การผ่าตัดเพื่อต่อนิ้ว ระหว่างปี พ.ศ. 2548 – 2558 การศึกษาผู้ป่วยย้อนหลัง จำนวน 30 ราย

Main Article Content

วัชระ บุรพลกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ปัจจุบันแม้ว่าจะมีความก้าวหน้าของเทคนิคในการทำ replantations เพื่อต่อนิ้วให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อัตราความสำเร็จยังมีความแตกต่างกัน อีกทั้งยังไม่พบ รายงานผลการผ่าตัดต่อนิ้วในโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป ที่มีข้อจำกัดด้านทรัพยากรบุคคลและเครื่องมือต่างๆ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราความสำเร็จและปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการผ่าตัดต่อนิ้ว
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลศูนย์บุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ที่ได้รับการผ่าตัดเพื่อต่อนิ้ว แบบย้อนหลัง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2558 บันทึกข้อมูล ผู้ป่วย เพศ อายุ ลักษณะการบาดเจ็บของนิ้วที่ขาด ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด อัตรา ความสำเร็จของการผ่าตัด และผลการติดตามหลังผ่าตัด ใช้สถิติเชิงพรรณนา แสดงใน รูปแบบร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 30 ราย จำนวนนิ้วทั้งหมด 42 นิ้ว อัตราความสำเร็จของการผ่าตัดเพ้อต่อ นิ้วทั้งหมดจำนวน 23 นิ้วใน 42 นิ้ว คิดเป็นร้อยละ 54.8 ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการผ่าตัด ของลักษณะการบาดเจ็บของนิ้ว การมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ไม่สมบรูณ์ เทคนิคการผ่าตัดอื่นๆ ที่ใช้ร่วมในการประยุกต์ใช้ เส้นเลือดดำมาช่วยในการต่อเส้นเลือดของนิ้ว (p value>0.05)
สรุป: อัตราความสำเร็จของการผ่าตัดต่อนิ้วในโรงพยาบาลบุรีรัมย์เป็นร้อยละ 54.8 ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของปัจจัยต่างๆ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Thomas F, Kaplan D, Raskin B. Indications and Surgical Techniques for Digit Replantation. Bulletin. Hospital for Joint Diseaese 2001;60:179-188.

2. Waikakul S, Sakkarnkosol S, Vanadurong-wan V. Un-nanuntana A. et al. results of 1018 digital replantation in 552 patients. Injury 2000;31:33-40.

3. Saranatra Waikakul, Somjet Sakkarnkosol, Vichai Vanadurongwan, Amnuay Un-nanuntana. Results of 1018 digital replantations in 552 patients. Injury, Int. J. Care Injured 2000; 31:33-40.

4. Li J, Guo z, Zhu Q, Lei W, Han Y, Li M, Wang Z. Fingertip replantation: determi­nants of survival. Plast Reconstr Surg. 2008;122:3:833-9.

5. Sandeep J. Debastin, Kevin C. Chung. A Systematic Review of the Outcomes of Replantation of Distal Digital Amputation. Plast Reconstr Surg. 2011;128:3:723-37.

6. Barbary S, Dap F, Dautel G. Finger replantation: surgical technique and indications. Chir Main. 2013;32:6:363-72.

7. Queiroz J, Neto L, Alberto De Carli : Prognostic factors on survival rate of fingers replantation. Acta aotop Bras 2015;23:1.

8. Kankaya Y, Oruc W, Gursoy K, Ozer. Six Years’ Experience in Crush and Avulsion Type Finger Amputation with Application of Vein Graft. Journal of Reconstructive microsurgery 2014;30-A111.

9. Fufa D, Calfee R, Wall L, Zeng W, Goldfarb C. Digit Replantation: Experience of Two U.S. Academic Fevel-I Trauma centers. The Journal of Bone and Joint Surgery 2013;95:23:2127-34.

10. Dec W. A meta-analysis of success rates for digit replantation. Tech Eland Up Extrem Surg ; 2006;10:3:124-9.