ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอซไอวีและผู้ป่วยเอดส์

Main Article Content

วิลาวรรณ ชมาฤกษ์
ธนิดา ตั้งยิ่งยง
ยงยุทธ วัฒนาไชย

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์เริ่มมีการพัฒนาระบบบริการและพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการคุณภาพการดูแล ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาล ตั้งแต่ปี 2546-ปัจจุบันจากการทบทวนปัญหาที่เกิดจากการให้บริการในปี พ.ศ.2553- 2555 พบว่าอุบัติการณ์ผู้ป่วยทีขาดการรักษาต่อเนื่องร้อยละ 44.0,49.6และ 34.9 ตามลำดับ อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 15.9, 49.6 และ 29.8 ตามลำดับและอัตราการเสียชีวิตในผู้ที่ขาดการติดตามการรักษาหลังเริ่มรับยาต้านไวรัสใน 12 เดือน ร้อยละ 6.3, 4.5 และ 19.0 ตามลำดับจากสถิติดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์และอัตราการเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 - มีนาคม พ.ศ. 2555 แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ศึกษาวิเคราะห์ แนวคิดที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 พัฒนาระบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ พัฒนาการเข้าถึงระบบบริการ พัฒนาเพิ่มความครอบคลุมในการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัส และเพิ่มความปลอดภัยจากการใช้ยา รวมทั้ง เฝ้าระวังติดตามการเกิดเชื้อเอชไอวีดื้อยาต้านไวรัสเอดส์ ระยะที 3 ศึกษาผลของการพัฒนาระบบบริการ การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์
กลุ่มตัวอย่าง: คือ ผู้บริหารและบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเอดส์ จำนวน 23 ราย และผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ทีมารับบริการที่ศูนย์องค์รวม คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 70 รายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามการพัฒนาระบบ บริการ แบบวัดความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพและผู้รับบริการและแบบวัดคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: พบว่า 1) ด้านกระบวนการในด้านบริการทางการแพทย์ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ เข้าถึงระบบบริการมากขึ้นทำให้อัตราตายจากโรคเอดส์ลดลงจากร้อยละ 49.6 (2554) เป็น ร้อยละ 29.8 (2555) 2) และมีรูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ทีชัดเจนผู้ให้บริการร้อยละ 100 ผ่านการอบรมทักษะและความรู้ในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์และกลุ่มตัวอย่าง ได้รับบริการด้านสังคมสงเคราะห์ร้อยละ 100 2) ด้านผลลัพธ์จากการพัฒนาระบบบริการตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 - ปัจจุบัน สามารถให้บริการครอบคลุมตามเป้าหมายการพัฒนาส่งผลให้ความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส์อยู่ในระดับทีสูงกว่าเป้าหมายคือร้อยละ 100, 99.1 และ 99.3ในปี 2553-2555 ตามลำดับ อัตราการเสียชีวิต ในข่วง 12 เดือนแรกหลังเริ่มยาต้านไวรัสลดลงจากร้อยละ 4.7, 3.6 และ2.8 ในปี2553-2555 นอกจากนี้ มีระบบการรับ และส่งต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ระหว่างโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชนทั้ง 21 แห่ง ดำเนินการได้ ร้อยละ 100 3) ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ มีความพึงพอใจต่อการจัดระบบบริการในระดับมากร้อยละ77.43 ส่วนบุคลากรพึงพอใจต่อการจัดระบบบริการในระดับมากร้อยละ69.6 ผลที่เกิดต่อเนื่องพบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและเกิดกลุ่มช่วยเหลือตนเองของสมาชิกผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ 21 กลุ่ม
สรุป: การพัฒนาระบบบริการที่มีรูปแบบชัดเจนในการส่งเสริมการเข้าถึงระบบบริการ เพิ่มความครอบคลุมในการดูแลรักษาด้วย ยาต้านไวรัส และเพิ่มความปลอดภัยจากการใช้ยา รวมทั้งเฝ้าระวังติดตามการเกิดเชื้อเอชไอวีดื้อยาต้านไวรัสเอดส์ส่งผลให้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ เข้าถึงระบบบริการมากขึ้นเกิดความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส เพิ่มคุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วย และส่งผลให้อัตราตายจากโรคเอดส์ลดลง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1) เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม. การประมวลและสังเคราะห์องค์ความรู้เอดส์: การวิจัยทางคลินิก. ใน: เกียรติ รักษ์รุ่ง ธรรม, บรรณาธิการ. การดำเนินโรคโดยธรรมชาติ ของการติดเชื้อ HIV. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์; 2541:46-9.

2) World Health Organization Geneva. HIV update, WHO Report 2000. [online]. 2009[cite 2009 Jan 10] Availableform :URL: https://www. moph.go.th/cdc/jounal hest/index. html.

3) กรมควบคุมโรค. แนวทางการปฏิบัติงาน โครงการพัฒนาระบบบริการ และติดตาม การรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วยยาต้านไวรัสเอดส์. ม.ป.ท. : กรมควบคุมโรค; 2546.

4) โครงการพัฒนาคุณภาพบริการการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ผู้ใหญ่และเด็กในประเทศไทย สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. [สืบค้น 10 มกราคม 2557] ;เข้าถึงได้ที่ : URL: http//www.cqihiv.com.

5) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. สรุปตัวชี้วัดผลลัพธ์การบริการผู้ติดเชื้อ เอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ ประจำปีงบประมาณ 2555. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. (อัดสำเนา).

6) Wagner EH, Davis C, Schaefer J, Von Korff M, Austin B. Asurvey of leading chronic disease management programs: Are they consistent with the literature. Managed Care Quarterly 1999;7:3;56-66.

7) Michaels C. & Cohen E. Two strateriesformanaging care; care management andcase management. In Cohen E, Cesta T. Nursing case management: From essentials to advanced practice application. 4th ed. St. Louis, MO: Elsevier Mosby; p.33-7.

8) วงศา เลาหศิริวงศ์, ภัทระ แสนไชยสุริยา, สุวรรณา บุญยะลีพรรณ, เจียมจิต แสงสุวรรณ, ธีระ ฤทธิรอด, ภพ โกศลารักษ์. การศึกษาระบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลชุมชนภาคตะวันออก เฉียงเหนือ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2548;10:1:42-53.

9) Tabi M, Vogel RL. Nutritional Counseling: an intervention for HIV - positive patients. J Adv Nurs 2006;54:6:676-82.

10) จุฑาภรณ์ กัญญาคำ, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช, อรอนงค์ วลีขจรเลิศ, เบญจพร ศิลารักษ์. คุณภาพบริการการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ เอชไอวีและโรคเอดส์ กรณีศึกษาในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด. เอกสาร วิชาการการประชุมวิซาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,11-12 กุมภาพันธ์ 2555:61-71.

11) พนมพร ห่วงมาก. ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวและชุมชนกับพฤติกรรมทางเพศของผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2553.

12) Abel E, Hopson L, Delville C. Health Promotion for woman with human immunodeficiency virus or acquired immunodeficiency syndrome. J Am Acad Nurse Pract 2006;18;11:534-43.