ผลการใช้แผนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการผ่าตัด

Main Article Content

จิตรา สุขผ่องศรี

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขและเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจ การปฏิบัติตามรูปแบบการดูแลที่ได้มาตรฐาน โดยทีมสหสาขาวิชาชีพและผู้ดูแลผู้ป่วยมีส่วนร่วมดูแลตามแผนการดูแลจะทำให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยได้ครบวงจรและมีประสิทธิภาพโดยมีการติดตาม และประเมินอาการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านได้ถูกต้อง เหมาะสมไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อน จำนวนวันนอนโรงพยาบาล ค่าใช้จ่าย ความสามารถ การดูแลและความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วย ก่อนและหลังใช้แผนการดูแลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการผ่าตัด
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experiment research) กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการผ่าตัดที่เข้ารักษาตัวในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง ที่มี Glasgow Coma Scale (GCS) มากกว่าหรือเท่ากับ 8 คะแนน อายุมากกว่าหรือ เท่ากับ 15 ปี ไม่มีโรคเรื้อรังอื่นร่วมด้วย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ ที่กำหนด ก่อนใช้แผนการดูแล 30 ราย และหลงใช้แผนการดูแล 30 รายโดยเก็บข้อมูลกลุ่มก่อนใช้แผนการดูแลตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2555 และกลุ่มหลังใช้แผนการดูแล ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติพรรณนาใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบ การเกิดภาวะแทรกซ้อน จำนวนวันนอนโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการ นอนโรงพยาบาลความสามารถการดูแล และ ความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยระหว่าง สองกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test และ Chi-square test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยหลังการใช้แผนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการผ่าตัด มีค่าเฉลี่ย จำนวนวันนอนโรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล น้อยกว่ากลุ่มก่อนใช้แผนการดูแล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และค่าเฉลี่ยความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วย และความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วย กลุ่มหลังใช้แผนการดูแล สูงกว่ากลุ่มก่อนการใช้แผนการดูแล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)
สรุป: การใช้แผนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการผ่าตัดจะช่วยให้คุณภาพของการดูแลรักษาผู้ป่วยดีขึ้นโดยช่วยลดภาวะแทรกซ้อน จำนวนวันนอนโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและผู้ดูแลผู้ป่วยมีส่วนร่วมมีความสามารถดูแลผู้ป่วย ได้อย่างต่อเนื่องถึงที่บ้าน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานอัตราผู้ป่วย ตามสาเหตุ การตาย. สืบค้น สิงหาคม 4,2555 จาก http HYPERLINK "https://www.ana/" HYPERLINK "https://www.ana/" HYPERLINK "https://www.ana"//www.anamai.moph.go.th 2550.

2. สถิติตัวชี้วัดหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลสุรินทร์. สถิติตัวชี้วัดทางคลินิก เฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง ; 2552-2554. เอกสารอัดสำเนา.

3. นิพนธ์ พวงวารินทร์. Epidemiology of stroke. ฉบับเรียงครั้งที, 2. กรุงเทพ ๆ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2544: หน้า 1-37.

4. สมาน ตั้งอรุณศิลป์ และคณะ. เอกสารประกอบคำบรรยาย. แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองแตก. สมาคมประสาท ศัลยศาสตร์แห่งประเทศไทย สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สถาบันประสาทวิทยา; 2552.

5. Lewis SM, Collier IC. Medical-Surgical nursing Assessment and mangement of clinical problems.2nd ed. New York: McGraw-Hill Books ;1987.

6. Frizzell JP. Acute Stroke:Pathophysio logy,diagnosis, and treatment. AACN Clinical Issues 2005;16:4:421-40.

7. บุปผา ศุภนันทนานนท์. เอกสารประกอบ คำบรรยาย การอบรมการดูแลผู้ป่วยผ่าตัด สมองสำหรับรุ่น 30. สถาบันประสาทวิทยา; 2553.

8. กิ่งแก้ว ปาจรีย์. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพๆ : งานตำราวารสารและสิ่งพิมพ์สถานเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550:หน้า 1-6.

9. เพชรา พรหมจารย์. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก ที่ได้รับการผ่าตัดโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ งานศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2552.

10. จารึก ธานีรัตน์. ผลของการวางแผนจำหน่ายต่อความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2545.