ประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง

Main Article Content

ยุวรรณา หวังกีรติกานต์
อัปสร สารสุวรรณ
เพ็ญฉาย เลิศศุภวงศ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงเป็นปัญหาสำคัญด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจก่อให้เกิด การเสียชีวิตและความพิการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การปฏิบัติตามรูปแบบ การดูแลที่ได้มาตรฐาน โดยการมีส่วนร่วมของสหสาขาวิชาชีพและผู้ดูแลผู้ป่วยจะช่วยให้ การดูแลรักษามีประสิทธิภาพ ลดภาวะแทรกซ้อน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงศ์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเซิงปฏิบัติการ (Action Research) มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ขั้นศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2. ขั้นดำเนินการ 3. ขั้นประเมินผล ระยะเวลาการวิจัย ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2556 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือก แบบเจาะจง เป็นผู้ป่วยและผู้ดูแลหลักผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงที่เข้ารับบริการใน โรงพยาบาลสุรินทร์จำนวน 30 คน และสหสาขาวิชาชีพวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บ ที่ศีรษะรุนแรง จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางปฏิบัติการดุแลผู้ป่วย แผนการสอนผู้ดูแล แบบทดสอบความรู้ผู้ดูแล แบบวัดคุณภาพการดูแลแบบประเมินความพึงพอใจของสหสาขาวิชาชีพและผู้ดูแล
ผลการศึกษา: รูปแบบที่พัฒนาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การรับผู้ป่วยที่หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน การดูแลที่หอผู้ป่วย การเตรียมจำหน่าย การส่งต่อและการดูแลต่อเนื่อง ผลลัพธ์ด้านดูแลพบว่า อัตราการปฏิบัติตามรูปแบบร้อยละ 99.1 อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนแผลกดทับการติดเชื้อทางเดินหายใจการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ จำนวนวันนอนลดลง ผู้ดูแลหลักมีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการให้ความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< .001) มีความสามารถ'ในการดุแลในระดับดีส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะสุขภาพดีไม่มีการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ผู้ดูแลหลักและสหสาขาวิชาชีพมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
สรุป: การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยทำให้ได้แนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนครอบคลุมและสะดวกในการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจและปฏิบัติตามรูปแบบสูงถึงร้อยละ 99.1 จึงทำให้สามารถปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลหลัก ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Schenk E, Christensen BL. Care of the patient with a neurological disorder. เท Christensen BL, Kockrow E.O. (Eds.). Adult health nursing (5ed.), Philadelphia. Mosby; 2006:685-752.

2. Brain Trauma Foundation. Management and prognosis of severe traumatic brain injury, (serial online) 2000 (cite 2011 November, 5). Available from: www.braintrauma.org/site/DocServer/Prognosis_Guidelines_for_web.pdf docID=24.

3. สำนักระบาดวิทยากระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

4. สถิติทะเบียนโรงพยาบาลสุรินทร์. สถิติทะเบียนโรงพยาบาลสุรินทร์ ; 2552-2554. เอกสาร อัดสำเนา.

5. สถิติตัวชี้วัด PCT ศัลยกรรม. สถิติตัวชี้วัด ทางคลินิกเฉพาะโรคการบาดเจ็บที่ศีรษะ; 2554. เอกสารอัดสำเนา.

6. วีระพล บดีรัฐ. PDCA วงจรสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร; 2543

7. Cohen JM, Uphoff NT. Strategirs for small farmer development. An imperial study of rural development project. Report prepared for Development Alternatives Inc., Washington; 1975.

8. ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บ ทีศีรษะ(Head Injury) ของสมาคม ประสาทศัลยศาสตร์และราชวิทยาลัย ศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย. (ออนไลน์). 2551 (สืบค้น 1 ตุลาคม 2554). เข้าถึงได้จาก https://www.Srisangwal.us.to/sri/cpg/ surg/head.htm

9. ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟืนฟูแห่งประเทศไทย. แนวทางการฟื้นฟูราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. (ออนไลน์). 2551 (สืบค้น 1 ตุลาคม 2554). เข้าถึงได้จาก https://www.re ha bmed. or.th/royal/rc_thai/trcenter/trcen_4. htm#p06.

10. แนวปฏิบัติการพยาบาลคลินิก(Clinical Nursing Practice Guidelines) เรื่องการ ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะของสภาการพยาบาล. เอกสารอัดสำเนา; มปท.

11. ศักดิ์ชัย ตั้งจิตวิทยา. บาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต15 2549;20:73.

12. พงษ์นเรศ โพธิโยธิน. ผลการใช้ Care Map ในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง กลุ่มงานศัลยกรรมโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2552;24:189-98.

13. ประภัสร บัณฑุรัตน์. การติดเชื้อในโรงพยาบาล ในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2542.

14. จุไรพร วงศ์วัฒนฤกษ์, ไพลิน นัดสันเทียะ, ปิยนุช บุญกอง. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงอย่างต่อเนื่องของ โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารวิชาการ สาธารณสุข 2554;20:607-18.

15. ชนัญชิดา โพธิประสาท. พฤติกรรมการดูแลและแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลผู้บาดเจ็บที่ศีรษะ. วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลคาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณทิตวิทยาลัย; เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547

16. เบญจมาภรณ์ วงษ์ไกร. ผลของโปรแกรม การสนับสนุนความต้องการของครอบครัว ต่อการปรับตัวของสมาซิกในครอบครัวผู้ป่วย บาดเจ็บที่ศีรษะ. (ออนไลน์). 2548 (สืบค้น 5 ตุลาคม 2551) เช้าถึงที่ : https://cuir. Car. chula.ac. th/handle/ 123456789/6232.