พิษจากการรับประทานปลาปักเป้าน้ำจืด

Main Article Content

นิมิตร เลิศพัฒนสุวรรณ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอาการทางคลินิก ของผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจากการรับประทานปลาปักเป้าน้ำจืด
ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียน ของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ ที่ได้รับการวินิจฉัย อาหารเป็นพิษจากการรับประทานปลาปักเป้าน้ำจืด ระหว่าง มกราคม พ.ศ. 2552 ถึง มกราคม พ.ศ. 2555
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยทั้งหมด 14 ราย ส่วนมากเป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41-65 ปีเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยพบช่วงเดือนกันยายนถึงธันวาคม ผู้ป่วย 11 ราย เกิดอาการ ผิดปกติของระบบประสาทภายใน 6 ชั่วโมงหลังรับประทานปลาปักเป้า ทั้ง 14 ราย เกิด อาการชาทั่วไปทั้งร่างกาย 13 ราย มีอาการชารอบปาก 10 ราย มีอาการอ่อนแรงของ แขนขา ผู้ป่วย 7 ราย (มีกล้ามเนื้อช่วยหายใจเป็นอัมพาตจนไม่สามารถหายใจเองได้ ต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจในการรักษาพบว่า 5 ราย) ของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจสามารถหยุดใช้เครื่องช่วยหายใจได้ภายใน 72 ชั่วโมง และ 2 ราย เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนในปอด ได้รับยาปฏิชีวนะรักษาจนหายดี ผู้ป่วยทั้ง 14 ราย ได้รับการดูแลรักษาตาม อาการ มีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย จากภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลวตั้งแต่แรกรับ ส่วนผู้ป่วยอีก 7 ราย ที่ไม่พบการหายใจล้มเหลว อาการต่างๆหายเป็นปกติภายหลังรักษาตามอาการ ในโรงพยาบาล 1-2 วัน
สรุป: อาหารเป็นพิษจากการรับประทานปลาปักเป้าน้ำจืด ยังพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย โดยผู้ป่วยแสดงอาการผิดปกติของทั้งระบบประสาทสั่งการและ ประสาทรับความรู้สึก จากพิษ Paralytic shellfish poisons ซึ่งไม่ใช่ Tetrodotoxin เช่นที่พบในปลาปักเป้าทะเล แต่กลไกการเกิดพิษต่อระบบประสาทนั้นจะเหมือนกัน ในปัจจุบันยังไม่มียาต้านพิษจำเพาะ (antidote) การรักษาตามอาการจนกระทั่งพิษ สลายไป ผู้ป่วยจะดีขึ้นภายใน 24-48 ชั่วโมง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. www.panyathai.or.th/wiki/index.php/พิษจากปลาปักเป้า, 18 ตุลาคม 2007.

2. Noguchi T, Ebesu JSM. Puffer poisoning: epidemiology and treatment. J Toxicol.-toxin Reviews 2001;20:1-10.

3. Noguchi T, Arakawa O. Tetrodotoxin- distribution and accumulation in aquatic organisms, and cases of human intoxica­tion. Marine drugs 2008;6:220-42.

4. นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล. พิษจากปลาปักเป้า: มหันตภัยใกล้ตัวในอาหาร .วารสารคลินิก 2550;275.

5. ธีรยุทธ สุขมี. อาหารเป็นพิษจากการรับประทาน ปลาปักเป้านํ้าจืด. รายงานการเฝ็าระวังทาง ระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์ 2551 ; 39:22:377-80.

6. Noguchi T, Jeon JK, Arakawa O, Sugita H, Deguchi Y, Shida Y, ed al. Occurrence of tetrodotoxin in Vibrio sp. Isolated from intestines of xanthid crab, Atergatis floridus. 1986;99:311-4.

7. Hashimoto K, Noguchi T, Watabe S. New aspect of tetrodotoxin. Microbial Toxins in Foods and Feeds AE, Pohland et al. (Eds.), Plenum press, New York, 1990:159 -72.

8. Narita El, Matsubara S, Miwa N, Akahane S, Murakami M, Goto T, ed al. Vibrio alginolyticus, a TEX- producing bacterium isolated from the starfish Astropecten Polyacanthus. Bulletin of Japanese Society of Scientific Fisheries 1987;47:935-41.

9. Simidu U, Noguchi T, Elwang DF, Shida Y, Elashimoto K. Marine bacteria which produce tetrodotoxin. Applied Environ­mental Microbiology 1987;53:1714-5.

10. Arakawa O, Elwang D, Taniyama S, Taka- tani T. Toxins of Pufferfish That Cause Eluman Intoxications. Coastal Environ­mental and Ecosystem Issues of the East China Sea 2010:227-44.

11. ธารา ตริตระการ, ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี. พิษปลาปักเป้า . แพทยสภาสาร 2524;10:6-10.

12. Kungsuwan A, Arakawa O, Promdet M, Onoue Y. Occurrence of paralytic shell­fish poisons in Thai Freshwater puffer. Toxicon 1997;35:1341-6.

13. Deed JR, Landsberg JH, Etheridge SM, Pitcher GC, Longan SW. Non-traditional vectors for paralytic shellfish poisoning. Marine Drugs . 2008;6:308-48.

14. Narahashi T. Phamacology of tetrodotox­in. J Toxicol Toxin Reviews 2001;20:67-84.

15. Oguray Y. Fuga (Puffer fish) poisoning and pharmacology of Crystalline tetrodotox­in in poisoning Neuropoison. Plenum Press, New York ; 1971:139.

16. Ratanamaneechat S. Puffer fish Poisoning. Siriraj EHospital Gazette 1981;33:227-30.