การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกการป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดที่ได้รับการฉีดยาชาทางช่องไขสันหลัง กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

ปรานอม เรืองโชติเสถียร

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะความดันโลหิตต่ำหลังได้รับการฉีดยาชาทางช่องไขสันหลัง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย ทำให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ เซลล์ได้รับออกซิเจนลดลงหากไม่ได้รับการ แก้ไขอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตของผู้ป่วยได้ จากการทบทวนตัวชี้วัดงานคุณภาพของกลุ่มงาน วิสัญญีปีงบประมาณ 2553 พบประเด็นปัญหาสำคัญคือในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดที่ได้รับการฉีดยาชา ทางช่องไขสันหลัง เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำขณะรับการผ่าตัด ร้อยละ 39.9
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการฟ้องกันภาวะความดันโลหิต่ำ ในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดที่ได้รับการฉีดยาชาช่องไขสันหลัง และศึกษาความพึงพอใจของพยาบาล วิสัญญีต่อการใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น
รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research development study) กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วยวิสัญญีแพทย์ สูติแพทย์ และวิสัญญีพยาบาล มีระยะเวลา การศึกษาในช่วงเดือนตุลาคม พ,ศ. 2553ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 โดยแบ่งขั้นตอน การศึกษาออกเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 สำรวจปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำ ในผู้ป่วย ผ่าตัดคลอดที่ได้รับการฉีดยาชาทางช่องไขสันหลังจากพยาบาลวิสัญญีจำนวน 22 คน ระยะที่ 2 พัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำในผู้ป่วย ผ่าตัด คลอดที่ได้รับการฉีดยาชาทางช่องไขสันหลังจากการประชุมระดมสมองของทีมวิสัญญี ร่วมกับนำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้ปรับปรุงแนวปฏิบัติยกร่างแนวปฏิบัติให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ นำไปใช้ในระยะเวลา 4 เดือน ระยะที่ 3 การประเมินผลการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา: ได้แนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการป้องกันภาวะความตันโลหิตต่ำในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดที่ได้รับ การฉีดยาชาทางช่องไขสันหลัง ที่ร่วมกันพัฒนาประกอบด้วย 1) การเตรียมความพร้อมให้กับ ผู้ป่วยผ่าตัดคลอดในการรับฉีดยาชาทางช่องไขสันหลัง 2) การกำหนดแนวปฏิบัติการป้องกัน ภาวะความดันโลหิตต่ำ 3) การกำหนดแนวทางการเฝ้าระวังภาวะผิดปกติของผู้ป่วยผ่าตัดคลอด ที่ได้รับการฉีดยาชาทางช่องไขสันหลัง 4) การกำหนดแนวทางการปฏิบัติเมื่อพบปัญหา และ การรายงานแพทย์เพื่อแก้ไข การประเมินผลหลังการนำแนวปฏิบัติมาใช้พบว่าเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำขณะรับการผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดที่ได้รับการฉีดยาชาเข้าทางช่องไขสันหลังเพียง ร้อยละ 19.6 และพยาบาลวิสัญญีมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติมากกว่า ร้อยละ 80
สรุป: การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ปฏิบัติได้ง่ายและสะดวก มีความชัดเจนในขั้นตอนของแนวปฏิบัติทำให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจ ทำให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะทำงานด้วยความเต็มใจปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายที่สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานและองค์กร

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สมชาย อมรโยธิน. การให้ยาระงับความรู้สึก แบบ Regional anesthesia. ใน อังกาบ ปราการรัตน์ ; วราภา สุวรรณจิดา; บรรณาธิการ. ตำราวิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : กรุงเทพเวชสาร; 2548. หน้า 82- 194.
2. วรภา สุวรรณจินดา และอังกาบ ปราการรัตน์. ตำราวิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. ภาควิชาวิสัญญี วิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น : กรุงเทพเวชการ; 2550.
3. Liu SS. McDonald SB. Current issues in spinal anesthesia. Anesthesiology 2001; 94:888-906.
4. ศศิกานต์ นิมมานรัชต์. Spinal anesthesia. [ออนไลน์]. 2012. [สืบค้น 18 กรกฎาคม 2556] ; เข้าถึงได้ที่: URL:https://medinfo2.psu.ac.th/anesth/education/spinal.html [Cited2012 Jun 4].
5. กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา. แบบประเมินตนเอง กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา. สุรินทร์ : ศูนย์พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสุรินทร์ ; 2553. หน้า 6.
6. สมบูรณ์ เทียนทอง. การดูแลผู้ป่วยหลังการได้รับยาระงับความรู้สึก. ใน : วราภรณ๎ เชื้ออินทร์, สรรชัย ธีรพงศ์ภักดี, บรรณาธิการ. วิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 5. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา; 2547.
7. ปริยชาติ สธนเสาวภาคย์. ภาวะความดันเลือดต่ำ ภายหลังการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังของผู้ป่วยโรงพยาบาลพระจอมเกล้า. วิสัญญีสาร 2554 ; 37:1:24.
8. Santos AC, Pederson H, Finster M. Obstetric anesthesia. In : Barash PG, Cullen BF, Stolting RK. editors. Clinical anesthesia. 3rd ed. Philadelphia : Lippncott-Raven, 1997:1061-90
9. Riley ET, Colen SE, Rubebstein AJ, Flanagan B. Prevention of Hypotension after spinal Anesthesia for Caesarean Section : Six Percent Fletastarch Versus Lactated Ringer, solution. Anesth Analg 1995:81:4:838-42
10. Ueyama H, He YL, Tanigami H, el al. Effects of Crystalloid and colloid preload on blood volume in the parturient undergoing spinal anesthesia for elective Cesarean section. Anesthesiology 1999;91:1571-6
11. Husaini S, Russell IF. Volume preload : lack of effect in the prevention of spinal-induce Hypotension at caesarian section. Int J Obstet Anesth 1998;7:76-81
12. Van Bogaert LJ. Prevention of post- spinal Hypotension at elective cesarean section by wrapping of the lower limbs. Int J Gynecol Obstet 1998:61:3:233-8.
13. Ngan Kee WD, Lau TK, Khaw KS, Lee BB. Comparison of metaraminol and ephedrine infusions for maintaining arterial pressure during spinal anesthesia for elective cesarean section. Anesthesiology 2001:95:2:307-13
14. ณิชากร จิรัคคกุล. การพัฒนาแนวปฏิบัติทาง คลินิกด้านการป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำ ในผู้ป่วยที่ไต้รับการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง. Nursing Journal 2008:35:1:35.