การศึกษา Collective Review ผู้ป่วยโรคมะเร็งไฝ

Main Article Content

ชวลิต ชยางศุ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคมะเร็งไฝเป็นมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อยแต่มีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิต มากที่สุดในกลุ่มโรคมะเร็งผิวหนังทั้งหมด ในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปพบว่า อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งไฝมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการรายงาน อุบัติการณ์ที่ชัดเจนและการศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งไฝยังมีน้อย ผู้วิจัยจึงทำการศึกษา เกี่ยวกับโรคมะเร็งไฝ เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย อาการแสดงของโรค ระยะ เวลาก่อนมารับการรักษา ชนิดและระยะของโรคมะเร็งไฝ ความสมบูรณ์ของการ รายงานผลทางพยาธิวิทยา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่เป็นก่อนมารักษากับระยะของโรคมะเร็งไฝ เพื่อมาใช้ในการวางแผนดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไปในอนาคต
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษา collective review ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งไฝ (malignant melanoma, รหัส ICD10 C43) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นระยะเวลา 10 ปี ในโรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวนทั้งสิ้น 38 ราย
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคมะเร็งไฝเป็นเพศชาย 21 ราย ร้อยละ 55.3 มีอายุเฉลี่ย 66.7 ปี อาการ แสดงที่พบมากที่สุดได้แก่ การพบรอยโรค แผล หรือตุ่มก้อนผิดปกติบริเวณผิวหนัง ร้อยละ 75 ระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ป่วยมีอาการก่อนมารักษาเท่ากับ 13.2 เดือน สำหรับ cutaneous melanoma พบเป็นชนิด acral lentiginous melanoma มากที่สุด 12 ราย ร้อยละ 50 รองลงมาเป็น epithelioid cell type 5 ราย ร้อยละ 20.8, spindle cell type 4 ราย ร้อยละ 16.7 และ nodular melanoma 2 ราย ร้อยละ 8.3 เท้าและฝ่าเท้าเป็นตำแหน่งที่พบโรคบ่อยที่สุด 26 ราย ร้อยละ 68.4 รองลงมา เป็นตำแหน่งศีรษะและลำคอ 5 ราย ร้อยละ 13.2 และรยางค์ส่วนล่าง 4 ราย ร้อยละ 10.5 ผู้ป่วยอยู่ในระยะต้นหรือระยะที่ I-II 9 ราย ร้อยละ 36 ระยะที่ III 14 ราย ร้อยละ 56 และระยะแพร่กระจาย 1 ราย ร้อยละ 4 ความสมบูรณ์โนการรายงานผล ทางพยาธิวิทยาพบว่ามี 4 รายหรือร้อยละ 14.3 ที่รายงานครบทั้ง 4 ปัจจัย (Breslow thickness/Clark level, ulceration, mitotic rate และ marginal status) ในกลุ่ม ผู้ป่วยที่มีระยะเวลาที่มีอาการก่อนมารักษามากกว่า 3 เดือน จะมีสัดส่วนของโรค ในระยะที่ III-IV มากกว่ากลุ่มที่มีอาการมาน้อยกว่า 3 เดือนที่ร้อยละ 72.7 และ ร้อยละ 45.5 ตามลำดับ ในช่วงปีพ.ศ. 2548-2557 โรงพยาบาลสุรินทร์พบผู้ป่วย โรคมะเร็งไฝรายใหม่ทั้งสิ้น 38 ราย
สรุป: ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วยโรคมะเร็งไฝรายใหม่ทั้งสิ้น 38 ราย acral lentiginous melanoma เป็นชนิดที่พบมากที่สุด ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่เท้า ฝ่าเท้า และส่วนใหญ่ พบอยู่ในระยะที่ III

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Radovic-Kovacevic V, Pekmezovic T, Adanja B, Jarebinski M, Marinkovic J, Tomin R. [Survival analysis in patients with cutaneous malignant melanoma]. Srpski arhiv za celokupno lekarstvo 1997;125:5-6:132-7.

2. DeVita VT LT, Rosenberg SA. Devita, Hellman, and Rosenberg's cancer: Principle & Practice of Oncology. 9 ed: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins; 2011

3. Diffey BL, Langtry JA. Skin cancer incidence and the ageing population. The British journal of dermatology 2005;153:3:679-80.

4. T. Khuhaprema PS, P. Attasara, H. Sriplung, S. Wiangnon, Y. Sumitsawan. CancerinThailand. Bangkok: 1998-2000.

5. Pour P, Tantachamrum T, Althoff J, Mohr U. Melanoma in the north of Thailand in the last ten years. Report from Chiang Mai University. Zeitschrift fur Krebsforschung und klinische Onkologie Cancer research and clinical oncology. 1973;80:1:31-5.

6. P R-a. Oral Malignant Melanoma of the Maxilla: A Case Report. The Bangkok Medical Journal 2015;9:45-9.

7. Payapvipapong K, Kanechorn-Na-Ayuthaya P. Multiple primary melanoma in a Thai male: a case report. Journal of the Medical Association of Thailand = Chotmaihet thangphaet. 2014;97:Suppl2;S234-8.

8. Akaraviputh T, Arunakul S, Lohsiriwat V, Iramaneerat C, Trakarnsanga A. Surgery for gastrointestinal malignant melanoma: experience from surgical training center. World journal of gastroenterology : WJG 2010)16:6:745-8. Epub 2010/02/06.

9. Wasee Tulvatana SJ. A necrotic ciliochoroidal malignant melanoma in a young Thai female. Asian Biomedicine 2008:2:4:325-8.

10. Somran J, Kanngum S, Porncharoenpong S, Lertkajornsin O. Anorectal malignant melanoma: report of two cases from Buddhachinnaraj Hospital. Journal of the Medical Association of Thailand = Chotmaihet thangphaet 2005)88:8:1128-33.

11. Wagner JD, Gordon MS, Chuang TY, Coleman JJ, 3rd. Current therapy of cutaneous melanoma. Plastic and reconstructivesurgery.2000;105:5:1774-99; quiz 800-1. Epub 2000/05/16.

12. Bandarchi B, Ma L, Navab R, Seth A, Rasty G. From melanocyte to metastatic malignant melanoma. Dermatology research and practice. [Internet], [coted 2015 Jun 8], Available from;URL:https:// www.about:reader?
url=https%3A%2F% 2Fwww.hindawi.com%2Fjournals% 2Fdrp%2F2010%2F583748%2Fabs% 2F 2010;2010.