ผลการรักษาภาวะชักต่อเนื่องแบบเกร็งกระตุกในเด็ก

Main Article Content

เก๋ พงศ์วัชชราภรณ์

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะชักต่อเนื่อง เป็นภาวะฉุกเฉินทางระบบประสาทที่พบบ่อยในผู้ป่วยเด็ก อัตราการเสียชีวิต สัมพันธ์กับระยะเวลาที่ชัก การรักษาที่ไม่เหมาะสม และโรคที่เป็นสาเหตุ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการเสียชีวิตในเด็กที่มีภาวะชักต่อเนื่องแบบเกร็งกระตุกและปัจจัยที่มีผลต่อ การเสียชีวิต
วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยเด็กที่มารักษาที่โรงพยาบาลสุรินทร์และได้รับการวินิจฉัย เป็นชักต่อเนื่องแบบเกร็งกระตุก ระยะเวลาที่ทำการศึกษาตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 ข้อมูลต่างๆได้ จากเวชระเบียนผู้ป่วยใน เวชระเบียนผู้ป่วยนอก และจากใบส่งตัวของโรงพยาบาลที่ส่งตัวผู้ป่วยมารับการรักษา โดยศึกษาข้อมูลทั่วไป ชนิดของการชักต่อเนือง สาเหตุ ระยะเวลาที่ชัก วิธีการรักษา ผลการรักษา และวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเสียชีวิตกับปัจจัยต่างๆ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กที่เข้าเกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะชักต่อเนื่องแบบเกร็งกระตุก จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 37 ราย เป็นเพศชาย 25 ราย (ร้อยละ 67.7) เพศหญิง 12ราย (ร้อยละ 32.4) อายุเฉลี่ย 4 ปี 3 เดือน ผู้ป่วยมีประวัติโรคลมชักมาก่อน (ร้อยละ 40.5) สาเหตุส่วนใหญ่จากพยาธิสภาพ ชองสมองอยู่เดิม (ร้อยละ 37.8) พยาธิสภาพของสมองอย่างเฉียบพลัน (ร้อยละ 27) จากไข้ชัก (ร้อยละ 21.6), และไม่ทราบสาเหตุ (ร้อยละ 13.5) พบอัตราการเสียชีวิต (ร้อยละ 13.5) โดยอัตราการเสียชีวิตสัมพันธ์กับการรักษาไม่เหมาะสม (p=0.01) ระยะเวลาชักที่นานก่อน ให้การรักษา (p=0.02) พบผู้ป่วยเป็นโรคลมซักตามหลังภาวะชักต่อเนื่อง 6 ราย (ร้อยละ 16.2) และพบพัฒนาการช้า 2 ราย (ร้อยละ 5.1)
สรุป: อัตราการเสียชีวิตในเด็กที่มีภาวะชักต่อเนื่องแบบเกร็งกระตุก (ร้อยละ 13.5) โดยสัมพันธ์กับ สาเหตุ ระยะเวลาชักที่นานก่อนให้การรักษา และการรักษาที่ไม่เหมาะสม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Chin RF, Neville BG, Peckham C, Bedford H, Wade A, Scott RC. Incidence, cause, and short-term outcome of convulsive status epilepticus in childhood: prospective population-based study. Lancet 2006;15:368:9531:222-9.

2. Commission on epidemiology and prognosis, international League Against Epilepsy: Guideline for epidemiologic studies on epilepsy. Epilepsia 1993;34:592-6.

3. สมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย. การดูแลรักษาภาวะชักต่อเนื่อง. ใน: แนวทางการรักษาโรคลมชัก Epilepsy; clinical practice guideline (ฉบับที่ 2) 2549. หน้า 35 - 40.

4. Novorol CL, Chin RF, Scott RC. Outcome of convulsive status epilepticus: A review. Arch Dis Child 2007; 92:938-51.

5. Saz EU, Karapinar B, Ozcetin M, Polat M, Tosun A, Serdaroglu G, et al. Convulsive status epilepticus in children: etiology, treatment protocol and outcome. Seizure: the journal of the British Epilepsy Association 2011;20:2:115-8.

6. Raspall-Chaure M, Chin RF M, Neville BGR, Scott RC. Outcome of pediatric convulsive status epilepticus: a systematic review. Lancet Neurol 2006;5:769-79.

7. Visudtibhan A, Limhirun J, Chiemchanya S, Visudhiphan P. Convulsive status epilepticus in Thai children at Ramathibodi Hospital. J Med Assoc Thai ; 2006:89:6:803-8.

8. Tiamkao S, Suko P, Mayurasakorn N. Srinagarind Epilepsy Research Group. Outcome of status epilepticus in Srinagarind Hospital. J Med Asooc Thai 2010;93:20-3.

9. Shinnar S, Pellock JM, Moshe SL, Maytal J, O’Dell C, Driscoll SM, et al. In : Whome does status epilepticus occur: age-related differences in children. Epilepsia 1997;38:907-14.

10. Singh RK, Stephens S, Berl MM, Chang T, Brown K, Vezina LG, et al. Prospective study ofnew-onset seizures presenting as status epilepticus in childhood. Neurology 2010;23:74:8:636-42.

11. Maegaki Y, Kurozawa Y, Hanaki K, Ohno K, Risk factors for fatality and neurological sequelae after status epilepticusinchildren. Neuropediatrics 2005;36:186-92.

12. Lowenstein DH, Bleck T, Macdonald RL. It’s time to revise the definition of status epilepticus. Epilepsia 1999;40:1:120-2.

13. Lowenstein DH. The management of refractory status epilepticus: an update. Epilepsia 2006;47 Suppl1:35-40.

14. Komur M, Arslankoylu AE, Okuyaz C, Keceli M, Derici D. Management of patients with status epilepticus treated at a pediatric intensive care unit in Turkey. Pediatr Neurol 2012;46:6:382-6.

15. Chen JW, Wastertain CG. Status epilepticus: pathophysiology and management in adults. Lancet Neurol 2006;5:3:246-56.

16. Sahin M, Menache CC, Holmes GL, Riviello JJ. Outcome of severe refractory status epilepticus in children. Epilepsia 2001;42:1461-7.

17. Berg AT, Shinnar S, Levy SR, Testa FM. Status epilepticus in children with newly diagnosed epilepsy. Ann Neurol 1999;45:618-23.

18. Novorol CL CR, Scott RC. Outcome of convulsive status epilepticus: A review. Arch Dis Child. 2007;92:938-51.

19. Neville B, Chin RF, Scott RC. Childhood convulsive status epilepticus: Epidemiology, management and outcome. Acta Neurol Scand 2007;186:21-5.

20. Lin KL, Lin JJ, Hsia SH, Wu CT, Wang HS. Analysis of convulsive status epilepticus in children of Taiwan. Pediatr Neurol 2009;41:6:413-8.