ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่มารับรับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือโรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ศิระ เมืองไทย

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน หากไม่ได้รับการดูแลรักษา จะก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วย โดยพบอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น อัตรา ทุพพลภาพเพิ่มขึ้น รวมทั้งอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นด้วย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือข่าย โรงพยาบาลศรีสะเกษ
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือข่ายโรงพยาบาลศรีสะเกษ
รูปแบบการวิจัย: Cross-sectional study
วิธีการวิจัย: ศึกษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเครือข่ายโรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ถึงเดือน มกราคม พ.ศ. 2556 เก็บข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์และใช้แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม ภาษาอีสานเป็นเครื่องมือประเมินภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลหาปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานโดยใช้ Pearson’s chi-square test และ multivariate logistic regression analysis
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ทำการศึกษามีจำนวน 452 ราย พบความชุกของภาวะ ซึมเศร้า ร้อยละ 22.6 (102ราย) และปัจจัยอิสระที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะ ซึมเศร้าเมื่อวิเคราะห์โดย multivariate logistic regression analysis ได้แก่ เพศหญิง (odds ratio = 2,95%CI = 1.124-3.558) อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (odds ratio = 1.97, 95%CI=1.193-3.272) และภาวะแทรกซ้อนที่ระบบประสาทส่วนปลาย (odds ratio = 2.28,9596CI = 1.311-3.998)
สรุปผลการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือข่าย โรงพยาบาลศรีสะเกษ มีความชุกของภาวะซึมเศร้าค่อนข้างสูง จึงควรมีการติดตาม ประเมินภาวะซึมเศร้าอย่างสม่ำเสมอในผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนที่ระบบประสาทส่วนปลาย เพศหญิง หรืออายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข. สาระสุขภาพ Heath Fact sheet 2554; 4:25.
2. Anderson RJ, Freedland KE, Clouse RE, Lustman PJ.The prevalence ofcomorbid depression in adults with diabetes: a meta-analysis. Diabetes Care 2001; 24:6:1069-78.
3. Lustman PJ, Anderson RJ, Freedland KE, de Groot M, Carney RM, Clouse RE. Depression and poor glycemic control: a กาeta-analytic review of the literature. Diabetes Care 2000:23:7:934-42.
4. Clouse RE, Lustman PJ, Freedland KE, Griffith LS, McGill JB, Carney RM. De pression and coronary heart disease in women with diabetes. Psychosom Med 2003;65:3:376-83.
5. Lustman PJ, Freedland KE, Griffith LS, Clouse RE. Predicting response to cognitive behavior therapy of depression in type 2 diabetes. Gen Hosp Psychiatry 1998;20:5:302.
6. Katon WJ, Rutter C, Simon G, Lin EH, Ludman E, Ciechanowski P, Kinder L, Young B, VonKorff M. The association of comorbid depression with mortality in patients with type2 diabetes. Diabetes Care 2005;28:11:2668-72.
7. Black SA, Markides KS, Ray LA. Depression predicts increased incidence of adverse health outcomes in older Mexican Americans with type 2 diabetes. Diabetes Care 2003;26:10:2822.
8. Lin HHB. Depression and increased mortality in diabetes : Unexpected causes of death. Annals of Family Medicine 2009;7:5:414-21.
9. ธิติพั'นธ์ ธานีรัตน์. ความชุกของภาวะซึมเศร้าระดับ,น้ำตาลสะสมในเลือด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกคลินิกต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
10. ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล, ณรงค์ มณีทอน, เบญจลักษณ์ มณีทอน, กมลเนตร วรรณเสวก, เกษราภรณ์ เคนบุปผา และคณะ. การพัฒนาและความเที่ยงตรงของแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม ภาษาอีสาน. การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที 6 เรื่องสุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง; 1-3 สิงหาคม 2550; ณ โรงแรมปรินซ์พาเลช. กรุงเทพมหานคร; 2550.
11. Nefs G, Pouwer F, Denollet J, Pop V. The course of depressive symptoms in primary care patients with type 2 diabetes: results from the Diabetes, Depression, Type D Personality Zuidoost-Brabant (DiaDDZoB) Study. Diabetologia 2012; 55:3:608-16.
12. Payrot, M., Rubin, R.R. Level and risks of depression and anxiety symptomatology among diabetes adults. Diabetes care 1997;20:58590.
13. นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต(จิตวิทยาให้คำปรึกษา) มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2554.
14. Fisher L, Chesla, CA, Mullan JT, Skaff MM, & Kanter RA. Contributions to depression in Latino and European-American patients with type 2 diabetes. Diabetes care 2001;24:1751-7.
15. Wild S, Roglic G, Green A, Sicree R, King H. Global Prevalence of Diabetes Estimated For the year 2000 and projections for 2030. Diabetes care 2004;27:47-53.
16. มาโนช หล่‘อตระกูล. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพา: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548.
17. Veerabenjapol A. Prevalence and risk factors of depression in Thai diabetic patients. Rama Med Journal 2010:33: 10-8.
18. พิรุณี สัพโส. ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาล พังโคน. ศรีนครินทร์เวซสาร 2553; 25:4::272-9.
19. สายฝน เอกวรางกุล. รู้จัก เข้าใจ ดูแลภาวะซึมเศร้า. กรุงเทพๆ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2553; หน้า 6-8.
20. Poongothai S, Anjana RM, Pradeepa R, Ganesan A, Unnikrishnan R, Rema M, et al. Association of depression with complications of type 2 diabetes-the Chennai Urban Rural Epidemiology Study (CURES- 102). The Journal of the Association of Physicians
of India. 2011;59:644-8. Epub 2012/04/07.
21. Rodin GM. Psychosocial Aspect of Diabetes Mellitus. Canadian Journal of Psychiatry 1983; 28:3:219-23.