การศึกษาลักษณะทางพยาธิวิทยาคลินิก และปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรคของโรคมะเร็งไฝ

Main Article Content

ชวลิต ชยางศุ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ถึงแม้ว่าอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งไฝในเอเชียจะมีน้อยกว่าทางอเมริกาและ ยุโรป แต่เป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดในกลุ่ม ของโรคมะเร็งผิวหนัง ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการรายงานอุบัติการณ์ที่ ขัดเจนรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งไฝยังมีน้อยมาก การศึกษานี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อรายงานลักษณะทางพยาธิวิทยาคลินิกและปัจจัยที่มีผล ต่อการพยากรณ์โรคของโรคมะเร็งไฝในประเทศไทย
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งไฝในโรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เพื่อ ศึกษาระยะเวลาการรอดชีพ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรค ข้อมูล ทั่วไป อาการแสดงของโรค ระยะเวลาที่มีอาการก่อนได้รับการวินิจฉัย ตำแหน่งโรคตั้งต้น ชนิดและระยะของโรค
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคมะเร็งไฝทั้งหมด 51 ราย เป็นเพศชาย 30 ราย (ร้อยละ 58.8) มีอายุเฉลี่ย 65.4 ปี การพบรอยโรค แผลหรือตุ่มก้อนผิดปกติบริเวณผิวหนัง เป็น อาการแสดงที่พบมากที่สุด 37 ราย (ร้อยละ 75.5) ตำแหน่งตั้งต้นที่พบโรค ได้บ่อยคือบริเวณ palmoplantar 37 ราย (ร้อยละ 72.6) ค่ามัธยฐานของ ระยะเวลาที่มีอาการก่อนได้รับการวินิจฉัยเท่ากับ 8 เดือน พบผู้ป่วยอยู่ใน ระยะที่ III จำนวน 19 ราย (ร้อยละ 50) และระยะที่ IV จำนวน 5 ราย (ร้อยละ 13.2) acral lentiginous melanoma (ALM) เป็นชนิดที่พบมาก ที่สุด 16 ราย (ร้อยละ 51.6) พบ nodular melanoma (NM) 3 ราย (ร้อยละ 9.7) และไม่พบชนิด superficial spreading melanoma (SSM) กับ lentigo maligna melanoma (LMM) ระยะเวลาการรอดชีพรวมมีค่า กลางที่ 1.9ปี อัตราการรอดชีพที่3 ปีเท่ากับร้อยละ35.7เมื่อแบ่งตามระยะ ของโรคพบว่าระยะที่ III และ IV มีค่ากลางระยะเวลาการรอดชีพน้อยที่ 1.67 ปีและ 0.21 ปีตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์แบบ univariate พบว่าอายุที่มากขึ้น ต่อปี (HR 1.07; 95%CI, 1.02-1.13) มะเร็งไฝที่ไม่ใช่ ALM หรือ non ALM (HR 7.15; 95%CI, 1.53-33.37) และระยะโรคที่ III-IV (HR 9.00; 95%CI, 1.96-41.36) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อระยะเวลาการรอดชีพที่น้อยกว่าหรือ เท่ากับ 2 ปี แต่เมื่อนำมาวิเคราะห์แบบ multivariate พบว่ามะเร็งไฝ non ALM เป็นปัจจัยเสี่ยงเดียวที่มีผลต่อพยากรณ์โรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HR 364.46, p=0.05)
สรุป: ผู้ป่วยโรคมะเร็งไฝในไทยพบเป็นชนิด ALM และตำแหน่งตั้งต้นบริเวณ palmoplantar มากที่สุด ส่วนใหญ่มาพบแพทย์เมื่อโรคเข้าสู่ระยะที่ III ซึ่งพยากรณ์โรคไม่ดี และปัจจัยพยากรณ์โรคขึ้นกับชนิดของเนื้อเยื่อมะเร็ง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Radovic-Kovacevic V, Pekmezovic T, Adanja B, Jarebinski M, Marinkovic J, Tomin R. [Survival analysis in patients with cutaneous malignant melanoma], Srpski arhiv za celokupno lekarstvo. 1997; 125(5-6): 132-7. Epub 1997/05/01. Analiza prezivljavanja bolesnika S malignim melanomom koze.

2. DeVita VT LT, Rosenberg SA. Devita, Heilman, and Rosenberg’s Cancer: Principle & Practice of Oncology. 9 ed: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins; 2011.

3. Diffey BL, Langtry JA. Skin cancer incidence and the ageing population. The British journal of dermatology. 2005;153(3):679-80. Epub 2005/08/27.

4. Jemal A, Saraiya M, Patel P, et al. Recent trends in cutaneous melanoma in incidence and death rates in the United States, 1992-2006. J Am Acad Dermatol 2011;65:S17-25 e11-13.

5. Chi z, Li S, Sheng X, Si L, Cui C, Han M, et al. Clinical presentation, histology, and prognoses of malignant melanoma in ethnic Chinese: a study of 522 consecutive cases. BMC Cancer 2011;11:85.

6. Khuhaprema T, Srivatanakul P, Sriplung H, Wiangnon S, Sumitsawan Y, Attasara P. Cancer in Thailand Vol. IV, 19982000. Bangkok: Ministry of Public Health, Ministry of Education; 2007.

7. Pour P, Tantachamrum T, Althoff J, Mohr U. Melanoma in the north of Thailand in the last ten years. Report from Chiang Mai University. Zeitschrift fur Krebsforschung und klinische Onkologie Cancer research and clinical oncology 1973;80(1):31 -5. Epub 1973/01/01.

8. Pattana-arpha P, Klanrit p, Cheusirithavom U. Oral Malignant Melanoma of the Maxilla: A Case Report. The Bangkok Medical Journal 2015;9(2):45-9.

9. Payapvipapong K, Kanechorn-Na- Ayuthaya P. Multiple primary melanoma in a Thai male: a case report. J Med Assoc Thai Chotmaihet Thangphaet 2014;97(2)Suppl 2:S234-8.

10. Akaraviputh T. Surgery for gastrointestinal malignant melanoma: Experience from surgical training center. World J Gastroenterol 2010;16(6):745.

11. Wasee Tulvatana SJ. A necrotic ciliochoroidal malignant melanoma in a young Thai female. Asian Biomedicine 2008;2(4):325-8.

12. Somran J, Kanngurn S, Porncharoen- pong S, Lertkajornsin O. Anorectal malignant melanoma: report of two cases from Buddhachinnaraj Hospital. J Med Assoc Thail Chotmaihet Thangphaet 2005;88(8):1128-33.

13. Ingkaninanda p, Visessiri Y, Rutnin S. Clinicopathological Features and Prognostic Factors of Malignant Melanoma: A Retrospective Analysis of Thai Patients in Ramathibodi Hospital. J Med Assoc Thail Chotmaihet Thangphaet 2015;98(8):820-7.

14. Edge SB, Byrd DR, Compton GC, Fritz AG, Greene FL, Trotti A, et al. Melanoma of the skin. AJCC Cancer staging Manual. 7th ed. New York, NY: Springer-Verlag; 2010.

15. Wagner JD, Gordon MS, Chuang TY, Coleman JJ, 3rd. Current therapy of cutaneous melanoma. Plastic and Clinicopathological Characteristics and Prognostic Factors of Malignant Melanoma reconstructive surgery 2000; 105(5): 1774-99; quiz 800-1.

16. Bandarchi B, Ma L, Navab R, Seth A, Rasty G. From melanocyte to metastatic malignant melanoma. Dermatol Res Pract 2010;2010.