ความดันกะเปาะลมกับการเกิดปอกอักเสบจากการใส่เครื่องช่วยหายใจ

Main Article Content

อุทัยวรรณ เนาว์พิริยวัฒน์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ปอดอักเสบจากการใส่เครื่องช่วยหายใจ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ส่งผลให้เกิด อัตราการเสียชีวิตสูง สาเหตุหลักเกิดจากการมีสารคัดหลั่งผ่านกระเปาะลมท่อช่วยหายใจ การควบคุมระดับความดันกระเปาะลม เป็นการลดการเกิดปอดอักเสบจากการใส่เครื่องช่วยหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าความดัน กระเปาะลมท่อช่วยหายใจจากการเติมลมทุก 2 ชั่วโมง เปรียบเทียบค่าความดันกระเปาะลม ที่วัดได้กับค่ามาตรฐานต่ำสุดที่ป้องกันการเกิดปอดอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง ศึกษาการเกิดปอดอักเสบจากการใส่เครื่องช่วยหายใจจากการเติมลมในกระเปาะลมท่อช่วยหายใจทุก 2 ชั่วโมง
วิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยในไอซียูอายุรกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ ทุกรายที่ใส่ท่อช่วยหายใจ เบอร์ 7.5 และใส่เครื่องช่วยหายใจตั้งแต่ 48 ชั่วโมงขึ้นไป ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือน ตุลาคม พ.ศ.2554 จำนวน 194 รายได้รับการเติมลมในกระเปาะลมท่อช่วยหายใจทุก 2 ชั่วโมง จำนวน 1,316 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกค่าความดันกระเปาะลมท่อช่วยหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ใช้สถิติ ทดสอบที (One sample t-test)
ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 61.86 (120 ราย) อายุเฉลี่ย 62.61 ปี กลุ่มโรคที่เป็นคือกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจร้อยละ 51.03 (99 ราย) กลุ่มโรคระบบหัวใจ และหลอดเลือดร้อยละ 17.01 (33 ราย) กลุ่มติดเชื้อในกระแสโลหิตร้อยละ 16.49 (32 ราย) กลุ่มโรคระบบทางเดินปัสสาวะร้อยละ 12.89 (25 ราย) และอื่นๆ ร้อยละ 2.58 (5 ราย) ค่าความดันกระเปาะลมที่วัดได้มีค่าเฉลี่ย 21.72 เซนติเมตรน้ำ ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และการเติมลมในกระเปาะลมท่อช่วยหายใจทุก 2 ชั่วโมงส่งผลให้เกิดปอดอักเสบเฉลี่ย 6.73 ต่อ 1,000 วับใส่เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งต่ำกว่า ค่าควบคุมที่โรงพยาบาลกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
สรุป: ผลการศึกษาพบว่าการเติมลมในกระเปาะลมท่อช่วยหายใจทุก 2 ชั่วโมง สามารถควบคุมค่า ความดันกระเปาะลมท่อช่วยหายใจให้อยู่ในระดับที่สูงกว่าค่ามาตรฐานที่สามารถป้องกัน การเกิดปอดอักเสบจากการใส่เครื่องช่วยหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งดีกว่าการเติมลม ในกระเปาะลมท่อช่วยหายใจทุก 4 ชั่วโมงที่ผู้วิจัยได้ศึกษาไว้ในปี 2551 ดังนั้นโรงพยาบาล จึงควรประกาศเป็นนโยบายให้หน่วยงานที่มีผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจอยู่ในความดูแล ปรับการเติมลมในกระเปาะลมท่อช่วยหายใจเป็นทุก 2 ชั่วโมง เพื่อผลในการลดการเกิด ปอดอักเสบจากการใส่เครื่องช่วยหายใจ ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและลดงบประมาณ ในการใช้ยาปฏิชีวนะของโรงพยาบาล รวมถึงควรศึกษาต่อเนื่องโดยเปรียบเทียบความดัน กระเปาะลมท่อช่วยหายใจจากหลายบริษัท เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกซื้อท่อช่วยหายใจที่มี ประสิทธิภาพ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Shaw MJ. Ventilator-Associated Pneumonia. Curr Opin Pulm Med 2005; 11:3:236-41.
2. Blot S, Rello S, Vogelaers D. What is New in the Prevention of Ventilator- associated Pneumonia?. Curr Opin Pulm Med 2011:17:3:155-9.
3. Maselli DJ, Restrepo Ml. Strategies in the Prevention of Ventilator-associated Pneumonia. Ther Adv Resp Dis 2011; 5:2:131-41.
4. Young PJ, Ridley SA, Downward G. Evaluation of a new design of tracheal tube cuff to prevent leakage of fluid to the lungs. British Journal of Anesthesia 1998; 80:6:796-9.
5. Ferrer M, Torres A. Maintenance of tracheal tube cuff pressure: where are the limits?. Crit Care 1998;12:1:106.
6. Chendrasekhar A, Timberlake GA. Endotracheal Tube Cuff Pressure Threshold for Prevention of Nosocomial Pneumonia. J Appl Res 2003; 3:3:311-4.
7. Nseir S, Zerimech F, Jaillette E, Artru F, Balduyck M. Microaspiration in Intubated Critically III Patients: Diagnosis and Prevention. Infect Disord Drug Targets 2011; 11:4:413-23.
8. Petring OU, Adelh0j B, Jensen BN, Pedersen NO, Lomholt N. Prevention of silent aspiration due to leaks around cuffs of endotracheal tubes. Anesth Analg 1986; 65:7:777-80.
9. Akmal H, Hasan M, Motesam A. Acquired tracheoesophageal fistula due to high Intracuff pressure. Annals of Thoracic Medicine 2008; 3:1:23-5.
10. Braz J, Navarro L, Takata I, unior P. Endotracheal tube cuff pressure: need to precise Measurement South Paulo Med 1999; 117:6:243-7.
11. Brooks M. Control of Tracheal Cuff Pressure May Cut Ventilator-Associated Pneumonia. Am J Respir Crit Care Med 2011; 184:9: 1041-47.
12. Crimlisk J, Horn M, Wilson D, Marino B. Artificial airways: A surwey of cuff management Practices. Heart Lung 1966; 25:3:225-35.
13. Lorente L. Nonphamacologic Measures to Prevent Ventilator-Associated Pneumonia. Respiratory infection. Clinical Pulmonary Medicine 2008; 15:2:63-70.
14. Scolapio JS. Methods for decreasing risk of aspiration pneumonia in critically ill patients. JPEN J. Parenter Enteral Nutr 2002;26:6:58-61.
15. Sengupta P, Sessler อ, Maglinger P, Wells S, Vogt A, Durrani J, et al. Endotracheal tube cuff pressure in three hospitals. And the volume required to produce-appropiate cuff pressure. BMC Anesthesiology 2004; 4:1:8.
16. ทิพยวรรณ มุกนำพร, ชัยชนะ สินเกื้อกูล, พุ่มพวง กิ่งสังวาล. การวัดความดันภายใน cuff ของท่อช่วยหายใจชนิด high volume, low pressure. ศรีนครินทร์เวชสาร 2540 12:3:117-22.
วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์
17. พุ่มพวง กิ่งสังวาล, ชัยชนะ สินเกื้อกูล, ทิพยวรรณ มุกนำพร, วินิตา จีราระรื่นศักดิ์, กาญจนา อุปปัญ. การวัดความดันภายใน cuff ของท่อช่วยหายใจชนิด high volume, low pressure ด้วยอุปกรณ์ประยุกต์อย่างง่ายๆกับการยอมรับของพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีนครินทร์.
ศรีนครินทร์เวชสาร 2541;13:4:191-7.
18. Diaz E, Rodriguez A, Rello J. Ventilator-Associated Pneumonia:lssues Related to the Artificial Airway. Respiratory care 2005; 50:7:900-4.
19. Gujadhur R, Helme BW, Sanni A, Dunning J. Continuous subglottic suction is effective for prevention of ventilator associated pneumonia. Interact Cardiovasc Thorac Surg 2004; 4:2:110-5.
20. มลิวัลย์ ออฟูวงศ์, สุนิสา ฉัตรมงคลชาติ, บรรณาธิการ. Respiratory Care การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจน. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2549.
21. สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย, สมาคมอุรเวชฃ์แห่งประเทศไทย, สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย, ชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย. แนวเวชปฏิบัติในการดูแลรักษาและป้องกันปอดอักเสบ ในโรงพยาบาลและปอดอักเสบที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจในผู้ใหญ่ในประเทศไทย. จุลสารสมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย 2550;15:1:10.