การพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยระยะยาวและผู้ป่วยระยะสุดท้าย

Main Article Content

ทอง บุญยศ

บทคัดย่อ

บทนำ: ผู้ป่วยระยะยาวและผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงสูง การจัดบริการสุขภาพแก่ผู้ป่วยทั้งสองประเภทนี้จำเป็นต้องมีการจัดบริการที่เชื่อมโยงกันในหน่วยบริการทุกระดับ จนถึงครอบครัวและชุมชนเมื่อผู้ป่วยได้รับการจำหน่ายให้กลับบ้าน ผู้ดูแลผู้ป่วยเป็นผู้ที่ดูแล ผู้ป่วยที่พักรักษาตัวอยู่บ้าน เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว จึงพัฒนาโปรแกรม บนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้เพื่อเป็นทางออกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยเพื่อใช้ในการดูแลผู้ป่วยระยะยาวและการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
วิธีการศึกษา: ทำการวิเคราะห์กลุ่มผู้ใช้งาน ความต้องการของโปรแกรมทางเทคนิคและการใช้งานเพื่อ การดูแลผู้ป่วยระยะยาวและระยะสุดท้าย แล้วทำการพัฒนาโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการ iOS และระบบปฏิบัติการ Android จากนั้นทำการประเมินความเข้าใจได้และความยากง่าย ในการใช้งานกับผู้ใช้งานทั้งสองกลุ่ม
ผลการพัฒนา: พัฒนาโปรแกรมสำหรับผู้ใช้งาน 2 กลุ่ม คือ ฝั่งผู้ดูแลผู้ป่วย (Caregiver) โปรแกรมสามารถ รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยประจำวัน แจ้งเหตุฉุกเฉิน ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยทั้งสองประเภท พูดคุย ปรึกษา ให้กำลังใจ และระบบแจ้งเตือนการรายงาน ฝั่งเจ้าหน้าที่/แพทย์/ผู้เชี่ยวชาญ โปรแกรมสามารถรับรายงานสถานการณ์ผู้ป่วยที่เข้ามา รายงานการแจ้งเหตุฉุกเฉิน พูดคุย ปรึกษา ให้กำลังใจ ระบบแจ้งเตือน และข้อมูลผู้ป่วยในการดูแล โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยโดยการล็อกอินด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านทั้งสองฝั่ง ผลการประเมินในกลุ่มเจ้าหน้าที่ ตอบดีและดีมากเฉลี่ยร้อยละ78.2 ส่วนกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยตอบดีและดีมากร้อยละ 76.7
สรุป: โปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยในการดูแลผู้ป่วยระยะยาวและผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ได้รับการพัฒนา ทำให้ผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถใช้ในการดูแลผู้ป่วยระยะยาวและ ระยะสุดท้ายได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. กนิษฐา บุญธรรมเจริญ, คิริพันธุ สาสัตย์. ระบบการดูแลระยะยาว: การวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อเสนอแนะเชิงนโยบาย. วารสารการพยาบาล 2551:3:385-99.

2. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. นนทบุรี : กรมการแพทย์; 2557.

3. วารุณี มีเจริญ. ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง: การปรับตัวต่อบทบาทและการส่งเสริมคุณภาพชีวิต. วารสารพยาบาล 2557;9:10-22

4. พนิดา จริตรมย์, กุลธิดา พานิชกุล. ความต้องการสนับสนุนของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขณะพักรักษาตัวที่บ้าน. การประชุมวิชาการระดับชาติเรื่อง “บูรณาการแห่งวิธีวิทยา: สื่อสังคมและการจัดการ” จัดโดย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาสื่อและการสื่อสารอาเซียน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แอนด์สปา; 22 มีนาคม 2556; ณ โรงแรมโนโวเทลหัวหินชะอำ บีช รีสอร์ท ชลบุรี; 2556.

5. สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย). DAAT เผยตัวเลขผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วไทยของ ไตรมาส 2 ปี 2557 [ออนไลน์]. 2557. [สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2558],เข้าถึงได้จาก: URL:https://www.marketingoops.com/ reports/metrix/daat-mobile-thailand- n umbers/.

6. อินทัช พงษ์เกษม. ฟันธง 8 เทรนด์ Smartphone ปี 2558. What PHONE 2558:13:132-133.

7. @tuirung. Android และ iOS ครองตลาด สมาร์ทโฟนรวมมากกว่าร้อยละ 95 แล้ว [ออนไลน์].Thumbsup.2557.[ สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2558]. เข้าถึงได้จาก:URL:https://thumbsup.in.th/2014/02/android-and- ios-made-up-for-957-of-worldwide- smartphone-shipments-in-2013/.

8. สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. ทีมหมอครอบครัว. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2557.