreal Y, Valero N, Estevez J, Reyes I, Maldonado M, Espina LM, et al. Hepatic alterations in patients with Dengue. Invest Clin 2005;46:2:169-78.

17. แสงดาว มยุระสาคร, เพชรรัตน์ กิตติวัฒนาสาร. ไข้เลือดออกที่ดูแลในหอผู้ปวยวิกฤตเด็ก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ (2552-2554). กุมารเวชสาร 2555;19:1:40-8.

18. Pancharoen C, Rungsaranont A, Thisyakorn U. Hepatic dysfunction in dengue patients with various severity. J Med Assoc Thai 2002;85 Suppl1:s298-301.

19. กฤตน นาคแท้, กอปรชุษณ์ ตยัคคานนท์. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก สำหรับ ผู้ป่วยนอก ในหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาล สงขลานครินทร์. (ระบบออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2559, จาก https://medinfo2.psu.ac.th/commed/web/pdf/5/dengue.pdf