การผ่าตัดมดลูกฉุกเฉินหลังคลอดในมารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอด เปรียบเทียบกับมารดาที่ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง

Main Article Content

ยุพาพร วิจักขณาลัญฉ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การผ่าตัดฉุกเฉินหลังคลอด เป็นการผ่าตัดทีมวัตถุประสงค์เพื่อช่วยชีวิตมารดาจากภาวะ แทรกซ้อนที่รุนแรงหลังคลอดจนคุกคามต่อชีวิตของมารดาโดยไม่สามารถรักษาแบบประคับประคองได้ เช่น ตกเลือกมาก หรือติดเชื้อที่มดลูก การผ่าตัดอาจทำหลังคลอดบุตรทางช่องคลอด หรือหลังการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องก็ได้ ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาความแตกต่างของมารดาทั้ง 2 กลุ่มนี้
วัตถุประสงค์: เพื่อหาอุบัติการณ์ ลักษณะของมารดา ผลของการคลอดและการผ่าตัดมดลูกสาเหตุของการตัดมดลูกฉุกเฉินหลังคลอดจากข้อบ่งชี้ของแพทย์ในการตัดสินใจตัดมดลูก ลักษณะทางพยาธิวิทยาของมดลูก และผลแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
รูปแบบวิจัย: เป็นการศึกษาแบบวิเคราะห์ย้อนหลัง
สถานศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของโรงพยาบาล และทะเบียนห้องผ่าตัด
กลุ่มที่ศึกษา: มารดาที่มีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ที่มาคลอดและได้รับการตัดมดลูกฉุกเฉิน จากการตกเลือดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด จำแนกเป็นกลุ่มมารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอดกับมารดาที่ผ่าตัด คลอดบุตรทางหน้าท้อง ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553
ผลการศึกษา: ในระยะเวลา 8 ปี ที่ศึกษามีมารดาที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกฉุกเฉินหลังคลอด จำนวน 47 คน จาก มารดาที่คลอดทั้งหมด 47,726 คน (0.98 : 1,000 การคลอด) เป็นมารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอด 15 คน (0.52 : 1,000 การคลอดบุตรทางช่องคลอด) และมารดาที่ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง 32 คน (1.71:1,000 การผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง) มารดาอายุ 32.94 ± 4.73 ปี อายุครรภ์ 37.68 ± 2.96 สัปดาห์ ข้อบ่งชี้เริ่มต้นในการผ่าตัดมดลูก คือ uterine atony 27 คน (ร้อยละ 57.5) uncontrolled bleeding 8 คน (ร้อยละ 17) placenta adherent และ uterine and cervical tear อย่างละ 5 คน (ร้อยละ 10.6) เป็นการผ่าตัดในเวลากลางคืน ร้อยละ 68.1 ใช้เวลาผ่าตัด 74.13±28.21 นาที เสียเลือด 2606.38±1247.15 มิลลิลิตร ต้องให้เลือดทดแทน 1574.36±1054.94 มิลลิลิตร ทารกมีน้ำหนัก 2712.34±949.49 กรัม เป็นการผ่าตัด total hysterectomy ร้อยละ 61.7 (ร้อยละ 90.6 ของมารดาที่ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง ส่วน มารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอด ไดรับการผ่าตัดมดลูกชนิด subtotal hysterectomy ทั้งหมด P=0.000) จำนวนวันนอนโรงพยาบาล 5.21±1.97 วัน ผลการตรวจทางพยาธิวิทยา เป็น placenta adherent ร้อยละ 46.8 gravid uterus ร้อยละ 25.5 ผลแทรกซ้อนหลังผ่าตัด พบ DIC ในมารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอด มากกว่ามารดาที่ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง (ร้อยละ 46.7 กับ 15.6 ตามลำดับ P=0.034) ต้องให้เลือดทดแทนในมารดาทุกคน ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและนอน ICU ต่อหลังผ่าตัดร้อยละ 27.7 มารดา 2 คนเสียชีวิตในวันแรกหลังผ่าตัด
สรุป: placenta adherent เป็นสาเหตุในการผ่าตัดมดลูกหลังคลอดทั้งในมารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอดและมารดาที่ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง เกิดภาวะ DIC ในมารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอดมากกว่ามารดาที่คลอดบุตรทางหน้าท้อง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Yalingkaya A, Guzel AL, Kangal K. Emer gency peripartum hysterectomy: 16 year experience of a medical hospital, J Chin Med Assoc 2010 ; 73(7):360-3.

Zolop CM, Harlow BL, Frigoletto FD, Safon LE, Saltzman DH. Emergency peripartum hysterectomy. Am J Obstet Gynccol 1993; 168:1443-8.

Stanco LM, Schrimmer DB, Paul RH, Mishell DR Jr. Emergency peripartum hysterectomyand associated risk factors. Am J Obstet Gynccol 1993 ; 168-879-83.

Maura K.W, Elena K, Susan D. Incidence and determinants of peripartum hysterectomy obstet gynecol 2006; 1486-93.

Yamasmit W, Chaithong wongwatthana S. Risk factors for cesarean hysterectomy in tertiary center in Thailand : a case control study. J Obstet Gynecol Res 2009 ; 35(l):60-5.

Simoes E, Kunz S, Bosing-Schwenkglenks M, Schmahl FW. Association between method of delivery, puerperal complication rate and post partum hystertectomy. Arch Gynecol Obstet 2005 ; 272:43-47.

Engelsen I, Albechtsen S, Iversen O. Peripartum hysterectomy incidence and maternal morbidity. Acta Obstet Gynecol Scand 2001; 80 : 409-412.

Clark SL, Yeh SY. Phelan JP, Bruce S, Paul RH. Emergency hysterectomy for obstetric hemorrhage. Obstet Gynecol 1985; 65:365-70.

Kacmar J, Bhimani L, Boyd M, Shah-Hosseini R, Peipert J. Route of delivery as a risk factor for emergent peripartum hysterectomy: a case-control study. Obstet Gynecol 2003; 102:141-5.

Kwee A, Bots MS, Visser GH, Bruinse HW. Emergency peripartum hysterectomy : A prospective study in The Netherlands. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 2006; 124: 187-92.

Flamm BL. Vaginal birth after caesarean (VBAC). Best Pract Res Clin Obstet Gynecol 2001 ; 15:81-92.

Lydon-Rochelle M, Holt VL, Martin DP, Easteling Tr. Association between mode of delivery and maternal rehospitalization. JAMA 283:2411-16.

Kastner ES, Figueroa R, Garry D, Maulik D. Emergency peripartum hysterectomy : experience at a community teaching hospital. Obstet Gynecol 2002;99:971-5.

Benirschke K, Kaufmann P (eds). Pathology of the Human Placenta. 4th ed. New York, Springer. 2000;554.

Foma F, Miles AM, Jamieson DJ. Emergency peripartum hysterectomy : a comparison of cesarean and postpartum hysterectomy. Am J Obstet Gynecol 2004 ; 190:1440-4.

Imudia AN, Hobson DTG, Awonuga AO, et al. Determinants and complications of emergent cesarean hysterectomy : supracervical vs total hysterectomy. Am J Obstet Gynecol 2010 ; 203(3):221.e1-5