ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล้มเหลวในการรักษาแบบประคับประคอง ของผู้ป่วยก้อนหนองบริเวณปีกมดลูก

Main Article Content

สุวิทย์ จิตภักดีบดินทร์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะก้อนหนองบริเวณปีกมดลูก เป็นภาวะแทรกช้อนที่สำคัญภาวะหนึ่งของ ผู้ป่วยอุ้งเชิงกรานอักเสบ การรักษาภาวะนี้มักเริ่มด้วยการรักษาแบบประคับ ประคองโดยให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อทุกกลุ่ม มีผู้ป่วยบางรายไม่ตอบสนอง ต่อยาปฏิชีวนะภายใน 48-72 ชั่วโมง จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ร่วมด้วย ซึ่งลักษณะทางคลินิกที่สัมพันธ์กับความล้มเหลวของการรักษาแบบ ประคับประคองในผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการ ศึกษาถึงลักษณะทางคลินิกที่บ่งถึงความล้มเหลวจากการรักษาแบบประคับประคอง ในผู้ป่วยที่ตรวจพบก้อนหนองบริเวณปีกมดลูกในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
วัตถุประสงค์:
1. เพี่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับความล้มเหลวจากการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ ก้อนหนองบริเวณปีกมดลูกแบบประคับประคอง
2. เพื่อสร้างสมการทำนายโอกาสล้มเหลวจากการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะก้อนหนอง บริเวณปีกมดลูกแบบประคับประคอง
3. เพื่อทดสอบความถูกต้องของสมการทำนายที่สร้างจากการศึกษา
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเองวิเคราะห์แบบย้อนหลัง
สถานศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
วิธีการศึกษา: แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 ขั้นตอนการสร้างสมการ รวมรวมข้อมูลของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามี ภาวะก้อนหนองบริเวณปีกมดลูกที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน โนโรงพยาบาล มหาราชนครราชสีมา ช่วงมกราคม พ.ศ. 2550 - ธันวาคม พ.ค. 2552 แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มศึกษาได้แก่ กลุ่มที่การรักษาแบบประคับประคองไม่ได้ผลต้องได้รับการ ผ่าตัดร่วมด้วย กลุ่มควบคุมได้แก่ กลุ่มที่ตอบสนองต่อการรักษาแบบประคับ ประคอง ข้อมูลทีได้จะถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อความล้มเหลวในการรักษาแบบประคับประคองของผู้ป่วยที่มีภาวะก้อนหนอง บริเวณปีกมดลูก นำปัจจัยทีได้ไปสร้างสมการทำนายโอกาสที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้อง รับการรักษาโดยการผ่าตัดร่วมด้วย ช่วงที่ 2 การตรวจสอบความถูกต้องของ สมการ รวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยทีได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะก้อนหนองบริเวณ ปีกมดลูกที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยโน ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ช่วงมกราคม - มิถุนายน พ.ศ. 2553 ข้อมูลทีได้จะถูกนำมาทดลอบความแม่นยำในการ ทำนายของสมการที่สร้างขึ้นในช่วงแรกของการศึกษา
ผลการศึกษา: ในช่วงระยะเวลาที่ศึกษามีผู้ป่วยที่มีภาวะก้อนหนองบริเวณปีกมดลูก เข้ามารับ การรักษาเป็นผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ทั้งสิน 132 ราย มีเพียงผู้ป่วย 113 รายที่ถูกคัดเข้ามาในการศึกษาครั้งนี้ พบอัตราความล้มเหลว ของการรักษาแบบประคับประคองในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ร้อยละ 38.9 จากการวิเคราะห์ พหุปัจจัยพบลักษณะทางคลินิกที่สัมพันธ์กับความล้มเหลวของการรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคองอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ขนาดของก้อนหนองบริเวณปีกมดลูก และ ภาวะอักเสบของเยื่อบุช่องท้องบริเวณท้องน้อย เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาสร้างสมการ ทำนายผลการรักษาพบว่า ผู้ป่วยที่มีคะแนนอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง และสูง มีโอกาสต้องได้รับการผ่าตัดรักษาร่วมด้วย ร้อยละ 8.3 43.6 และ 88.5 ตามสำดับในขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องของสมการ พบว่าผู้ป่วยที่มี คะแนนอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง และสูง มีโอกาสต้องไต้รับการผ่าดัด รักษาร่วมด้วย ร้อยละ 15.4 33.3 และ 100 ตามลำดับ โดยโอกาสของสมการ ที่สร้างขึ้นจะทำนายผลการรักษาของทั้ง 2 กลุ่มถูก ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ
สรุป: ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของก้อนหนองบริเวณปีกมดลูก และภาวะอักเสบของ เยื่อบุช่องท้องบริเวณท้องน้อยเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล้มเหลวจากการ รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะก้อนหนองบริเวณปีกมดลูกแบบประคับประคอง โดยผู้ป่วยที่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของก้อนหนองบริเวณปีกมดลูกที่ > 7 เซนติเมตร และ มีภาวะอักเสบของเยื่อบุช่องท้องบริเวณท้องน้อยมีโอกาสที่จะต้องรับการรักษา โดยการผ่าดัดร่วมด้วยประมาณร้อยละ 90

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Dewitt J, Reining A, Allsworth JE, Peipert JF. Toboovarian abscess : is size associated with duration of hospitalization & complications?. Obstetrics and Gynecology Int 2010:2010:847041. Epub 2010 May 24.

Landers DV, Sweet RL. Toboovarian abscess : Contemporary approach to management, Rev Infect Dis 1983;5(5) : 876-84.

Akyol D, Ozcab U, Ekin M, Gungor T, Gokmen O. Toboovarian abscess : risk factors and clinical features in turkish population. Tr. J. of Medical Sciences 1998;28:691-692.

Harolod CW, Richard LS. Progress in the Management of tuboovarian abscess. Clinical obstetrics and Gynecology 1993 ; 36 : 433-44.

Washington AE, Aral so, Wolner HP, Assessing risk for pelvic inflammatory disease and its sequelae. JAMA 1991 : 266 : 2581.

McNutt LA, WU C, Xue X, Hafner JP. Estimating the relative risk in cohort studies and clinical trials of common outcomes. Am J Epidemiol 2003; 157(10):940-3.

Granberg S, Gjelland K, Ekerhove E. The management of pelvic abscess. Clinical Obstetrics and Gynecology 2009;23(5) : 667-8.

Reuvit H, Oma L, Michal Y. Ian B, David S. Tubo-ovarian abscess in plder women : is the woman’s age a risk factor for failed response to conservative treatment?. Gynecol Obstet Invest 2003 ; 55 : 211-5.

Ginsburg DS, Stern JL, Hamod KA, Genadry R, Spence MR. Tubo-ovarian abscess : a retrospective review. Am J Obstet Gynecol 1980; 138 : 1055-8.

Perez-Medina T, Huertas MA, Bajo JM. Early ultrasound-guided transvaginal drainage of tubo-ovarian abscess : a randomized study. Ultrasound Obstet Gynecol 1996 ; 7(6) : 435-8.

Gjelland K, Ekerhovd E, Granberg S. Transvaginal ultrasound-guided aspiriation for treatment of tubo-ovarian abscess, a study of 302 cases. Am J Obstet Gynecol 2005; 193 : 1323-30.

Reed S, Landers D, Sweet RL. Antibiotic treatment of tuboovarian abscess : comparison of broad-speculum p-lactam agents versus clindamycin-containing regimens. Am J Obstet Gynecol 1991; 164 : 1556-62.

Blumenfeld Z, Toledano C, Eitan A, Barzilai A, Brander JM. Tubo-ovarian abscess in the post-menopausal woman. World J Surg 1982 ; 6 : 634-6.

Hsiao SM, Hsieh FJ, Lien YR. Tuboovarian abscesses in postmenopausal women. Taiwan J obstet Gynecol 2006 ; 45(3) : 234-8.

Walker CK, Landers DV. Pelvic abscesses : New trends in management. Obstet Gynecol Surv 1991 ; 46(9) : 615-624.

Pedowitz p, Bloomfield R. Ruptured adnexal abscess (tubo-ovarian) with generalized peritomitis. Am J Obstet Gynecol 1964 ; 88 : 721-9.

Frankin EW, Hevron JE, Thompson JD. Management of the pelvic abscess. Clin Obstet Gynecol 1973 ; 16(2) : 66-79.