ปริมาณรังสีดูดกลืนที่เต้านมจากการตรวจเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล

Main Article Content

ยุวดี แต่งประกอบ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: เอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล เป็นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมที่ดีเนื่องจากมีความไว และความจำเพาะเจาะจงสูง แต่เนื่องจากเป็นการตรวจที่ใช้รังสีและเนื้อเยื่อเต้านม เป็นอวัยวะที่มีความไวต่อรังสี การตรวจเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอลจึงมีความเสี่ยง ที่เต้านมจะถูกกระตุ้นให้เป็นมะเร็งด้วยรังสีจากการตรวจ ดังนั้นการประเมินค่ารังสี ในการตรวจเอกซเรย์เต้านมจึงเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งทำได้โดยการหาค่าปริมาณรังสีดูดกลืน ที่เต้านมเพื่อ เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานที่วิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำหนดไว้ 3 มิลลิเกรย์ ต่อภาพที่ความหนาของเต้านมหลังกด 4.5 เซนติเมตร
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปริมาณรังสีดูดกลืนที่เต้านมของผู้ป่วยที่รับการตรวจเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอลที่โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยที่รับการตรวจเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอลที่โรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2555 ถึง 30กันยายน พ.ศ.2556 ที่มี อายุ 40-60 ปี จำนวน 740 ราย ซึ่งได้รับการตรวจเต้านมในท่า Craniocaudal (CC) และ Mediolateral oblique (MLO) ทั้ง 2 ข้าง ( 2,960 ภาพ ) โดยเก็บข้อมูลอายุ ความหนาของเต้านมหลังกด และปริมาณรังสีดูดกลืนที่เต้านมเพื่อน่ามาวิเคราะห์
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 48.2± 4.6 ปี ค่าเฉลี่ยในภาพรวมของปริมาณรังสีดูดกลืนที่เต้านม เมื่อใช้กริดคือ 2 มิลลิเกรย์ ต่อภาพโดยมีความหนาเฉลี่ยของเต้านมหลังกดในภาพรวม เท่ากับ 5.1 เซนติเมตร มีจำนวนการตรวจร้อยละ 95.1 ได้รับปริมาณรังสีดูดกลืนที่เต้านม เมื่อใช้กริดต่ำกว่า 3 มิลลิเกรย์ต่อภาพ แต่มีการตรวจ 146 ภาพ คิดเป็นร้อยละ 4.9 ที่!ด้รับปริมาณรังสีดูดกลืนที่เต้านมเมื่อใช้กริดสูงกว่า 3 มิลลิเกรย์ต่อภาพโดยมีความหนา เฉลี่ยของเต้านมหลังกดในกลุ่มนี้เท่ากับ 5.5 เซนติเมตรซึ่งมากกว่าความหนาเฉลี่ยของ เต้านมหลังกดในกลุ่มที่ได้รับปริมาณรังสีดูดกลืนที่เต้านมเมื่อใช้กริดต่ำกว่า 3 มิลลิเกรย์ ต่อภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001 )
สรุป: ค่าเฉลี่ยของปริมาณรังสีดูดกลืนที่เต้านมในการตรวจเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอลที่โรงพยาบาลสุรินทร์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน มีการตรวจร้อยละ 95.1 ที่ได้รับปริมาณรังสี ดูดกลืนที่เต้านมเมื่อใช้กริดต่ำกว่า 3 มิลลิเกรย์ต่อภาพ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สิรินภา เสียวตระกูลสุวิมล, วาริชา ศิริวรรณ ศิริอังคณากุล. ปริมาณรังสีที่ได้รับจากการถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมใน 6 โรงพยาบาลของเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย [โครงงานวิชาชีพ]. พิษณุโลก ; 2546.

2. อัมพร ฝันเซียน. อันตรายจากรังสีและการควบคุม. [ออนไลน์]. 2547 [เข้าถึงเมื่อ 26 มีนาคม 2554], เข้าถึงได้จาก: https://kmcenter.rid.go.th/kcresearch/article_out/article_ out_02.pdf

3. Screening for breast cancer: U.S. Preventive Services Task Force recommendation statement. Ann Intern Med 2009;151:10:716-26.

4. Yaffe MJ, Mainprize JG. Riskof Radiation- induced Breast Cancer from Mammographic Screening. Radiology 2011;258:1:98-105.

5. American College of Radiology. Mammography quality control manual, medical physicist section. Reston, VA: ACR,1999.

6. Digital mammography delivers less radiation-MedicalPhysicsWeb [Internet], [cited 2014 Mar 1], Available from: https://medicalphysicsweb.org/cws/ article/research/41711

7. ศิรินารถ ปริยชาตเกสร, เพชรากร หาญพานิชย์, ประชุมพร ผิวเหลือง, บรรจง เขื่อนแก้ว. การวัดปริมาณรังสีดูดกลืนเฉลี่ยที่ต่อมเต้านมได้รับจากเครื่องเอกซเรย์เต้านม โดยใช้แบบจำลอง ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2550;22(Suppl):166-7.

8. ศุภวิทู สุขเพ็ง. ปริมาณรังสีดูดกลืนที่ได้รับจากการถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านม. พิษณุโลก : ภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2549.

9. ศูนย์มะเร็ง คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. มะเร็งเต้านม.[ออนไลน์]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 26 มีนาคม 2554], เข้าถึง ได้จาก https://medinfo2.psu.ac.th/cancer/ db/news_ca.php?newslD=3&typelD=18 &form=2