ระดับน้ำตาลสะสมของผู้ป่วยเบาหวานและการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือโรคร่วมในพื้นที่อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

อัจฉรา ร้อยศรี

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบมากขึ้นในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบาย ในการค้นหาผู้ป่วยใหม่ การเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยพบวาระดับน้ำตาล สะสม (HbAlC) สามารถบ่งถึงการควบคุมน้ำตาลของผู้ป่วยได้ดีกว่าระดับน้ำตาล หลังอดอาหาร 6-10 ชั่วโมง หากระดับน้ำตาลสะสมมีค่ามากกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ จะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากกว่ากลุ่มที่มีระดับน้ำตาลสะสมต่ำกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ และมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนสูงขึ้นหากระดับน้ำตาลสะสมมากกว่า 9 เปอร์เซ็นต์ จากการรายงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ในปี พ.ศ. 2555 พบว่า มีผู้ป่วยที่ระดับ น้ำตาลสะสมต่ำกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ 38.4 โดยมีภาวะแทรกซ้อน คือ เบาหวานขึ้นจอประสาทตาร้อยละ 3.7 ภาวะแทรกซ้อนที่ไตคิดเป็น ร้อยละ 7.7 ในการศึกษาครั้งนี้จึงต้องการศึกษาถึงความสามารถในการควบคุมน้ำตาล จากค่า น้ำตาลสะสม รวมถึงความสัมพันธ์ของระดับน้ำตาลสะสมกับการเกิดภาวะ แทรกซ้อน หรือโรคร่วมของผู้ป่วยเบาหวานที่ทางโรงพยาบาลลำดวนรับผิดชอบ
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลย้อนหลังในระบบฐานข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 มีเกณฑ์คัดเข้าคือมีข้อมูล ด้าน อายุ เพศ ระดับน้ำตาลสะสม ภาวะแทรกซ้อนหรือโรคร่วมที่ให้การวินิจฉัยโดยแพทย์ ณ วันที่ บันทึกการตรวจระดับน้ำตาลสะสม ได้ครบทุกตัวแปร เกณฑ์คัดออกคือผู้ป่วยที่ เสียชีวิต สถิติที่ใช้ในการศึกษาคือ สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของ ตัวแปร และการค่าความสัมพันธ์ลอจีสติกของระดับน้ำตาลสะสมกับการเกิดโรค แทรกซ้อนหรือโรคร่วม
ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดจำนวน 1,156 คน พบว่ามีผู้ป่วยที่มีข้อมูลครบตามต้องการจำนวน 742 คน เป็นเพศชายร้อยละ 33 อายุเฉลี่ย 60.9 ± 11.3 ปี มีระดับน้ำสะสมเฉลี่ย 7.61±1.89 เปอร์เซ็นต์โดยมีกลุ่มที่ระดับน้ำตาลสะสมสูงกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นร้อยละ 50.1 ในที่นี้มีผู้ที่ระดับน้ำตาลสะสมสูงกว่า 9 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นร้อยละ 20.6 มีโรคแทรกหรือโรคร่วมร้อยละ 82.5 โดยส่วนใหญ่มีภาวะไขมัน ในเลือดสูงคิดเป็นร้อยละ 60.3 อย่างไรก็ตามพบว่า โอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ในโรคไต โรคหัวใจ หรือจอประสาทตา ไม่มีความแตกต่างทางสถิติในผู้ที่มีระดับน้ำตาล สะสมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 มิลลิกรัมกับผู้ป่วยทีมีระดับน้ำตาลสะสมมากกว่า 7 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
สรุปผลการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานในเขตอำเภอลำดวนมีระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ย 7.61 ±1 เปอร์เซ็นต์โดยพบว่าระดับน้ำตาลสะสมที่สูงกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นร้อยละ 50.1 อย่างไร ก็ตามพบว่าโอกาสในการพบโรคแทรกซ้อนคือโรคหัวใจ โรคไต หรือเบาหวานขึ้นจอตา ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลสะสมสูงกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ หรือต่ำกว่า 7 เปอร์เซ็นต์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์ : [Internet], [cited 2015 May 11]. Available from: https://ncd. surinpho.go.th/web4/

2. สำนักวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2556. เอกสารข้อมูล สถาณการณ์โรคเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูงในประเทศไทย [Internet], [cited 2015 May 11]. Available from: https://www.dms.moph.go.th/imrta/ images/data/doc_dm_ht.pdf

3. Zoungas S, Chalmers J, Ninomiya T, Li Q, Cooper ME, Colagiuri S, et al. Association of HbAlc levels with vascular complications and death in patients with type 2 diabetes: evidence of glycaemic thresholds. Diabetologia 2011;55:3:636-43.

4. Molyneaux LM, Constantino Ml, McGill M, Zilkens R, Yue DK. Better glycaemic control and risk reduction of diabetic complications in Type 2 diabetes: comparison with the DCCT. Diabetes Res Clin Pract 1998;42:2:77-83.

5. Rohlfing CL, Wiedmeyer H-M, Little RR, England JD, Tennill A, Goldstein DE. Defining the Relationship Between Plasma Glucose and HbAlc Analysis of glucose profiles and HbAlc in the Diabetes ControlandComplicationsTrial. Diabetes Care 2002;25:2:275-8.

6. Repas T. Managing Loss of Glycemic Control in Middle-Aged Patients With Diabetes: The Role of GLP-1 Receptor Agonists in Combination-Therapy Regimens. J Am Osteopath Assoc 2014;114:5 suppl2:S14-21.

7. Nicholas J, Charlton J, Dregan A, Gulliford MC. Recent HbAlc Values and Mortality Risk in Type 2 Diabetes. Population-Based Case-Control Study. PLoS ONE 2013;8:7:e68008.

8. Group TDC and CTR. The Relationship of Glycemic Exposure (HbAlc) to the Risk of Development and Progression of Retinopathy in the Diabetes Control and Complications Trial. Diabetes 1995;44:8:968-83

9. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557 [Internet], [cited 2015 May 11]. Available from: https://wvwv.chiangmaihealth.com/ cmpho_web53/attachments/3475_

10. Type 2 Diabetes Screening and Treatment Guideline - diabetes2.pdf [Internet], [cited 2015 May 11]. Available from: https://vvvvw.ghc.org/all-sites/guidelines/ diabetes2.pdf

11.Ghazanfari Z, Haghdoost AA, Alizadeh SM, Atapour J, Zolala F. A Comparison of HbAlc and Fasting Blood Sugar Tests in General Population. Int J Prev Med [Internet], 2010 Oct 31 [cited 2014 Oct ll];l(3).Availablefrom: https://ijpm.mui. ac.ir/index.php/ ijpm/article/view/10

12. Juarez DT, Sentell T,Tokumaru S, Goo R, Davis JW, Mau MM. Factors Associated With Poor Glycemic Control or Wide Glycemic Variability Among Diabetes Patients in Hawaii, 2006-2009. Prev Chronic Dis [Internet], 2012 Sep 27 [cited 2015 May 11];9. Available from: https:// www.cdc.gov/pcd/issues/2012/ 12_0065.htm

13.Nalysnyk L, Hernandez-Medina M, Krishnarajah G. Glycaemic variability and complications in patients with diabetes mellitus: evidence from a systematic review of the literature. Diabetes ObesMetab 2010;12:4:288-98.

14. Group TDC and CTR. The Relationship of Glycemic Exposure (HbAlc) to the Risk of Development and Progression of Retinopathy in the Diabetes Control and Complications Trial. Diabetes 1995;44:8:968-83.

15. Srisurin W. Prevalence and effect of hemoglobin E disorders on Hbalc and lipid profile of diabetic patients at Surin Hospital. J Med Assoc Thail Chotmaihet Thangphaet 2011;94:l:36-42.

16. เสถียร สุขพณิชนันท์. beta-thalassemiahb e [Internet], [cited 2015 May 14]. Available from: https://www.thalassemia.or.th/thaiversion/diag-carrier-th.htm