ภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากเชื้อ Bacillus Cereus ในทารกแรกเกิด

Main Article Content

ปวีณนุช กาญจนการุณ

บทคัดย่อ

ความสำคัญของปัญหา: Bacillus cereus เป็นเชื้อที่มีความรุนแรง สามารถทำให้ตาบอดได้อย่างรวดเร็วจากกระจกตาอักเสบ การติดเชื้อในลูกตาและสามารถลุกลามออกมาที่เนื้อเยื่อในเบ้าตาได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นภายใน 1-2 วัน การติดเชื้อนี้มักเกิดจากมีสิ่งแปลกปลอมที่ปนเปื้อนดินเข้าไปในตา และแทบไม่พบการติดเชื้อนี้ในเด็กทารก รายงานผู้ป่วยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อรายงานการเกิด เยื่อบุตาอักเสบในทารกแรกเกิดที่เกิดจากการติดเชื้อ Bacillus cereus
รายงานผู้ป่วย: ทารกเพศหญิงอายุ 12 วัน มาด้วยอาการคล้าย gonoccal conjunctivitis คือตาแดงทั้งสองข้าง, มีขี้ตาเป็นหนอง กระจกตายังปกติดี บิดามารดาของผู้ป่วยไม่มีอาการตาแดง/ปัสสาวะแสบขัด/มีหนองหรือตกขาวที่อวัยวะเพศ โดยหลังจากได้รับการรักษาแบบ gonococcal conjunctivitis คือcefotaxime ทางหลอดเลือดดำ moxifloxacin หยอดตา ล้างตาบ่อยๆร่วมกับให้erythromycinทางปากเพื่อรักษาการติดเชื้อ Chlamydiatrachomatis ที่อาจเกิดร่วมกัน พบว่าอาการดีขึ้นใน 24 ชั่วโมงและสามารถลดปริมาณยาหยอดตาได้เหลือวันละสี่ครั้ง ผลเพาะเชื้อจากขี้ตาที่ 48 ชั่วโมงพบเชื้อ Bacillus cereusจึงได้ซักประวัติเพิ่มเติมพบว่า 3 วันก่อนมีอาการได้ทำพิธีเป่ามนต์โดยเคี้ยวรากไม้แล้วเป่าที่ใบหน้าผู้ป่วย อย่างไรก็ตามหลังให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดครบ 7 วัน และให้ยาปฏิชีวนะหยอดตาครบ 10 วัน อาการหายปกติและไม่มีการกลับเป็นซ้ำอีกหลังจากหยุดยาไป 1สัปดาห์
สรุป: ในพื้นที่เขตที่มีคนไทยเชื้อสายกัมพูชาอาศัยอยู่ยังมีความนิยมที่จะทำพิธีเป่ามนต์ให้แก่ทารกแรกเกิด แพทย์จึงควรซักประวัติดังกล่าวในกรณีที่ผู้ป่วยทารกมาด้วยอาการติดเชื้อที่ตารุนแรงเสมอ เนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อBacillus cereus จากวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบพิธีได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. วนิดา เดชาวาศน์, มานิตย์ เลิศชัยพร. การศึกษาความคงตัวของยาเตรียมพิเศษยาน้ำแขวนตะกอน furosemide. วารสารสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) 2541;8:31-40.

2. นัยนา สันติยานนท์. ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา. Thai Pharm Health Sci J 2008;3(1):180-7.

3. The United States Pharmacopeia 31 and National Formulary NF 26. Asian edition. Maryland : The United States Pharmaceutical Convention; 2008.

4. Committee for Medicinal Products for Human Use. Reflection paper on the use of methyl and propylparaben as excipients in human medicinal products for oral use. [online]. 2012 [cited 2015 Oct 22] ; Available form: www.ema.europa.eu/docs/en_GB/documentlibrary/Scientific_guideline/2015/11/WC500196733.pdf5.

5. Kenneth AC., Gordon LA., Valentino JS. Drug Kinetics. Chemical Stability of Pharmaceuticals: A Handbook for Pharmacists. 2nded. New York : John Wiley & Sons; 1986:475.

6. Royal Danish School of Pharmacy. Photodegradation and hydrolysis of furosemide and furosemide ester in aqueous solutions. Int J Pharm 1988; 42(1-3):217-24