อัตราตายของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะรุนแรง

Main Article Content

อัศวิน รุจิศิรศานต์กุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การบาดเจ็บศีรษะที่รุนแรงในประเทศไทยมีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 29 และผู้ป่วย จำนวนมากพิการตลอดชีวิตโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์เป็นโรงพยาบาลที่รับผู้ป่วย บาดเจ็บศีรษะรุนแรงจากโรงพยาบาลภายในจังหวัดและจากทุกจังหวัดที่อยู่ข้างเคียง รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาวและกัมพูซา เนื่องจากจังหวัดข้างเคียงยังไม่มีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญหรือมีแต่ไม่เพียงพอที่จะดูแลผู้ป่วย ซึ่งการส่งตัวผู้ป่วยที่ใช้เวลานานขึ้นอาจ ส่งผลต่อการรักษา จึงนำมาสู่การศึกษาอัตราตายของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะชนิดรุนแรง ที่ถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และนอกเขตจังหวัดอุบลราชธานี
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอัตราตายของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะชนิดรุนแรง ที่ถูกส่งตัวมาจาก โรงพยาบาลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และนอกเขตจังหวัดอุบลราชธานี
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาแบบ retrospective descriptive study
วิธีการศึกษา: โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนย้อนหลังและภาพ Computed Tomography of brain จากฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ชองผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ บาดเจ็บศีรษะรุนแรงจำนวน 1,108 ราย ที่ถูกส่งตัวมาที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557- 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ผลการศึกษา: จากการศึกษาผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะชนิดรุนแรง จำนวน 1,108 ราย พบว่า ผู้ป่วยส่วน ใหญ่เป็นผู้ชาย ร้อยละ 80.1 สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ร้อยละ 82.2 ผู้ป่วยถูกส่งตัวจากโรงพยาบาลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี 502 ราย ร้อยละ 45.3 ส่งตัวมาจากจังหวัดข้างเคียง 606 ราย ร้อยละ 54.7 เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ ส่งตัวผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ใช้เวลาเฉลี่ย 4.5 ชั่วโมงเทียบกับผู้ป่วยนอกเขตจังหวัดอุบลราชธานี ใช้เวลา 7.4 ชั่วโมง ซึ่งโรงพยาบาลนอกเขตใช้เวลา ส่งตัวผู้ป่วยมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-values=0.03) อัตราตายของผู้ป่วย บาดเจ็บศีรษะชนิดรุนแรงที่ส่งตัวมาจากโรงพยาบาลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี เทียบกับผู้ป่วยที่ถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลนอกเขตจังหวัดอุบลราชธานี คือ ร้อยละ 19.1 และร้อยละ 36.8 ตามสำดับ (p-values=0.01) พบว่าอัตราตายของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: อัตราตายของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะชนิดรุนแรง ที่ส่งตัวมาจากโรงพยาบาลนอกเขตจังหวัด อุบลราชธานี มีอัตราตายสูงกว่าผู้ป่วยที่ถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลในเขตจังหวัด อุบลราชธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. WHO. World report on road traffic injury prevention. [อินเทอร์เน็ต]. WHO. [อ้างถึง 15 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้ที่ URL: https://www. who.int/violence_injury_prevention/ publications/road_traffic/world_report/ en/

2. อรพิน ทรัพย์ล้น, อารี สุทธิอาจ, ชูจิตร นาชีวะ. สถานการณ์การตายของประชาชนไทย ปี 2548. [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 15 ตุลาคม 2558]. เข้า ถึง'ได้'ที่: URL:https://bps. ops. moph.go.th/ PPD/index.html

3. คดีอุบัติเหตุการจราจรทางบกและมูลค่าความเสียหายทั่วประเทศ รายเดือน ปี พ.ศ. 25412557 ณ เดือน กรกฎาคม สำนักงานคณะ กรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.[อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 15 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้ที URL:https://www.m-society.go. th/ewt_news.php?nid=12290.

4. พิมพ์ภา เตชะกมลสุข, อนงค์ แสงจันทร์ทิพย์, เพ็ญศรี จิตรนำทรัพย์, กาญจนีย์ ดำนาคแก้ว. การเฝ้าระวังการบาดเจ็บรุนแรงระดับชาติ สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 15 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้ที URL: https://www.google.co.th/ url?sa=t&rct=j&q = &esrc = s& - source=web&cd=4&ved=0CDIQFjADa- hUKEwiH-o_ggcTIAhVDH4KHWxC- CyQ&url=https%3A%2F%2Fwww.boe. moph.go.th%2FAnnual%2F Annu- al%25202552%2FAESR52_Part1%2FB_ Partl_52%2F5352_NationallnjurySurveillance.doc&usg =AFQjCNEklb6zSbru2ULBZqiVQEt08eS2Q.

5. Ratanalert S, Kornsilp T, Chintragool- pradub N, Kongchoochouy S. The impacts and outcomes of implementing head injury guidelines: clinical experience in Thailand. Emerg Med J EMJ 2007;24:l:25-30.

6. จำนวนสถานบริการสาธารณสุข เขตบริการสุขภาพที่ 10 - ค้นหาด้วย Google [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 15 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้ที่ URL: https://www.web.spbketlO.com/index.php.

7. Tony Kirby, USA reviews motorcycle safety laws as crash deaths increase: Lancet, The, 2013-04-06,Volume 381, Issue 9873,1171-1172.

8. Lawrence J. Cook, Ph.D., Tim Kerns, M.S., Cindy Burch, M.P.H., Andrea Thomas, M.S., Emily Bell,M.S. Motorcycle Helmet Use and Head and Facial Injuries :U.S. Department of transportation National Highway Traffic Safety Administration, October 2009 ค้นหาด้วย Google [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 15 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้ที่ :URL:https://www-nrd.nhtsa.dot. gov/Pubs/811208.pdf.

9. Wen-Ta Chiu, M.D., Ph.D., Chia-Ying Kuo, MPH.,Ching-Chang Hung, M.D., Marcelo Chen, BA. The Effect of the Taiwan Motorcycle Helmet Use Law on Head Injuries. American journal of Public Health, 2000;90:793-796.

10. Martinus Richter, M.D., DietmarOtte, MSc.,Uwe Lehmann, M.D., Bryan Chin, Ph.D., Erich Schuller, DSc., David Doyle, M.D. et al. Head injury mechanism in helmet-protected motorcyclists: Prospective multicenter study. The journal of Trauma, 2001;51:949-958.

11. B.M.W.Zulu, T.V. Mulaudzi, T.E. Madiba, D.J.J. Muckart. Outcome of head injuries in general surgical units with an off-site neurosurgical service. Injury, 2007-05-01, volume 38, Issue 5,576-583.

12. ArashFarahvar, M.D.,Ph.D., Linda M. Gerber, Ph.D., Ya-Lin Chiu, M.S., Nancy Carney,Ph.D., Roger Hartl, M.D., JamshidGha- jar, M.D.,Ph.D. Increased mortality in patients with severe traumatic brain injury treated without intracranial pressure monitoring. J Neurosurg, 2012-07-17.