โปรแกรมเตรียมคลอดโดยใช้แนวคิดจิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ ต่อผลลัพธ์การคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก

Main Article Content

เฉลียว สัตตมัย

บทคัดย่อ

บทนำ: การตั้งครรภ์และการคลอดถือเป็นภาวะวิกฤติช่วงหนึ่งของสตรี เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม การเข้าใจภาวะธรรมชาติของการตั้งครรภ์และการ คลอดจะช่วยให้หญิงมีครรภ์สามารถดูแลตนเองและรับมือกับความเจ็บปวด ความเครียดและความวิตกกังวลในระหว่างการคลอดได้โครงการ “จิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์” โดยแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ซึ่งอาศัยหลักสมดุลย์ของกายและใจขณะตั้งครรภ์และคลอด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดบุตรจึงเป็นอีกแนวทางในการเตรียมความพร้อมก่อน คลอดให้แก่หญิงมีครรภ์ได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลโปรแกรมเตรียมคลอดโดยใช้แนวคิดจิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ต่อ ผลลัพธ์การตั้งครรภ์และคลอดในหญิงครรภ์แรกเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง
ขั้นตอนการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 60 รายซึ่งถูกคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งกลุ่มละ 30 ราย โดยกลุ่มควบคุมจะได้รับการดูแลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมเตรียมคลอดโดยใช้แนวคิดจิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ และเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน เม.ย.53 ถึงเดือน ต.ค.53 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล บันทึกข้อมูลการตั้งครรภ์และการคลอด แบบวัดระดับความเจ็บปวดในระยะคลอด แบบวัด ความพึงพอใจ และโปรแกรมเตรียมคลอดโดยใช้แนวคิดจิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยูในครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา Chi-square test, Fisher’s exact test และ Independent t-test
ผลการศึกษา: ผู้คลอดในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมเตรียมคลอดโดยใช้แนวคิดจิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์มีระดับความเจ็บปวดในระยะคลอดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) มีพฤติกรรมเผชิญความเจ็บปวดเหมาะสมมากกว่ากลุ่มควบคุม (p<0.001) และมีผลลัพธ์ ของการคลอดซึ่งประกอบด้วย ระยะเวลาในการการคลอดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (p<0.05) วิธีการคลอดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) มีภาวะแทรกซ้อน (p<0.05) และ ความต้องการใช้ยาบรรเทาปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (p<0.01) และนอกจากนี้ยังพบว่า ความพึงพอใจต่อการดูแลจัดการความเจ็บปวดในระยะคลอดของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่ม ควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)
สรุปผลการศึกษา: จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมเตรียมคลอดโดยใช้แนวคิดจิตประภัสสรตั้งแต่ นอนอยู่ในครรภ์สามารถนำไปใช้เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์สามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมเพื่อผลลัพธ์การตั้งครรภ์และการคลอดที่ดี

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

จันทร์เพ็ญ ดุษิยามี. ผลของการใช้เทคนิคการผ่อนคลายด้วยจิตคลุมกายต่อพฤติกรรมเผชิญความเจ็บปวดแลผลลัพธ์การคลอดในผู้คลอดครรภ์แรกที่มีผู้ช่วยเหลือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิขาการพยาบาลครอบครัว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2543.

ศศิธร พุมดวง. อุปสรรคและปัญหาการลดปวดในระยะคลอด. สงขลานครินทร์เวชสาร; 2548; 23: 53 - 9.

พระราชวรมุพี. พุทธธรรม. กรุงเทพๆ : โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย; 2529.

จตุพร ตันตะโนกิจ. ผลของโปรแกรมเตรียมคลอดสำหรับสตรีตั้งครรภ์ระยะเวลาการคลอดและประสบการณ์การคลอด. วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด มหาวิทยาลัยมหิดล. 2549.

เพลินพิศ พรหมรักษ์. ผลของโปรแกรมการจัดการความเจ็บปวดแบบผสมผสานต่อความเจ็บปวดในระยะคลอด ระยะเวลาในระยะที่หนึ่งของการคลอด และประสบการณ์การคลอดของมารดาครรภ์แรก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลมารดาและทารกมหาวิทยาลัยมหิดล. 2547.

เทียมศร ทองสวัสดิ์. การเตรียมมารดาเพื่อการคลอด. เชียงใหม่: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการมหาวิทยาลัย เชียงใหม่, 2540.

ศศิธร ทุมดวง. การฟังเพลงกับการลดความเจ็บปวดระหว่างรอคลอด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิขาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2547.

Dick-Read, G. Childbirth Without Fear. New York : Haper and Rows, 1994.

พฤหัส จันทร์ประภาพ และ ธีระ ทองสง. การดูแลในระยะคลอด. ใน ธีระ ทองสง และชเนนท์ วนาภิรักษ์ (บรรณาธิการ). สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พี.พี. ฟลอเรนส์ บุคส์ เซนเตอร์. 2542.

Phumdoung S. Barriers and problems in labor pain management Obstetric Gynecological Nursing and Midwifery Department, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla, 90112, Thailand Songkla Medical Journal 2005; 23(1): 53-59.

Ya-Ling T., Yu-Mei Y., Chao, Shu-Yu K. & Yu Kuei T. Childbirth-related fatigue trajectories during labour. An International Journal of Obstetrics and Gynaecology 2007; 240-249.

Laursen, M.; Johansen, C, & Hedegaard, M. Fear of childbirth and risk for birth complications in nulliparous women in the Danish National Birth Cohort BJOG. An lnternational Journal of Obstetrics

and Gynaecology 2009:1-6.

Saisto, T.& Flalmesma, K.I.E. Fear of childbirth: a neglected dilemma. Acta Obstet Gynecol Scand 2003: 82: 201-208.

แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต. การประชุมวิชาการเรื่อง การคลอดธรรมชาติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง. ชลบุรี. ภาควิชาการการพยาบาลแม่และเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระพุทธยาภิกขุ. สติ เคล็ดลับมองด้านใน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย; 2545.

สุดสวาท ทิพย์สุทธิ์. ผลซองเทคนิคการฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบันต่อการลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจและเครื่องช่วยหายใจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2541.

อุสาห์ สุภรพันธ์. การพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวดในระยะคลอด. ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยซอนแก่น; 2545.

Crowe, K. & Baeyer, C.V. Predictors of a positive childbirth experience. Birth 1989; 16: 59-63.

Effline, M.S. Exploring nursing intervention for acute pain in the postanesthesia care unit. Journal of the Post Anesthesia Nursing. 1990; 5 (5): 321 - 328.

สุวดี ชูสุวรรณ, วรรณา รัตนมาตุ, งามตา 12; 2546;14:9-15.

Durham, J. Pain in Childbirth. Retrieved September/13/2010, from https://www.childbirth.org/theories/pain.hml.; 2002.

Simkin P. Non-pharmacological methods of pain relief during labour. In: Chalmers I, Enkin M, Keirse M, editors. Effective care in pregnancy and childbirth. Oxford: Oxford University Press; 1991;893-912.

Tournaire, M. & Theau - Yonneau A. Complementary and Alternative Approaches to pain Relief During Labor. eCAM 2007; 4 (4): 409-417.

Melzack, R. & Wall, P.D. Pain Mechanism. A new theory. Science, 1982; 150 (11), 971 - 978.

Bonica, JJ. Textbook of Pain. (3rd ed.) New York: Churchill Livingstone, 1977.

Phumdoung, S. The effect of PSU cat position and music on progress of labor and labor pain. Thai Journal Nursing of Research. 2007; 11(2), 64 - 80.

Alvin, J. Music Therapy. London : John Baker Publishers Ltd. 1991; 98.

Murray, S.S, Mckinney, E.S. & Gorrie, T.M. Foundation of maternal - newborn nursing. (3rd ed.) Philadelphia: W.B. Saunders. 2002.

Auvenshine, M.A. & Enriquez, M.G. Comprehensive Maternity Nursing Prenatal and Women’s Health. (2nd ed.) Boston: John and Bartlett. 1990.

Lowe, N.K. The pain and discomfort of labor and birth. Journal of Obstetric, Gynecologic and Neonatal Nursing, 1996; 25 (1) 82 -92.

นิจ์สากร นังคลา. ผลการเตรียมเพื่อการคลอดต่อประสบการณ์เกี่ยวกับการคลอดของสตรีครรภ์แรกและ. ผู้ช่วยเหลือ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.2546.

ประกายแก้ว กาคำ. ผลของการช่วยเหลือของสามีต่อผู้คลอดครรภ์แรกในระยะเจ็บครรภ์ต่อการควบคุมตนเอง ความต้องการยาระงับปวด ระยะเวลาในการคลอดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอด. วิทยานิพนธ์ครุคาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารการพยาบาลบัณฑิต วิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2534.

อุบลรัตน์ สุทธิวณิชศักดิ์. ผลของการใช้ดนตรีบำบัดร่วมกับการจัดท่าในระยะที่ 1 ของการคลอดต่อความเจ็บปวด ความวิตกกังวลระยะเวลาคลอดและการรับรู้ประสบการณ์คลอดของหญิงครรภ์แรก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.

Fei-Wan, N. 1 Sally Wai-Chi, C. & Wan-Yim, I. The effects of a childbirth psychoeducation program on learned resourcefulness, maternal role competence and perinatal depression: A quasi-experiment International. Journal of Nursing Studies 2009; 12: 1-9

Beck, N.C.; Geden, E.A. & Brouder, G.T. Preparation for Labor: A Historical Perspective. Psychosomatic Medicine. 1979; 41:3.

Beck, N.C. & Siegel, L.J. Preparation for Childbirth and Contemporary Research on Pain, Anxiety, and Stress Reduction: A Review and Critique. Psychosomatic Medicine. 1980; 42: 4.