การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกด้วยระบบการถ่ายภาพรังสีระบบฟิล์มและการถ่ายภาพรังสีระบบ CR

Main Article Content

ประกาย ขันอาสา

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการแพทย์ได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกันเครื่องมือทางด้านงานรังสีวิทยา การนำเครื่องอ่านและ แปลงสัญญาณภาพเอกซเรย์ (Computed Radiography:CR)มาใช้ในการให้บริการทางรังสีวิทยา พบว่าเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานยังมีความสับสนกับเทคนิควิธีการและการให้ ปริมาณรังสีที่ใซ้ในการถ่ายภาพรังสีโดยเฉพาะการถ่ายภาพรังสีทรวงอก ซึ่งการให้พารามิเตอร์ในการถ่ายภาพรังสีระหว่างระบบเก่าแบบใช้ฟิล์ม และระบบ CR มีการให้ค่าพารามิเตอร์ในการถ่ายภาพทางรังสีที่แตกต่างกันและปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจาก การถ่ายภาพรังสีก็แตกต่างกันด้วย
วัตถุประสงค์: เพื่อหาปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกด้วยระบบฟิล์มและ ระบบ CR และ เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอก
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงสังเกต โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มารับการถ่ายภาพทางรังสีทรวงอกท่ายืนที่กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จำนวน 200 ราย ในช่วง 1 ตุลาคม พ.ศ.2554 ถึง 31 ธันวาคม พ.ค. 2554 แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับการถ่ายภาพรังสีทรวงอกด้วยระบบฟิล์ม และกลุ่มที่ 2 ได้รับการถ่ายภาพรังสีทรวงอกด้วยระบบ CR ตรวจวัดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับและความสัมพันธ์กับค่าปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อปริมาณ รังสีที่ผู้ป่วยได้รับ
ผลการศึกษา: ค่าปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพทางรังสีทรวงอกด้วยระบบฟิล์มและ ระบบ CR มีค่า 0.15 มิลลิเกรย์, 0.06 มิลลิเกรย์ ตามลำดับ ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p< 0.001 โดยคุณภาพของฟิล์ม และการแปลผลภาพด้วยระบบฟิล์ม และระบบ CR ของรังสีแพทย์ 2 ท่านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณรังสีทั้งระบบฟิล์มและระบบ CR คือ ความหนาทรวงอก และระยะระหว่างหลอดเอกซเรย์ถึงผิวผู้ป่วย
สรุป: การเปลี่ยนระบบการถ่ายภาพรังสีจากระบบฟิล์ม มาใช้ระบบ CR ทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยรวดเร็ว แม่นยำขึ้น และลดความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากรังสี จากปริมาณรังสีเมื่อใช้ระบบ CR (0.06 mGy) ลดลงจากระบบฟิล์ม (0.15 mGy) โดย ไม่มีผลต่อคุณภาพการแปลผล

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สถาบันวิจัยประขากรและสังคมมหาวิทยาลัย มหิดล, สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. ระบบบริการสุขภาพ. โครงการจัดทำ ชุดดัชนีชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ (ร่าง) รายการตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ นิยาม วัตถุประสงค์ วิธีการคำนวณตัวชี้วัด. [ออนไลน์. [26 มิถุนายน 2556]; เข้าถึงได้จาก :URL: https://www.hiso,or.th/hiso/picture/reportHealth/n_reportl_9.pdf.
2. Rowlands JA. The physics of computed radiography. Rhys Med Biol 2002; 47:123-66.
3. ชวลิต วงษ์เอก. เทคนิคการให้ปริมาณรังสีเพื่อการถ่ายภาพเอกซเรย์. [ออนไลน์]. [26 มิถุนายน 2556]; เข้าถึงได้จาก :URL: https://www.mt.mahidol.ac.th/e-learning/MTRD310/w%20first/f1.htm
4. Commission of the European Communities. CEC Quality Criteria for Diagnostic Radiographic Images and Patient Exposure Working Document, 3rd ed. CEC, Brussels, 1995
5. สุรวุฒิ บุญประกอบ. การเปรียบเทียบผลการได้รับปริมาณรังสีระหว่าง High kVp technique และ Low kVp technique ในผู้ป่วยถ่ายภาพรังสีทรวงอก. กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลสิงห์บุรี. สิงห์บุรี;2550.
6. European Commission. Radiation Protection 109 : Guidance on Diagnostic Reference Levels for Medical Exposures. Belgium : European Communities, Luxembourg ; 1999.
7. ศิริวรรณ จูเลียง, ขวัญชัย วรากรศิริ. ปริมาณรังสีที่ผิวผู้ป่วยจากการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย ในโรงพยาบาลเขตชายฝั่งอันดามัน. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2547;13:854-62.
8. Ng KH, Rassiah P, Wang HB, Hamlali AS, Muthuvellu P, Lee HP. Dose to patients in routine X-ray examinations in Malaysia. Br J Radiol 1998;71:654-60.
9. ศุภวิทู สุขเพ็ง, ธีราพร ตองติรัมย์, ประเวช แซงคำ, ไอริศรา ศิริสุนทร. ปริมาณรังสีดูดกลืนที่ผิวผู้ป่วย ได้รับต่อการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดของโรงพยาบาลในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2551; 17:59-67.